มหันตภัยจากความหวาน สุขภาพคุณอาจถูกทำลายจากน้ำตาลและสารให้ความหวาน

ศุกร์ ๑๑ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๘:๐๖
อาหารไทยนั้นเป็นที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารมีรสชาติจัดจ้าน ทั้งเปรี้ยวหวานเค็มเผ็ดเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทยำ แกง อาหารหมักดอง และอื่นๆอีกมากมาย

หนึ่งในรสชาติของอาหารไทยที่โดดเด่นนั้นก็คือรสหวาน ทั้งรสหวานที่ได้จากน้ำตาล น้ำตาลโตนด และสารให้ความหวานที่ใช้แทนน้ำตาล ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรลดการบริโภคในชีวิตปนะจำวัน นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center) ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าว

การบริโภคน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปยังทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และ โรคไขมันพอกตับ ที่น่ากังวลก็คือ ปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคเหล่านี้สูงในกลุ่มคนหนุ่มสาวและเด็ก ซึ่งต่างจากในอดีตที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

ผมจึงอยากแนะนำให้ทุกคนบริโภคน้ำตาลแต่พอดี และควรเลือกรับประทานน้ำตาลชนิดที่มีประโยชน์ เพราะน้ำตาลแต่ละชนิดก็ให้ผลไม่เหมือนกัน

กลูโคส เป็นน้ำตาลที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองตามธรรมชาติ จากการเปลี่ยนพลังงานคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากข้าวหรือพาสต้า กลูโคสถูกดูดซึมสู่ตับได้โดยง่ายและจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย กลูโคสเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นแหล่งพลังงานหล่อเลี้ยงเซลต่างๆในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เซลสมอง

ส่วนฟลุคโตส เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ฟลุคโตสเป็นน้ำตาลที่พบได้ในผักและผลไม้ที่เติมเข้าไปในเครื่องดื่มอย่างเช่นน้ำอัดลม น้ำผลไม้กล่อง มันแตกต่างจากกลูโคสเนื่องจากฟลุคโตสไม่ได้สร้างพลังงานให้กับกล้ามเนื้อหรือสมอง แต่มันจะถูกส่งตรงไปที่ตับและสะสมเป็นไขมันและไม่ได้ถูกดึงมาใช้งาน

คุณหมอสมบูรณ์ กล่าวเสริมอีกว่า "ฟลุคโตสไประงับการกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารอิซุลิน พูดง่ายๆก็คือ คนที่บริโภคฟลุคโตสเป็นจำนวนมาก มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติอย่างเช่น ความดันสูง น้ำตาลในเลือดสูง โรคอ้วนลงพุง ระดับคลอเลสเตอรอลผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและเบาหวาน"

คุณหมอสมบูรณ์ได้กล่าวว่า "น้ำเชื่อมที่มีฟรุคโตสสูง (High-Fructose Corn Syrup) – เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีราคาถูกที่สกัดจากข้าวโพด สารนี้ได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหาร และเป็นมหันตภัยความหวานอันดับแรกที่เราควรหลีกเลี่ยง"

น้ำเชื่อมที่มีฟรุคโตสสูงได้ถูกพัฒนาในยุค พ.ศ. 2490 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในอุตาหกรรมอาหารเนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำตาลอ้อยและหัวบีท

การบริโภคน้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงในปริมาณสูงถึง 42-55% นั้นแสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการบริโภคฟรุคโตส จะทำลายระบบทำงานของตับและไประงับเล็ปตินฮอร์โมน หรือฮอร์โมนอิ่ม ทำให้เราไม่รู้จักอิ่มและทานเกินความต้องการ จากผลวิจัยในสหรัฐอเมริกาพบว่า น้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงนั้นเป็นพิษต่อร่างกายและสามารถทำลายระบบลำไส้อีกด้วย

เพื่อควบคุมปริมาณน้ำตาลและฟรุคโตสที่เราบริโภคในแต่ละวัน นายแพทย์สมบูรณ์แนะนำว่าเราควรอ่านฉลากบนกล่องอาหารหรือเครื่องดื่ม เพื่อดูว่ามีปริมาณน้ำตาลหรือฟรุคโตสผสมอยู่มากแค่ไหน แต่ที่ดีที่สุดคือเราควรทำอาหารทานเอง เพราะจะทำให้เราสามารถควบคุมสิ่งที่เราใส่ไปในอาหารได้

คนส่วนมากชอบทานของหวาน ที่จริงเราสามารถทานน้ำอัดลม คุ๊กกี้ ไอศครีม หรือชอกโกแลตได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ไม่ควรทานเป็นประจำ และเราก็สามารถใส่น้ำตาลลงไปในอาหารที่เราทำได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้อาหารแปรรูปที่ผสมน้ำตาลอย่างเช่นซอสมะเขือเทศ เป็นต้น

การทำอาหารทานเองเราสามารถเพิ่มทางเลือกในการปรุงรสหวานได้จากสมุนไพรอย่างเช่น หญ้าหวาน หรือน้ำผึ้งธรรมชาติ และใช้น้ำตาลอ้อยในปริมาณน้อยลง

ส่วนผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง สามารถมาขอคำปรึกษาจากคุณหมอสมบูรณ์และคณะแพทย์ได้ โดยคุณหมอจะทำการวิเคราะห์อุปนิสัยการรับประทานและการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ จากนั้นจะทำโปรแกรมการรับประทานและการลดการบริโภคน้ำตาล ธัญพืช อาหารจำพวกแป้ง และเพิ่มจำนวนการบริโภคผักและไขมันดีอย่าง กรดไขมันโอเมกา 3 เป็นต้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ