ดังนั้น คุณภัทรศรี นิรามัยสกุล จึงได้ดำเนินการก่อตั้งสถาบันแบงคอค เอฟ เอ สถาบันสอนออกแบบนานาชาติ และสถาบันเยส! บิซิเนส สคูล ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยบรรจุหลักสูตรแบบครบวงจรที่บูรณาการองค์ความรู้ทางแฟชั่น การออกแบบ และทางด้านการบริหารธุรกิจเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนให้มีความพร้อมต่อการบริหารจัดการธุรกิจให้เกิดความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ภายใต้กระแสเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
คุณภัทรศรี นิรามัยสกุล ผู้ก่อตั้งสถาบันออกแบบแฟชั่น แบงคอค เอฟ เอ สถาบันสอนออกแบบนานาชาติ และสถาบันเยส! บิซิเนส สคูล เปิดเผยว่า สถาบันฯ ของเราตั้งขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการออกแบบและการสร้างแบรนด์สินค้าให้กับเจ้าของธุรกิจทุกประเภทให้มีเอกลักษณ์โดดเด่น และมีคุณภาพเทียบเท่าแบรนด์สินค้าระดับโลก โดยผู้ประกอบการสามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการออกแบบ ควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์สินค้า เมื่อดิฉันเปิดสถาบันฯ ขึ้นมา หัวใจสำคัญที่ยึดมั่นมาตลอด คือ การสร้างวิสัยทัศน์ทางธุรกิจและการออกแบบเพื่อให้เจ้าของกิจการและผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดสินค้า หรือบริการของตัวเองให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากขึ้น
"ทางสถาบันฯ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่จะส่งเสริมการออกแบบเพื่อเอาไปใช้ในงานธุรกิจทุกด้าน เนื่องจากในโลกปัจจุปัน ธุรกิจสร้างสรรค์การออกแบบมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มระบบการเรียนการสอนก็เป็นที่ต้องการเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เพราะทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคปัจจุปัน พร้อมให้มูลค่ากับงานออกแบบมากกว่างานที่ไม่มีเอกลักษณ์เหมือนในอดีต สำหรับประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมด้วยวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์คนไทยเป็นประเทศที่มีความละเอียดอ่อน ดังนั้นธุรกิจสร้างสรรค์สมควรที่จะเผยแพร่ให้ควบคู่อยู่ในทุกธุรกิจของคนไทย เป็นสิ่งที่ทำเพื่อยกแบรนด์และสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้อย่างมหาศาล"
โดยกลุ่มเป้าหมายหลักอายุระหว่าง 28 – 40 ปี ซึ่งมีบุคลิกภาพที่แอคทีฟ ทันสมัย สนใจติดตามข้อมูลข่าวสารบ้านเมือง และเทรนด์ใหม่ๆ ในแวดวงธุรกิจ โดยทั้ง 3 สถาบันจะช่วยเพิ่มทักษะในเรื่องแฟชั่น พัฒนาการออกแบบ และธุรกิจ จนถึงทุกวันนี้มีนักเรียนที่ผ่านการอบรมกับทางสถาบันไปแล้วมากกว่าหนึ่งพันคน และได้สร้างผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จไปแล้วมากกว่า 100 คน
สำหรับงบประมาณทางการตลาดแบ่งสัดส่วนเป็นด้านบุคลากร 50% เนื่องจากทางสถาบันฯ ให้ความสำคัญกับบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถประกอบกับมีการจัดจ้างบุคลากรจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้ด้วย อีก 10% ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยให้พัฒนาองค์ความรู้ด้วยการเวิร์คช็อป การสัมมนา การศึกษาต่างประเทศ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และองค์ความรู้มาพัฒนาพนักงานคนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้มากยิ่งขึ้น อีก 20% เป็นเสมือนที่ปรึกษาด้านธุรกิจให้กับนักเรียน พัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถ ส่วนที่เหลืออีก20 % นำไปพัฒนาสื่อดิจิตอล
ส่วนกลยุทธ์การตลาดทั้งในรูปแบบทั้งอะโบฟ เดอะ ไลน์( Above the line) การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อในวงกว้างหรือแมส มีเดีย เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และช่องทางออนไลน์ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการตลาดยุคใหม่ฯลฯ และบีโลว์ เดอะ ไลน์ (Below the line) ซึ่งเป็นการสื่อสารการตลาดแบบไม่ใช้สื่อ แต่เน้นการทำกิจกรรมหรืออีเว้นต์ต่างๆ อาทิ การจัดเวิร์กช็อป การจัดสัมมนา เป็นต้น เพื่อการสื่อสารข้อมูลข่าวสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น สำหรับมูลค่ารวมของตลาดการศึกษาและการออกแบบภายในประเทศมีมูลค่าแสนล้านบาท