สค.หนุนการทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งครอบครัวเชิงพื้นที่ ย้ำใช้ข้อมูลเชื่อมต่อและสร้างพลังความร่วมมือผ่านศูนย์พัฒนาครอบครัวชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาครอบครัว

อังคาร ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๗:๑๗
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2558เร็วๆ นี้ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้ร่วมกับสถาบันรามจิตติจัดเวทีสัญจรระดมความคิดตั้งโจทย์การทำงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวเชิงพื้นที่ ดึงพลังความร่วมมือระหว่างเครือข่ายภาคีท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมาร่วมตั้งโจทย์ โดยมีหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดและศูนย์พัฒนาครอบครัวชุมชนเป็นหน่วยประสานการทำงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น เน้นยุทธศาสตร์การทำงานบนฐานเชื่อมต่อข้อมูลและการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวทั้งนี้ในเวทีระดมความคิดดังกล่าวได้มีการสะท้อนข้อมูลติดตามสภาวการณ์เด็กเยาวชนและครอบครัว

ในรอบหลายปีที่ผ่านมาในโครงการ Child Watch รวมถึงงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้ถึงสภาวการณ์ด้านครอบครัวอยู่หลายเรื่องที่ชี้ถึงสภาวการณ์ครอบครัวไทยที่กำลังเผชิญช่องว่างทางความสัมพันธ์และมีแนวโน้มเปราะบางว่า เด็กไทยในปัจจุบันไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ หรือพ่อแม่แยกทางกันอยู่ในภาวะคงที่ ที่ร้อยละ 32 สอดคล้องกับข้อมูลสถิติการจดทะเบียนครอบครัวในปัจจุบัน ที่มีอัตราหย่าร้าง1ใน3ของคู่จดทะเบียนสมรส โดยเมื่อเมื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่าสภาวการณ์ด้านครอบครัวนี้ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็ก โดยพบว่าเด็กซึ่งไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ มีแนวโน้มความเสี่ยงในหลายเรื่อง และที่น่าสนใจคือข้อมูลชี้สถานการณ์ครอบครัวยากลำบากที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และมีความต้องการในการดูแลช่วยเหลือที่แตกต่างกันไปตามบริบทและสถานการณ์ปัญหาอีกด้วย โจทย์เรื่องความเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวจึงเป็นโจทย์ท้าทายยิ่งในปัจจุบัน

นางอัจฉรา พุ่มมณีกร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านครอบครัว กรมสตรีและสถาบันครอบครัว ชี้ว่า กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ถือเป็นหน่วยงานหลักระดับชาติในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มมีการพัฒนาการทำงานด้านข้อมูลเพื่อให้ สค. และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเองมีข้อมูลสภาวการณ์ด้านครอบครัวในพื้นที่ของตน?ปัจจุบัน สค. ได้ปรับแผนปรับภารกิจหลายเรื่อง โดยมุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อนการทำงานผ่านการมีข้อมูลในการช่วยตัดสินใจ "การดูแลช่วยเหลือครอบครัวในชุมชนเป็นภารกิจสำคัญของศพค.เพราะสิ่งสำคัญกว่านั้นก็เหมือนเป็นครอบครัวของเราเช่นกัน" เพราะมองว่า งานด้านส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว หากปล่อยให้เป็นภาระของครอบครัวเพียงหลายแบบ ล่าสุด สค. ได้สนับสนุนการทำงานโครงการพัฒนากลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ตามนโยบายของรัฐ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ เป็นที่ปรึกษาโครงการ มีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นหน่วยประสานความร่วมมือระดับจังหวัดและ "ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน" (ศพค.) เป็นจุดประสานจัดการเพื่อการขับเคลื่อนการทำงานระดับพื้นที่ชุมชน ผ่านกระบวนการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างสังกัด อาทิ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว บุคลากรของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข สถานศึกษา ชุมชน เป็นต้น

ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ที่ปรึกษา กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวในกลุ่มเป้าหมายครอบครัว 4 ลักษณะ ได้แก่ ครอบครัวฐานะยากจน ครอบครัวที่มีผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง ครอบครัวลักษณะเฉพาะ เช่น ครอบครัวแม่วัยรุ่น ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวที่ผู้สูงอายุดูแลเด็กตามลำพัง ครอบครัวผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง เป็นต้น และครอบครัวที่มีความรุนแรงในครอบครัว อันเนื่องมาจากในรายงานแผนพัฒนาครอบครัวได้ชี้ให้เห็นสภาวการณ์ครอบครัวยากลำบากในบางกลุ่มที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นและกำลังกลายเป็นโจทย์ท้าทายสำหรับการทำงานพัฒนาครอบครัว ดังข้อมูลที่พบว่า 1) ครอบครัวฐานะยากจน เป็นครอบครัวมีรายได้รวมกันไม่เกิน 20,000 บาท/ปี พบว่าความยากจนโดยรวมมีสัดส่วนคนจนร้อยละ 10.9 ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีคนจน ประมาณ 7.3 ล้านคน (ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประมวลโดยสำนักพัฒนาฐานข้อมูลและตัวชี้ภาวะสังคม สคช.ปี2556)2 ) ครอบครัวที่มีผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรังจากรายงานการสำรวจความพิการ (สคพ.) และของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2555 พบมีคนพิการทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2 ของประชากรไทยประเด็นด้านสาเหตุของความพิการที่เกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็งและสาเหตุจากอุบัติเหตุจราจร เป็นต้น3) ครอบครัวที่มีลักษณะเฉพาะอาทิ ครอบครัวแม่วัยรุ่น จากการสำรวจพบว่ามีกลุ่มแม่วัยรุ่นมีจำนวนประมาณ 120,000 – 150,000คนต่อปีครอบครัวแม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาภาวะการเป็นแม่เลี้ยงเดียวและยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้ง และจากปัญหาการท้องก่อนวัยอันควรนี้เองทำให้เด็กกลุ่มนี้ขาดความกล้าหรือได้รับโอกาสให้กับเข้าสู่ระบบการศึกษา 4) ครอบครัวที่มีความรุนแรงในครอบครัวที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

ดร.จุฬากรณ์ยังกล่าวอีกว่า นอกจากข้อมูลเชิงปริมาณที่กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวใช้ในการตั้งหลักตั้งโจทย์โครงการดังกล่าวแล้ว เมื่อลงพื้นที่เชิงลึกและรวมจากการระดมความคิดกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่ได้ดำเนินงานเวทีสัญจรมากว่า 10 เวทีใน 5 ภูมิภาค มีตัวแทนและเครือข่ายชุมชนเข้าร่วมกว่า 50 ชุมชน ที่ประกอบไปด้วยผู้แทนศพค. อบต. อสม. และภาคีต่างๆ ซึ่งได้สะท้อนสภาวการณ์ด้านครอบครัวเชิงลึกที่น่าสนใจในหลายเรื่อง โดยพบปรากฏการณ์ร่วมครอบครัวส่วนใหญ่ที่เผชิญปัญหามีลักษณะที่เป็นครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวที่มีผู้สูงอายุ โดยครอบครัวเหล่านี้ยังมีปัญหาทับซ้อน เช่น ยากจน มีผู้พิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง ขณะเดียวกันพบ ครอบครัวลักษณะเฉพาะ เช่น ปัญหาแม่วัยรุ่น ครอบครัวที่มีปัญหายาเสพติดซึ่งจะพบมากในพื้นที่ที่มีลักษณะชายขอบหรืออยู่ติดชายแดน ส่วนครอบครัวที่มีความรุนแรงในครอบครัวมักจะพบปัญหาที่เกี่ยวเนื่องคือการเสพสุรา และพบลักษณะความรุนแรงที่เกิดขึ้นคือลูกทำร้ายพ่อแม่/ตายาย

นอกจากนี้ปรากฏการณ์ที่เห็นได้ชัดคือลักษณะของสภาพครอบครัว 1 ใน 3 ของครอบครัวที่เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อ/แม่ แต่มีผู้สูงอายุเป็นผู้ปกครองหรือรับภาระเลี้ยงดูเด็ก โดยส่วนใหญ่ทั้ง 5 จังหวัดเผชิญสถานการณ์ร่วมไม่ต่างกัน หากแต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของบริบทพื้นที่ เช่น ครอบครัวในเขตเมืองจะมีปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูบุตรและการสร้างทักษะชีวิต ปัญหาเรื่องแม่วัยรุ่น รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ครอบครัวในเขตชนบทจะเผชิญปัญหาความยากจนและการถูกทอดทิ้ง ซึ่งหลังจากเวทีนี้จะได้ร่วมกับจังหวัดนำร่องได้แก่ ภาคเหนือ จังหวัดนครสวรรค์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ภาคกลาง จังหวัดราชบุรี และภาคใต้ จังหวัดพังงา ในการร่วมมือขับเคลื่อนการพัฒนากลไกการเชื่อมต่อข้อมูลและการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวแต่ละแห่งต่างมีต้นทุนและการทำงานที่น่าสนใจแตกต่างกันไป และยุทธศาสตร์การทำงานครอบครัวเชิงรุกตามพื้นที่ หรือที่เรียกว่า ยุทธศาสตร์การจัดการเชิงพื้นที่ จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลในการทำงานและกลไกการทำงานที่ออกแบบให้สอดคล้องตอบโจทย์แต่ละถิ่นที่เป็นกลไกร่วมการทำงาน ซึ่งหลังจากเวทีสัญจรดังกล่าวแล้ว ยังมีการทำงานเชิงลึกในแต่ละชุมชนกว่า 50ชุมชนนำร่องในการขับเคลื่อนงานพัฒนาครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังว่าจะก่อให้เกิดตัวแบบเชิงระบบที่จะทำงานด้านครอบครัวเพื่อสร้างความเข้มแข็งระยะยาว

นายสมชัย ชมขวัญ ประธานศพค.ตำบลถ้ำ จังหวัดพังงา ผู้เข้าร่วมเวทีระดมความคิดกล่าวว่า "ชุมชนเป็นเจ้าของพื้นที่เป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว ชุมชนเองต้องเป็น ด่านแรกในการร่วมแก้ปัญหา โดยศพค.จะเป็นจุดแรกที่จะเป็นผู้ประสานการทำงานดึงพลังจากภาคีในพื้นที่ที่จะร่วมกันดูแลแก้ปัญหาครอบครัวชองคนในชุมชนและผลักดันการทำงานด้านครอบครัวได้ตรงจุดตรงความต้องการของพื้นที่ และพร้อมออกตัวเป็นชุมชนนำร่องจะขับเคลื่อนการทำงานด้านครอบครัวในพื้นที่เพื่อเป็นจุดสำคัญในการแก้ปัญหาและพัฒนาครอบครัวในชุมชนให้เต็มศักยภาพ"

ด้านนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ นางสาวอุทัย ดวงมณีในฐานะหน่วยประสานได้สะท้อนมุมมองว่า "ต้องขอบคุณที่ทางกระทรวงเห็นความสำคัญต่อการทำงานครอบครัวในเชิงพื้นที่และให้สถาบันรามจิตติมาร่วมหนุนการทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในแต่ละชุมชน เพราะนอกจากการเสริมเรื่ององค์ความรู้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาครอบครัวในชุมชนแล้วการมาช่วยเรื่องการเชื่อมต่อข้อมูลและเสริมให้พื้นที่สามารถออกแบบการทำงานบนฐานข้อมูลจะช่วยให้การทำงานของศพค.เองมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องอาศัยหลักคิดร่วมกันคือการทำงานเชิงพื้นที่ที่จะเป็นการตอบโจทย์การทำงานด้านครอบครัวได้อย่างแท้จริง"

นอกจากยังชมรมผู้สูงอายุ และกลุ่มต่างๆ ยังได้เสนอเรื่องการทำงานในพื้นที่ว่า "นอกจากการทำงานด้านดูแลและเยียวยาผู้สูงอายุในครอบครัวแล้วการเล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องการเสริมพลังผู้สูงอายุที่มีศักยภาพต่อการทำงานด้านครอบครัวอย่างมากแต่จำเป็นต้องมีการวางแผนจัดการให้เกิดกิจรรมที่จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้สูงอายุได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่โดยหวังการทำงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมเพื่อให้ครอบครัวเป็นพลังสำคัญของการพัฒนาคนและอนาคตต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๑ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๖:๓๙ คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๖:๐๘ พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๖:๐๑ BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๖:๒๘ บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๖:๐๖ PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๖:๔๖ CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๖:๒๕ ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ