พม. มอบเข็มกลัดริบบิ้นสีขาวนายกรัฐมนตรี และ ครม. เพื่อรณรงค์สร้างกระแสสังคมร่วมยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี ๒๕๕๘

พุธ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๒:๓๗
วันนี้ (๑๗ พ.ย. ๕๘) เวลา ๐๘.๓๐ น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมด้วย นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เข้ามอบเข็มกลัดริบบิ้นสีขาว (White Ribbon) ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีเพื่อร่วมแสดงออกถึงสัญลักษณ์ของการ "ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว" และร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ประจำปี ๒๕๕๘ ภายใต้แนวคิด "อาเซียนร่วมใจ...ไร้ความรุนแรง" (Stop Violence…ASEAN Together)

พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๒ กำหนดให้เดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น "เดือนรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี" กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว ทั่วประเทศตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน เพื่อให้สังคมได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาความรุนแรง รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ส่งผลให้ประชาชนได้เข้าใจและเข้าถึงสิทธิของตนเองในการใช้กฎหมายดังกล่าว อันจะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลในครอบครัวจากความรุนแรงที่ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี ตลอดจนเพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้ประสานความร่วมมือเพื่อยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัว โดยนำริบบิ้นสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลที่มีความหมายถึงการไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ มาใช้ในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวต่อไปว่า เนื่องจากในปี ๒๕๕๘ เป็นปีที่มีการรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม โดยประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมและใช้โอกาสจากการรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในครั้งนี้ ที่มีการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบ และประชาชน ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและสวัสดิการของประชาชน ที่ดีขึ้น รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความมั่นคงในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ กระทรวง การพัฒนาสังคมฯ โดย สค. ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดงานรณรงค์ยุติความรุนแรงฯ ประจำปี ๒๕๕๘ ภายใต้แนวคิด "อาเซียนร่วมใจ...ไร้ความรุนแรง" (Stop Violence… ASEAN Together) เพื่อสร้างกระแสสังคมให้เกิดความตระหนักต่อปัญหาและนำไปสู่การรวมพลังของทุกภาคส่วนในการยุติความรุนแรงในประเทศไทยและ ทุกประเทศในภูมิภาคอาเซียน

"กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ขอเชิญชวนหน่วยงาน และประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมแสดงพลังสร้างสรรค์ "ไม่ยอมรับ ไม่นิ่งเฉย ไม่กระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และ ความรุนแรงในครอบครัว" ภายใต้แนวคิด "อาเซียนร่วมใจ...ไร้ความรุนแรง" (Stop Violence…ASEAN Together) เพื่อแสดงตนในการร่วมยุติความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบ หากพบเห็นการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และบุคคลในครอบครัว แจ้งเหตุหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ OSCC ศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทรสายด่วน ๑๓๐๐ ทั่วประเทศ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง" พลตำรวจเอก อดุลย์ กล่าวท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ