ช่วงปลายฝนต้นหนาว สภาพอากาศแปรปรวน...ประมงเตือน ระวัง! โรคระบาดปลา

จันทร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๒:๓๓
อธิบดีกรมประมง หวั่นอากาศแปรปรวนส่งผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เตือนเกษตรกรระมัดระวัง พร้อมสั่งเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำแนวทางป้องกันแก้ไขแก่เกษตรกร

ดร.วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ขณะนี้ในหลายพื้นที่อากาศเริ่มหนาวเย็น อีกทั้งยังมีฝนตกสลับกับอากาศร้อนในบางพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิของน้ำในรอบวันแตกต่างกันมาก ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณสมบัติน้ำ ผลให้คุณภาพน้ำลดต่ำลง ทั้งด้านชีวภาพ กายภาพ และเคมีภาพ ลักษณะเช่นนี้จะมีผลกระทบต่อสุขภาพปลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น อุณหภูมิของร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของน้ำ ซึ่งในการปรับตัวนี้ จำเป็นต้องนำพลังงานที่ได้จากการเผาผลาญอาหารมาใช้ ทำให้พลังงานที่จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโตหรือสร้างระบบภูมิคุ้มกันลดน้อยลง ด้วยเหตุนี้ทำให้ปลาอ่อนแอ ป่วย และติดโรคได้ง่าย

ทั้งนี้ ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน น้ำจะมีอุณหภูมิต่ำเป็นเหตุทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี โดยเฉพาะโรคอียูเอส โรคตัวด่าง และโรคไวรัสเคเอชวี ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กรมประมงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานประมงจังหวัดต่างๆ ลงพื้นที่ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรแล้ว โดยเบื้องต้น ขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น

สำหรับแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสัตว์น้ำของเกษตรกร มีดังนี้

1. ลดปริมาณอาหารที่จะให้ลง 10 – 15 % เพราะปลากินอาหารน้อยลง หากมีปริมาณอาหารเหลือมากส่งผลให้น้ำเสีย เกิดก๊าซพิษ และมีผลกระทบต่อสุขภาพปลา

2. เสริมวิตามินซีในอาหาร 1-2 % โดยน้ำหนัก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ต้านทานโรคและลดความเครียด

3. หากมีปลาป่วย ควรแยกออกไปเลี้ยงและรักษาต่างหาก กรณีป่วยหนักอาจทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

4. ช่วงเปลี่ยนฤดูกาลปลายฝนต้นหนาวสัตว์น้ำที่เลี้ยงมีโอกาสสูงที่จะป่วย ติดเชื้อโรคหรือพบปรสิตภายนอกปนเปื้อนได้ง่าย ดังนั้นควรทำการป้องกันโรค เช่น ลดความหนาแน่นของปลาควบคุมคุณภาพและปริมาณอาหารที่ให้ ควบคุมคุณสมบัติน้ำ หมั่นเอาใจใส่และตรวจสุขภาพปลาอย่างสม่ำเสมอ

5. การเลี้ยงปลาในกระชัง หากอยู่ในบริเวณน้ำตื้น ควรย้ายกระชังปลาไปอยู่ที่บริเวณน้ำลึกมากขึ้น เพื่อให้ปลาสามารถดำรงชีวิตและมีการเจริญเติบโตได้ดี

6. ในบ่อดิน ควรใช้นำเกลือแกงมาละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ปูนขาว ในอัตรา60 – 100 กิโลกรัมต่อไร่

7. หากพบว่าน้ำในบ่อเริ่มเน่าเสีย โดยสังเกตว่ามีก๊าซผุดขึ้นมาจากพื้นบ่อ ให้ใช้เกลือสาดบริเวณดังกล่าว ประมาณ 200 – 300 กิโลกรัมต่อไร่

ดังนั้น เกษตรกรจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น หากพบมีปลาป่วยให้รีบแจ้งสำนักงานประมงจังหวัดหรือศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง/น้ำจืดในพื้นที่นั้นๆ หรือแจ้งมายังสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำจืด กรุงเทพฯ โทร.0 2579 4122 / สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลาโทร. 0 7433 5243 ...อธิบดีกรมประมง กล่าว

ข้อมูลเพิ่มเติม :

โรคอียูเอส (Epizootic Ulcerative Syndrome : EUS) หรือ "โรคแผลเน่าเปื่อย" เป็นโรคที่อยู่ภายใต้ระบบการเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำของประเทศไทย มีสาเหตุจากเชื้อราสกุลอะฟลาโนมัยซิส (Aphanomyces invadans)โดยลักษณะอาการปลาที่ป่วย จะมีแผลเน่าเปื่อย ลึกตามตัวพบโรคนี้ได้ในปลาหลายชนิดทั้งที่อยู่ในธรรมชาติและบ่อเลี้ยง เช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลาสร้อย ปลากระสูบ ปลาแรด และปลาสลิด เป็นต้น ปัจจุบันยังไม่มียาหรือสารเคมีที่จะใช้ในการรักษาโรคได้ หากสภาพอากาศและน้ำในบ่อเลี้ยงมีอุณหภูมิสูงขึ้น เชื้อราดังกล่าว จะเจริญและแพร่กระจายได้น้อยลง ในขณะเดียวกันปลาที่กำลังป่วยจะมีภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น ช่วยให้ปลาหายป่วยเองได้ในเวลาต่อมา

โรคตัวด่าง เป็นอีกโรคหนึ่งที่เกษตรกรควรเฝ้าระวัง โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียสกุลฟลาโวแบคทีเรียม(Flavobacterium spp.) พบโรคนี้มากในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยและอุณหภูมิน้ำต่ำ มักเกิดนอกจากนี้มักเกิดขึ้นกับปลาหลังจากการย้ายบ่อ หรือการขนส่งโดยลักษณะอาการปลาที่ป่วยจะมีแผลด่างขาวตามลำตัว หากติดเชื้อรุนแรงปลาจะตายเป็นจำนวนมาก ในรยะเวลาสั้น พบโรคนี้ได้ในปลาสวยงาม ปลากะพงขาว ปลาดุก ปลาช่อน และปลาบู่ วิธีการป้องโรคที่ดี คือ ลดความหนาแน่นปลา ลดอาหาร ควบคุมคุณสมบัติน้ำให้เหมาะสม ในระหว่างการเคลื่อนย้ายหรือขนส่ง ให้ใช้เกลือแกง 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ตัน (0.1 %) เพื่อช่วยลดความเครียด

โรคเคเอชวี (Koi Herpesvirus Disease : KHVD) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส พบในปลาตระกูลคาร์พและไนโดยลักษณะอาการปลาที่ป่วย จะรวมกลุ่มอยู่ตามผิวน้ำและขอบบ่อ ซึม ว่ายน้ำเสียการทรงตัวลำตัวมีเมือกมาก มีแผลเลือดออกตามลำตัว ในปลาที่มีอาการติดเชื้อรุนแรงจะพบอาการเงือกเน่า ปลาอ่อนแอ กินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ทยอยตายพบมีอัตราการตายสูงถึง 50 – 100 % โรคนี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้สารเคมี วิธีการป้องโรคที่ดี คือ ลดความหนาแน่นปลา ลดอาหาร ควบคุมคุณสมบัติน้ำให้เหมาะสม และรักษาตามสาเหตุแทรกซ้อนต่างๆ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย รา และหรือปรสิต เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version