สธ. สเปเชียลโอลิมปิคไทยกอลิซาโน่ ยูนิเซฟ และภาคีเครือข่าย ร่วมเดินหน้าขยายพื้นที่ดูแลเด็กบกพร่องทางสติปัญญาครอบคลุมทั่วประเทศ

พุธ ๐๙ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๓:๕๐
สเปเชียลโอลิมปิก ร่วมกับ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขโดยสถาบันราชานุกูล จัดสัมมนา "โครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Special Olympic Thailand Healthy Communities Project)" ภายใต้ทุนสนับสนุนจากมูลนิธิกอลิซาโน่และองค์การยูนิเซฟประเทศไทยโดยมีแพทย์หญิงประนอมคำเที่ยงรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานเปิดงานเผยประเทศไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศที่ได้รับเลือกให้แสดงผลงานดีเด่นในที่ประชุมนานาชาติของสเปเชียลโอลิมปิคสากล (Special Olympic International) ที่กรุงลอสแอนเจลิสที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินงานในพื้นที่นำร่อง 6 โรงเรียน 6 จังหวัดใน กทม. ลพบุรี สุพรรณบุรีเชียงใหม่ อุบลราชธานี และภูเก็ต พบโรคลมชักเป็นโรคประจำตัวเรื้อรังในเด็กมากที่สุด ในขณะที่โรคออทิสติกเป็นโรคทางจิตเวชที่พบในเด็กส่วนใหญ่ รองลงมาคือโรคสมาธิสั้น ส่วนกลุ่มอาการดาวน์ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญามากที่สุดพบมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2557 พร้อมเดินหน้าขยายพื้นที่วางระบบดูแลสุขภาพ เด็กบกพร่องทางสติปัญญาให้เกิดความยั่งยืนด้วยโมเดล "โดยชุมชนเพื่อชุมชน"ให้ครบ 20 แห่งทั่วประเทศ

แพทย์หญิงประนอม คำเที่ยง รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาถือเป็น 1 ในความพิการ 7 ประเภท ประเทศไทยพบร้อยละ 1.3 ของประชากร หรือประมาณ 1 ล้านคน โดยมีการเข้าถึงบริการเพียงร้อยละ 6.25 กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายการบูรณาการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ในปีงบประมาณ 2559 ได้ตั้งเป้าหมายให้คนพิการสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นการดำเนินโครงการนี้จึงเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้สังคมตระหนักและเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของบุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา จึงเกิดความร่วมมือทั้งจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ตลอดจนครอบครัว สังคม องค์กรท้องถิ่น และภาคเอกชน

รศ.ดร.นริศ ชัยสูตร ประธานคณะกรรมการสเปเชียลโอลิมปิคแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกจาก 33 ประเทศสมาชิกของสเปเชียลโอลิมปิคสากล (Special Olympics International) ให้ดำเนินโครงการนำร่องเพื่อศึกษารูปแบบของการขยายการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้กับบุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญาในพื้นที่แตกต่างกันทั่วโลก ซึ่งโครงการนี้เปิดตัวอย่างเป็นทางการโดยอดีตประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกานายบิลคลินตันในการประชุมใหญ่ของClinton Global Initiatives เมื่อปี 2555 และจากการดำเนินงานขยายผลสเปเชียลโอลิมปิคไทยได้รับเลือกเป็น 1 ใน 2 ประเทศที่ได้แสดงผลงานดีเด่นให้กับที่ประชุมนานาชาติของสเปเชียลโอลิมปิคสากลที่กรุงลอสแอนเจลิสในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

คุณวาเลรี ตาตอน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประเทศไทย ในฐานะผู้สนับสนุนโครงการได้เปิดเผยถึงความสำคัญของโครงการในการขับเคลื่อนพัฒนาการของเด็กพิการไทยว่า เด็กพิการมักไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิการมีสุขภาพอนามัยดี สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิการได้รับการปกป้องคุ้มครองจากภัยอันตราย และสิทธิการมีส่วนร่วมในสังคม และการไม่ถูกตีตราหรือถูกรังเกียจจากสังคม การลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมสิทธิขั้นพื้นฐานในสังคมถือเป็นประเด็นที่ยูนิเซฟให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ

นายสมชาย เจริญอำนวยสุข อธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กล่าวว่าจากข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ณ วันที่ 2 พ.ย.2558 ประเทศไทยมีผู้พิการจำนวน 1,675,753 คน เป็นผู้พิการทางสติปัญญา 114,237 คน (ร้อยละ 6.81) การดูแลคนพิการจึงต้องให้สิทธิและโอกาสเทียบเท่ากับคนปกติและต้องปฏิบัติกับเขาอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี ที่สำคัญคือการให้กำลังใจคนพิการไม่มองเห็นเป็นภาระแต่เป็นพลัง ปัจจุบันมีโครงการจ้างงานคนพิการซึ่งมีกฎหมายรองรับว่าสถานประกอบการทุกแห่งใน 100 คนทำงานต้องจ้างคนพิการ 1 คน ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ด้วยตนเองถือเป็นการสร้างความภาคภูมิใจเพราะผู้พิการไม่ต้องการความสงสาร ในส่วนของนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดูแลสุขภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพื่อความยั่งยืนต่อไปนั้นเป็นการทำงานและร่วมมือกับกรมสุขภาพจิก กระทรวงสาธารณสุข

พญ.พรรณพิมล วิปุลากรรอง อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้ดำเนินการต่อเนื่องตลอด 3 ปีนำร่องใน 6 โรงเรียนในกทม.ลพบุรี สุพรรณบุรีเชียงใหม่ อุบลราชธานี และภูเก็ต พบว่าปีการศึกษา 2557 และ 2558 มีเด็กนักเรียนผ่านการประเมินสุขภาพ 1,357 และ 1,253 รายตามลำดับมีโรคประจำตัวเรื้อรังประมาณร้อยละ 11 โดยพบโรคลมชักมากที่สุด ในส่วนของโรคทางจิตเวชส่วนใหญ่เป็นโรคออทิสติกรองลงมา คือ โรคสมาธิสั้นส่วนกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญามากที่สุดพบร้อยละ 14.6 ในปี 2557 และร้อยละ 18.5 ในปี 2558 ผลจากโครงการในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการดำเนินงานสำคัญเพื่อนักเรียนและบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้แก่ 1.การส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งของระบบส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ 2.การมีระบบการดูแลภายในโรงเรียนและกลไกการส่งต่อปัญหาสุขภาพ ที่เอื้อต่อข้อจำกัดของเด็กและครอบครัว และ3.มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวางแผนการดำเนินงานและประเมินผลร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งนี้ได้เดินหน้าทดลองขยายการทำงานผ่านการประสานงานของหน่วยงานสาธารณสุขและการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มอีก 14 แห่งทั่วประเทศ ให้เกิดระบบการดำเนินงานที่ยั่งยืนด้วยโมเดล "โดยชุมชนเพื่อชุมชน" ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างผู้ปกครองครูบุคลากรสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อทำให้เด็กที่อยู่ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษเป็นต้นแบบการรับบริการสุขภาพอย่างครบถ้วนเด็กสามารถดูแลตัวเองและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

ด้านนางลำพึง ศรีมีชัย รอง.ผอ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือในการจัดการการศึกษาสำหรับคนพิการร่วมกันนอกจากนี้ยังได้เตรียมดำเนินการโครงการ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ในการดูแลเด็กเช่นการเตรียมจัดตั้ง โรงเรียนออทิสติกอีกที่ จ.ขอนแก่น โรงเรียนเด็กพิเศษที่ จ.ชลบุรี ตลอดจนโรงเรียนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่จะนำโมเดลของโครงการนี้ไปต่อยอดโครงการของกระทรวงฯ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO