ภาคเอกชนน้อมรับหากรัฐปรับขึ้นดีเซล 3 บาทต่อลิตร ขณะที่สอท.ไม่ส่งหนังสือขึ้นราคาสินค้า แต่ให้แต่ละรายส่งกันเอง

อังคาร ๒๒ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๐:๕๔
กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--สอท.
นายสันติ วิลาศศักดานนท์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ( สอท. ) เปิดเผยถึงกรณีที่รัฐบาลจะปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลอีก 3 บาทต่อลิตร ว่า ภาคเอกชนส่วนใหญ่ด้วยกับรัฐบาล เพราะคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของภาคอตุสาหกรรมและสินค้าที่ออกจากโรงงานมากนัก เพราะโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีการใช้พลังงานจากไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติ หรือ น้ำมันเตา มากกว่าการใช้น้ำมันดีเซล ประกอบกับเป็นการปรับขึ้นเพียงครั้งเดียว และหลังจากนั้นรัฐบาลก็จะเว้นสักระยะ เพื่อดูราคาสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกว่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนในการปรับ ขณะที่ทางภาครัฐเองก็จะเข้ามาดูในเรื่องต้นทุนราคาสินค้า การลักลอบการปรับขึ้นราคาสินค้า รวมถึงยังเป็นการช่วยลดภาระของกองทุนน้ำมันที่ต้องเข้าไปชดเชยการตรึงราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมาด้วย
ทั้งนี้เห็นว่าหากรัฐบาลมีการทยอยปรับขึ้นครั้ง 1 บาทต่อลิตร นั้นจะต้องมีการปรับขึ้นอีกหลายครั้งอาจทำให้เกิดการกักตุนสินค้าเพื่อการเก็งกำไรได้ ประกอบกับประชาชนและผู้ประกอบการอาจเกิดความกังวลว่ารัฐจะปรับขึ้นอีกเมื่อใด เท่าไร
แต่อย่างไรก็ตามสอท.ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องราคาค่าขนส่งสินค้า เพราะหากราคาน้ำมันดีเซลปรับตัวเพิ่มขึ้นค่าขนส่งต้องขยับตัวขึ้นตาม ซึ่งย่อมส่งผลต่อราคาสินค้าต้องมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งกระทรวงคมนามคมต้องดูแลไม่ให้ ผู้ประกอบการขนส่งสินค้ามีการปรับราคาขึ้นเกินจริง
สำหรับการทำหนังสือไปยังกระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอปรับขึ้นราคาสินค้านั้น ทางสอท. ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเอง แต่ได้ให้ทางผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกแต่ละรายเป็นผู้ส่งหนังสือขอปรับขึ้นไปยังกระทรวงพาณชย์เอง เนื่องจากเห็นว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก และแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ตัวสินค้าก็มีต้นทุนที่แตกต่างกัน อาจจะมีต้นทุนขึ้นลงมากน้อยแตกต่างกันด้วย ซึ่งทางกระทรวงพาณิชย์เองก็มีสูตรราคาต้นทุนอยู่แล้ว จึงน่าจะมีความเหมาะสมในการพิจารณา
นอกจากนี้นายสันติ
ยังกล่าวถึงกรณีที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ว่า สอท.กำลังอยู่ระหว่างการจัดทำแนวทางการปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม เพื่อเสนอถึงรัฐบาล ให้พิจารณากำหนดแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรม เนื่องจากหากภาคอุตสาหกรรมของไทยไม่มีการปรับตัวก็จะไม่สามารถขันแข่งได้ในเวทีการค้าโลกได้ในอนาคต สำหรับแนวทางการปรับโครงสร้างจะประกอบด้วยการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน การลดการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาบุคคลากรที่มีฝีมือ การรักษาสภาพแวดล้อมควบคู่กับการใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประโยชน์
โดย สอท. จะเสนอให้มีการปรับโครงสร้างเป็นรายอุตสาหกรรมซึ่งจะเริ่มจากอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาล อาทิ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุงห่ม--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ