พม. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของสตรี เร่งส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศทางสังคมในระยะยาว

จันทร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๗:๓๕
วันนี้ (๑๒ พ.ย. ๕๘) เวลา ๑๐.๐๐ น. นางสาวอนุสรี ทับสุวรรณ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ "เส้นทางการเข้าสู่การเมืองของสตรีและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน" พร้อมทั้งร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ภายใต้การสัมมนาเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศเพื่อการเข้าถึงสิทธิ ครั้งที่ ๒ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพฯ

นางสาวอนุสรี กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศเพื่อการเข้าถึงสิทธิ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวนทั้งสิ้น ๒๐๕ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด คณะกรรมการสตรีระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล ผู้แทนจากหอการค้าจังหวัด ผู้แทนจากองค์กรสาธารณะประโยชน์ และสตรีที่สนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ รวมถึงสิทธิและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสตรี เพื่อนำความรู้ไปขยายผลในพื้นที่ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพสตรีให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคระหว่างหญิงและชาย ต้องผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรม มีแนวทางที่ชัดเจน ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดย สค. จึงได้ผลักดันให้เกิดการทำงานที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ โดยขับเคลื่อนให้เกิด "การจัดทำงบประมาณที่มีมุมมองมิติหญิงชาย(Gender Responsive Budgeting : GRB) ผ่านหน่วยงานภาครัฐในระดับกรมและกระทรวง ซึ่งนับเป็นเครื่องมือเชิงนโยบายที่สำคัญ ในการทำงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันของทุกกลุ่มคนในสังคม

นางสาวอนุสรี กล่าวต่อไปว่า สำหรับเส้นทางการเข้าสู่การเมืองของสตรีและกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นควรเริ่มต้นจาก

๑) การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเป็นนักการเมืองซึ่งมีความยากแล้วนั้น แต่การเป็นนักการเมืองหญิง ยิ่งมีความยากมากกว่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งทางด้าน

๑.๑) ศักยภาพ คือ การกระทำที่ทำให้ คนเชื่อมั่นว่าเราทำงานได้

๑.๒) ความรู้ คือ การศึกษาเป็นประการด่านแรก ที่ทำให้คนเชื่อถือ

๑.๓) ความสามารถคือ สิ่งที่เราเคยทำมาในอดีต สิ่งที่เราทุ่มเทในปัจจุบัน และสิ่งที่เรามีแนวคิดที่จะทำในอนาคต

๑.๔) นักการเมืองต้องมีภาพลักษณ์ที่ดีประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ไม่โกง มีบุคลิกภาพที่ดีไม่จำเป็นต้องสวย สะอาด สุภาพ และถูกกาลเทศะ

๒) การเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยต้องทำให้มีการพบกันจาก ๒ ฝ่ายทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน

๓) ความคิดที่ว่าการเมืองไม่เกี่ยวกับชีวิตและสังคมของเรา แต่ต้องการการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การติดตามผลการทำงานของรัฐและการเมืองในทุกระดับ และการตรวจสอบ ทั้งนี้ ถ้าอยากเห็นการเมืองที่ดีต้องสนับสุนนคนดี

เข้าสู่การเมือง

๔) คติพจน์ที่นักการเมืองควรยึดถือคือ ต้องอ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ต้องมีความเด็ดขาดในสิ่งที่ถูกต้อง ตามคติที่ว่า "ถ้าจะอ่อนก็อ่อนให้เห็นเป็นเส้นไหม จะได้ไว้ผูกพยัคฆ์ ไว้โยงเฆี่ยน ถ้าจะแข็ง ก็ให้แข็งเช่นวิเชียร จะได้เจียรกระจกได้ดังใจ"

"ตนคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ จะได้นำความรู้ที่ได้รับเพื่อไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สำหรับการสร้างเสริม ความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในครอบครัว ที่ทำงาน ชุมชน และสังคม และนำไปสู่ความเท่าเทียมกันทางสังคมในระยะยาวต่อไป" นางสาวอนุสรี กล่าวท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ