ผู้นำเข้าเอกชนแดนกิมจิ เจรจารัฐมนตรีเกษตรฯ เล็งเพิ่มการนำเข้า กล้วย มะม่วงและไก่ปรุงสุกจากไทย จากความเชื่อมั่นคุณภาพ มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรไทย คาดมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรไทยที่ส่งออกไปเกาหลีปี’59 เพิ่ม

จันทร์ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๐๑๕ ๑๖:๔๒
นายโทมัส ชิน ประธานสมาคมผู้นำเข้า สาธารณรัฐเกาหลี (KOIMA) เปิดเผยภายหลังการเข้าพบ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อหารือถึงแนวทางการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังสาธารณรัฐเกาหลีว่า ขณะนี้เกาหลีมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรไทยในหลายๆ รายการ โดยเมื่อช่วง 4 เดือนที่ผ่านมามีภาคเอกชนเกาหลีกว่า 185 คนจาก 120 บริษัทเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเยี่ยมชมกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และมีความเชื่อมั่นต่อคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตรของไทย รวมถึงยังได้เข้าพบ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยิ่งเกิดความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์บ้านเมือง ความปลอดภัย ที่จะส่งผลดีต่อการค้าการลงทุนของทั้งสองประเทศ ทั้งด้านการค้าขาย และการท่องเที่ยว ที่ขณะนี้พบว่าคนเกาหลีก็มาเที่ยวยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย

นายโทมัส กล่าวเพิ่มเติมอีกถึงสินค้าเกษตรที่ภาคเอกชนเกาหลีมีความสนใจที่จะนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากคนเกาหลีมีความนิยมที่จะบริโภคสินค้าเกษตรจากไทยด้วยรสชาติ มาตรฐานและคุณภาพ เช่น ไก่ปรุงสุก กล้วย และมะม่วง ซึ่งมะม่วงถือเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากในเกาหลี โดยในปี 2557 เกาหลีนำเข้ามะม่วงจากไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 54 % จากปริมาณการนำเข้ามะม่วงทั้งหมดมูลค่า 55 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งในปี 2558 ก็มีสัดส่วนนำเข้าม่วงจากไทยเพิ่มขึ้นเป็น 55% จากมูลค่านำเข้าทั้งหมด 60 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2559 ก็คาดว่าจะมีสัดส่วนการนำเข้ามะม่วงไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน

สำหรับการนำเข้าสินค้าไก่ปรุงสุกจากไทย ขณะนี้ทางเกาหลีได้นำเข้าไก่ปรุงสุกจากไทยเพิ่มขึ้น โดยหลายบริษัทสนใจนำเข้าไก่ยากิโทริ (ไก่ย่าง) ของไทยมากขึ้น เนื่องจากคนเกาหลีนิยมบริโภค ส่วนการนำเข้าไก่สด ขณะนี้ผู้นำเข้าอยู่ระหว่างการรอให้รัฐบาลเกาหลีใต้อนุญาตนำเข้าไก่จากไทยก็พร้อมจะนำเข้าทันทีขณะที่สินค้าที่ทางเกาหลีสนใจที่จะนำเข้ามายังประเทศไทย เช่น แอปเปิ้ล ลูกพลับ และสตรอเบอร์รี่

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย ระบุว่า ปัจจุบันสาธารณรัฐเกาหลีอนุญาตให้นำเข้าผลไม้สดจากไทย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ มังคุด ทุเรียน กล้วยดิบ มะพร้าวอ่อน สับปะรด และมะม่วง โดยผลไม้ที่ได้รับความนิยมในเกาหลี คือ มะม่วง ซึ่งปัจจุบันไทยสามารถส่งออกมะม่วงไปยังสาธารณรัฐเกาลีได้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์น้ำดอกไม้ หนังกลางวัน และแรด และอยู่ระหว่างการขอเปิดตลาดมะม่วงสายพันธุ์มหาชนกเพิ่มอีก 1 สายพันธุ์ เนื่องจากไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดในเกาหลี ส่วนผลไม้อื่นๆ ที่ผู้นำเข้าเกาหลียังเห็นว่ามีศักยภาพ ได้แก่ ลำไย ส้มโอ และเงาะ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งผลักดันในการขอเปิดตลาดผลไม้ดังกล่าวเพิ่มเติม

ทางด้านข้อมูลการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทย – สาธารณรัฐเกาหลี พบว่า สาธารณรัฐเกาหลีเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยอันดับที่ 12 ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.24 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของไทยไปตลาดโลก โดยในปี 2557 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประมาณ 16,800 ล้านบาท ซึ่งสินค้าเกษตรสำคัญที่ไทยส่งออกไปยังสาธารณรัฐเกาหลี เช่น กุ้งแช่แข็ง ปลากหมึกแช่แข็ง และเนื้อไก่ปรุงแต่ง เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ