แพทย์หญิงดนยา กล่าต่อไปว่า สำหรับสถานการณ์ประเทศไทย ผู้ที่ติดเชื้อหรือมีโรคแทรกซ้อนขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือโรคติดเชื้อซีดิฟฟ์(CDI) ยังไม่เป็นโรคที่ต้องรายงาน ดังนั้นข้อมูลการติดเชื้อจึงมีจำกัด จากการทบทวนการศึกษา ของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ที่มีการตรวจหาเชื้อซีดิฟฟ์ ในอุจจาระของผู้ป่วย มีรายงานการพบเชื้อตั้งแต่ 4.8% ถึง 52.2% ทั้งนี้ขึ้นกับวิธีการตรวจ และอายุของผู้ป่วยที่ทำการศึกษา การมีโรคประจำตัว และการใช้ยาปฏิชีวนะ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อุบัติการณ์ของโรคและการแพร่กระจายของเชื้อมักขึ้นจากการรักษาตัวในโรงพยาบาล อย่าไรก็ตามอาการที่แสดงของโรค การรักษา ผลของโรคที่พบ รวมถึงปัจจัยเสี่ยง ไม่แตกต่างจากที่พบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้น การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างแพร่หลายทั้งกับคนและสัตว์ในประเทศไทย อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
การศึกษาวิจัยวัคซีน ชื่อ ซีดิฟเฟนส์ (Cdiffense) เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อหรือโรคแทรกซ้อน ขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ของบริษัท ซาโนฟี่ ปาสเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผู้นำในการผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก ปัจจุบันโครงการศึกษาวิจัยวัคซีน ซีดิฟเฟนส์อยู่ในระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายของการศึกษาวิจัย ทีมวิจัยทำงานร่วมกับอาสาสมัครที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ คลอสตริเดียม ดิฟฟิไซล (C. difficile) เพื่อประเมินความปลอดภัย การตอบสนองภูมิคุ้มกัน และประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งมีศูนย์วิจัยกว่า 200 แห่งกว่า 20 ประเทศทั่วโลก สำหรับอาสาสมัครที่เข้าร่วมศึกษาวิจัย เป็นผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและมีแผนจะเข้าพักรักษาในโรงพยาบาล หรือเพิ่งเข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลและเคยได้รับยาปฏิชีวนะในช่วง 1 ปี การศึกษาวิจัยมีแผนจะรับอาสาสมัครจำนวนมากถึง 15,000คน ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นการศึกษาวิจัยในปี พ.ศ. 2561 หลังจากนั้นจึงจะมีการยืนขออนุมัติขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ในลำดับต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.sanofipasteur.com หรือ www.sanofipasteur.url