กรมพัฒนาที่ดิน สนองนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้งปี 58/59

อังคาร ๐๑ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๖:๑๒
นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเพาะปลูกของเกษตรกร ซึ่งต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฤดูแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป แม้ว่าน้ำใน 4 เขื่อนหลักจะได้ปริมาณน้ำใช้การได้เกินกว่าเป้าที่ตั้งไว้ แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมาก เพียงพอเฉพาะการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะสนับสนุนการทำนาปรังในฤดูแล้งนี้ได้ ดังนั้นเพื่อให้การใช้น้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ตลอดในช่วงฤดูแล้งนี้ที่จะถึงนี้และต่อเนื่องไปจนถึงต้นฤดูฝนเดือนพฤษภาคม 2559 จึงขอให้เกษตรกรพิจารณางดการทำนาปรัง เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำสูง ทำให้ต้องประสบปัญหาการขาดทุน ดังนั้นจึงขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันรณรงค์ให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำที่รุนแรงได้ในอนาคต

จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เห็นชอบโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/2559 เพื่อสนับสนุนโครงการบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งปี 2558/2559 มีกรอบการดำเนินงานจำนวน 5 มาตรการ ดังนี้ (1) มาตรการส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน (2) มาตรการชะลอหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน (3) มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร (4) มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง (5) มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ (6) มาตรการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน (7) มาตรการเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (8) มาตรการสนับสนุนอื่น ๆ

นายสุรเดช เตียวตระกูล กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินงานสนองนโยบายดังกล่าว โดยดำเนินการจัดทำแผนงาน/งบประมาณ ในการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 ตามข้อมูลโครงการตามแผนชุมชนเพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้งด้านการเกษตร ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภายใต้กรอบมาตรการ ที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิต เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน กิจกรรมการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการการจัดทำปุ๋ยหมัก เป้าหมาย 763 ตัน เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมจำนวน 1,180 ราย และโครงการทำน้ำหมักชีวภาพ เป้าหมาย 503,232 ลิตร เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมจำนวน 2,975 ราย นอกจากนี้กรมพัฒนาที่ดินได้สนับสนุนกิจกรรมการปรับปรุงบำรุงดินด้วยพืชปุ๋ยสด (ปอเทือง) ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย 7,827 ไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์ 862 ราย และดำเนินการตามกรอบมาตรการที่ 4 โครงการพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้ง ปี 2558/2559 โดยให้สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดเข้าไปร่วมบูรณาการ การทำงานด้านต่าง ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ และชุมชนท้องถิ่น ในการทำหน้าที่สำรวจพื้นที่และชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายความช่วยเหลือของรัฐบาลกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง พร้อมทั้งเสนอทางเลือกให้กับประชาชนตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลของโครงการตามแผนชุมชนของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อแก้ไขวิกฤตภัยแล้ง ด้านการเกษตรในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกรพื้นที่เป้าหมายจำนวน 4,115 ราย จะได้รับประโยชน์โครงการดังกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ