สมาคมผู้เลี้ยงสุกร ราชบุรี ไม่เห็นด้วยไทยเข้าร่วม TPP หวั่นหมูมะกันเข้ามาดั๊มพ์ตลาดทำลายหมูไทย

ศุกร์ ๐๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๔:๑๕
(จังหวัดราชบุรี) นายนิพัฒน์ เนื้อนิ่ม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดราชบุรี เปิดเผยว่า สมาคมฯ ไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมกลุ่มความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือทีพีพี (TPP) เนื่องจากมีความกังวลว่า สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่ในกลุ่ม TPP และเป็นผู้ผลิตหมูรายใหญ่ของโลก จะผลักดันเนื้อหมูและชิ้นส่วนหมูที่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวอเมริกัน เช่น เครื่องใน หัว และขา เข้ามาดั๊มพ์ตลาดในไทย ที่จะสร้างความเสียหายให้กับผู้เลี้ยงหมูไทย และภาคเกษตรที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ปลูกถั่วเหลืองและข้าวโพดอาหารสัตว์

นายนิพัฒน์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาสหรัฐฯ มีความพยายามในการส่งเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกเข้ามาขายในประเทศต่างๆรวมถึงประเทศไทยมาตลอด ดังจะเห็นได้จากการใช้มาตรการทางการค้าและอ้างเงื่อนไขของคณะกรรมการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือ CAC ของโคเด็กซ์ (Codex) มากดดันไทย ให้เปิดรับหมูสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้เกษตรกรสามารถใช้ แร็กโตพามีน (Ractopamine) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ (B-Agonist) ที่เป็นสารก่ออันตรายกับมนุษย์ได้อย่างเสรี ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของไทย ประกาศห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงกลุ่มเบต้า-อะโกนิสต์ เป็นส่วนผสมในการผลิตและนำเข้าซึ่งอาหารสัตว์ ตามพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์มาตั้งแต่ พ.ศ.2525 และพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่ผู้บริโภคหากได้รับสารนี้ที่ตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์

"หากในอนาคต ไทยตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก TPP สิ่งที่ผู้เลี้ยงหมูทุกคนพยายามป้องกันเรื่องหมูสหรัฐที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงไม่ให้เข้ามาทำร้ายผู้บริโภคชาวไทยมาตลอดก็สูญเปล่า เพราะสหรัฐฯต้องใช้มาตรการและเงื่อนไขทางการค้าอย่างอื่นมากดดันให้ไทยต้องเปิดนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐอย่างแน่นอน และในที่สุดคนไทยก็ต้องบริโภคหมูที่มีสารก่ออันตรายต่อสุขภาพ"

ขณะที่ ผลกระทบที่มีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้งประเทศ จากการนำเข้าเนื้อหมูอย่างเสรี คือ เกษตรกรจะไม่สามารถแข่งขันราคากับเนื้อหมูสหรัฐที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าได้ โดยหมูสหรัฐจะถูกส่งมาเขย่าฐานอุตสาหกรรมหมูของไทย เนื้อหมูจำนวนมากจะทะลักเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในประเทศ ทำให้กลไกอุปสงค์-อุปทานแกว่งอย่างหนัก

"ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจะได้รับผลกระทบก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการผลิตและการตลาดได้ เมื่อราคาตลาดต่ำก็จะถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา ที่สุดแล้วก็จะอยู่ไม่ได้ในธุรกิจนี้ ที่สุดแล้วห่วงโซ่การผลิตจะเสียหายจนไม่สามารถประเมินค่าได้ เมื่อไม่มีคนเลี้ยงหมู ก็จะเกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงผู้ผลิตสินค้าการเกษตรอื่นๆ ทั้งข้าวโพด ถั่วเหลือง และผู้ปลูกข้าวที่ขายรำข้าว จึงขอฝากภาครัฐให้พิจารณาเรื่อง TPP อย่างรอบคอบ" นายนิพัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version