นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม แนะผู้เป็น 5 โรค ต้องระวัง.! เมื่อปั่นทางไกล

อังคาร ๒๔ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๘:๐๐
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์นักปั่นจักรยานทางไกลเกิดหัวใจวายกระทันหัน ขณะปั่นจ้กรยานร่วมงานเอเซียนออนทัวร์ไทย-ลาว ก่อนถึงถ้ำนางแอน 2 กิโลเมตร และได้เสียชีวิต (ปั่นได้ 48 กิโลเมตร ช่วงใกล้เที่ยง อากาศร้อนมาก)

นายแพทย์ประภาส วีระพล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในบรรยากาศแบบนี้ อยากฝากเตือนผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องระมัดระวังในการปั่นจักรยานทางไกล คือ 1) โรคหัวใจทุกชนิด 2) โรคความดันโลหิตสูง 3) โรคเบาหวานที่ยังคุมน้ำตาลไม่ได้ 4) โรคลมชัก 5) โรค Heat Stroke จากอากาศร้อนมากและสูญเสียเหงื่อมาก และ 6) อุบัติเหตุทางถนนจากการปั่นกันเป็นกลุ่มใหญ่ จากการไม่ชินกับถนนหรือเส้นทางและการเกี่ยวเกาะกันล้มจากการไม่เคยซ้อมปั่นด้วยกันมาก่อน

ข้อแนะนำในการปั่นจักยาน 1.ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย 2.ก่อนจะขี่จักรยานต้องเรียนรู้อุปกรณ์และวิธีการขี่ ปรับเบาะ มือบังคับ ให้ได้ระดับเหมาะสม ความสูงของเบาะนั่งต้องเหมาะสม คือ เมื่อนั่งบนเบาะ เท้าที่วางบนบันไดที่ต่ำ เข่าจะงอเล็กน้อย โดยทำมุมประมาณ 5 องศา หากตั้งเบาะต่ำไปอาจจะทำให้ปวดเข่าเมื่อขี่จักรยาน ต้องตรวจข้อล็อกต่าง ๆ ว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและแน่หนา วิธีทดสอบอีกวิธีหนึ่ง คือให้วางส้นเท่าบนบันไดขั้นต่ำสุด เข่าจะเหยียดตรงพอดีความสูงของมือจับปรับให้พอดี โดยปรับให้สูงแล้วค่อยเลื่อนต่ำลงมา ตำแหน่งที่เหมาะสม คือ ข้อศอกงอเล็กน้อย ระยะห่างพอดีและจับสบายไม่ปวดหลัง การปรับนี้ผู้ขี่ต้องปรับให้พอดีกับตัวเอง

3.การเลือกรองเท้า ไม่ควรใช้รองเท้าสำหรับวิ่งหรือรองเท้าสำหรับการเต้น aerobic เพราะพื้นรองเท้านุ่มเกินไป พื้นรองเท้าสำหรับขี่จักยานควรจะแข็งพอสมควร เพื่อจะได้ขี่จักรยานอย่างมีประสิทธิภาพ 4.การเตรียมอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น อาทิ ผ้าเช็ดเหงื่อสำหรับเช็ด โดยเฉพาะมือจับเพราะอาจจะทำให้ลื่น 5.ดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนการออกกำลังกาย ดื่มน้ำประมาณครึ่งลิตร ระหว่างการออกกำลังกาย 40 นาที ดื่มน้ำอีก 1 แก้ว หลังการออกกำลังกาย 6.ก่อนออกกำลังกายให้อบอุ่นร่างกาย (warm up) โดยการขี่จักรยานแบบไม่มีความฝืด 5-10 นาที หลังจากนั้นจึงเพิ่มความฝืดและเพิ่มความเร็วโดยที่ไม่เหนื่อยหรือไม่ปวดกล้ามเนื้อ 7.สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือความดันโลหิตสูงควรติดตามการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ที่เริ่มขี่ควรจะขี่ด้วยความเร็วไม่มากและความฝืดไม่มาก เมื่อร่างกายแข็งแรงจึงเพิ่มความฝืดและความเร็ว

หากมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด เจ็บแน่นหน้าอก ให้หยุดขี่ทันทีและบอกคนใกล้ชิดหรือผู้คุมช่วยปฐมพยาบาล อากาศถ่ายเท คลายเสื้อผ้ารองเท้าและเช็ดตัวด้วยน้ำเพื่อลดความร้อน ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรรีบส่งตัวมารักษาที่โรงพยาบาล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ
๑๖:๑๘ ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเปิดจองซื้อหุ้นกู้ชุดใหม่รับปีมะเส็ง ตอบโจทย์นักลงทุนที่มองหาโอกาสสร้างผลตอบแทนอย่างมั่นคง
๑๖:๒๕ วัน แบงค็อก เตรียมเฉลิมฉลองเคาท์ดาวน์ศักราชใหม่สุดยิ่งใหญ่
๑๖:๐๖ EXIM BANK โชว์ศักยภาพ SFI แห่งแรกได้รับมาตรฐานสากล ISO 14064-1:2018 เดินหน้าบทบาท Green Development Bank
๑๖:๑๙ ซานตาคลอส ฟลายอิ้ง ส่งความสุขในเทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๑๖:๔๓ Spacely AI คว้ารางวัลที่สาม ในการแข่งขันนวัตกรรมระดับโลกของ SketchUp
๑๖:๓๒ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ทุ่มกว่า 1.6 ล้าน มอบความห่วงใย ร่วมฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังจากน้ำท่วมใหญ่
๑๖:๒๑ NRF เปิดตัว Mini C สาขาใหม่ในสหราชอาณาจักร ตอกย้ำกลยุทธ์ค้าปลีกแบบ Hub and Spoke ยอดขายทะลุเป้า พร้อมกระแสรีวิว 5 ดาวจากลูกค้า
๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย