โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกำแพงเพชร (Kampaengphet Biogas Power Plant) ขนาดกำลังการผลิต 5.8 เมกกะวัตต์ได้ก่อสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งขณะนี้โรงงานได้รอเชื่อมต่อไฟฟ้าและรออัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบใหม่จากรัฐบาล (อัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบใหม่ Feed-in Tariff ประเภทพืชพลังงานที่อัตรา 5.43 บาทต่อเมกกะวัตต์) IEC คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในไตรมาสที่ 1 ปี 2559 โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ที่ ต.ลานดอกไม้ อ.เมือง จ. กำแพงเพชร โดยได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตก๊าซชีวภาพทำให้ไม่มีของเสียออกจากระบบการผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพกำแพงเพชรใช้เงินลงทุนจำนวน 400 ล้านบาท มีผลตอบแทนของโครงการที่อัตราร้อยละ 17.42 และระยะเวลาคืนทุน 4.7 ปี
โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพสุพรรณบุรี (Suphanburi Biogas Power plant) ขนาดกำลังการผลิต 10.6 เมกกะวัตต์ได้ใบอนุญาติประกอบกิจการกิจการไฟฟ้า (PPA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงการดังกล่าวใช้เงินลงทุนจำนวน 900 ล้านบาท มีผลตอบแทนของโครงการที่อัตราร้อยละ 15 และระยะเวลาการคืนทุน 4.3 ปี คาดว่าจะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ในปี 2560 โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพสุพรรณบุรีใช้วัตถุดิบกากน้ำอ้อยเพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวมวล
นอกจาก IEC ยังได้มีแผนลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพเพิ่มอีกสองแห่งคือ โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ จ.ระยอง โดยโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งนี้จะผลิตไฟฟ้าจากอาหารที่คัดกรองออกจากขยะ (food waste) นำไปหมักเพื่อให้เกิดก๊าซชีวมวล โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากบ่อขยะ อ.หาดใหญ่มีเงินลงทุนจำนวน 104 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของโครงการร้อยละ 16.2 มีระยะเวลาการคืนทุน 6.7 ปี ส่วนโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพอีกแห่งที่จังหวัดระยองนั้นมีเงินลงทุนจำนวน 197 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของโครงการร้อยละ 16 มีระยะเวลาการคืนทุน 4 ปี รวมกำลังการผลิตทั้งสองแห่ง 4.5 เมกกะวัตต์ โครงการทั้งสองคาดว่าจะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2559
การลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (Biogas Power Plant)นั้น สอดคล้องกับแผนและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของ IEC ที่มุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเป็นอย่างดี และ IEC เชื่อมั่นว่าผลประกอบการในอนาคตจะเติบโตและมีรายได้ที่ยั่งยืนจากธุรกิจที่เข้าลงทุน