รมว.พม. แถลงผลการดำเนินงานของกระทรวงฯ ในรอบ ๑ ปี ประจำปี ๒๕๕๘

พฤหัส ๒๔ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๘:๑๐
วันนี้ (๒๕ ธ.ค. ๕๘) เวลา ๑๓.๐๐ น. พลตำรวจเอกอดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) แถลงผลงานกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในรอบ ๑ ปีประจำปี ๒๕๕๘ ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ

พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวว่า ในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)ได้ดำเนินโครงการสำคัญตามนโยบายของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้กรอบแนวทาง"การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ" โดยได้กำหนดนโยบาย "๗ เร่งด่วน๔ พัฒนา ๙ พันธกิจ" เพื่อขับเคลื่อนงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ อย่างมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมซึ่งมีผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้

๑. การพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดและผู้มีรายได้น้อย ได้บูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดและผู้มีรายได้น้อย ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลโดยดำเนินโครงการที่สำคัญ ดังนี้

๑.๑) โครงการบ้านยั่งยืน เป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยจัดสรรอาคารที่ก่อสร้างเสร็จและพร้อมเข้าอยู่อาศัย ในรูปแบบห้องชุดพักอาศัย บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ ในพื้นที่ทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น ๒๓๙ โครงการ ๑๓,๓๙๓ หน่วย

๑.๒) โครงการบ้านมั่นคง เป็นการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในเมือง ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและพร้อมส่งมอบบ้านแก่ประชาชน จำนวน ๒๓ ชุมชน ๒,๗๙๕ หลัง ทำให้มีประชาชนได้รับประโยชน์ ๑๖,๔๗๕ คน ในพื้นที่ ๑๓ จังหวัด

๑.๓) การแก้ไขปัญหาการบุกรุกลำคลอง ๙ สายในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้บุกรุกจำนวน ๗๔ ชุมชน ๑๑,๐๐๔ หลังคาเรือน

๑.๔) โครงการปทุมธานีโมเดล เพื่อแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับคนยากจนที่บุกรุกคลองสาธารณะ บริเวณคลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จำนวน ๙ ชุมชน ๑,๐๖๐ ครัวเรือน

๑.๕ ) โครงการฟื้นฟูชุมชนดินแดง มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยใหม่รองรับผู้อยู่อาศัยเดิมและผู้อยู่อาศัยกลุ่มใหม่

และ ๑.๖) การจัดที่ดินในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง ได้ดำเนินการตามภารกิจ

โดยจัดที่ดินในนิคมสร้างตนเอง และออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. ๓) ให้กับสมาชิกนิคมสร้างตนเองใน ๓๘ นิคม ๒,๓๒๙ ราย รวม ๒,๙๘๐ แปลง และบรรจุสมาชิกนิคมสร้างตนเอง เพิ่มเติม ๑๕ นิคม ๙๑๘ ราย ๑,๒๐๙ แปลง

พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวต่อไปว่า โครงการสำคัญต่อไป คือ

๒. การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ได้ดำเนินการ ดังนี้

๒.๑) ช่วยเหลือแรงงานประมงไทยที่เกาะอัมบน และเกาะเบนจิน่า ประเทศอินโดนีเซียจำนวน ๑,๓๑๗ คน เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ๕๓ คน

๒.๒) ช่วยเหลือผู้อพยพในสภาวะไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย (ชาวโรฮีนจา) ซึ่งกลุ่มคนดังกล่าวได้รับเข้าไว้ในสถานคุ้มครองฯ จำนวน ๓๓๓ คน แยกเป็นผู้เสียหาย ๑๙๕ คนเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ๑๓๗ คน และได้รับการอนุมัติไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่ ๓ จำนวน ๔๕ คน

และ ๒.๓) ผู้กระทำความผิดคดีค้ามนุษย์ ในปี ๒๕๕๗ มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดคดีค้ามนุษย์ ๒๘๐ คดี (แสวงหาประโยชน์ทางเพศ ๒๒๒ คดี บังคับใช้แรงงาน ๔๗ คดี ขอทาน ๑๑ คดี) โดยมีผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ๕๙๕ คน

นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขปัญหาคนขอทาน ซึ่งที่ผ่านมา มีการจัดระเบียบคนขอทาน จำนวน ๕ ครั้ง พบว่า มีคนขอทาน ๒,๗๕๙ คน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาคนขอทานและคนไร้ที่พึ่งในระยะยาว ดำเนินโครงการ "ธัญบุรีโมเดล" ณ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรีจ.ปทุมธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพคนไร้ที่พึ่งและคนขอทานแบบครบวงจร มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๗๘๒ คน และได้ขยายผลไปสู่สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทั่วประเทศอีก ๑๐ แห่ง รวมทั้งได้จัดตั้ง "กองทุนเพื่อพัฒนาคนไร้ที่พึ่งคนขอทาน" เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการจัดกิจกรรมและเป็นเงินตั้งต้นในการประกอบอาชีพสำหรับคนไร้ที่พึ่งและคนขอทาน ป้องกันการกลับไปขอทานซ้ำ

พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวต่อไปอีกว่า

๓. การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ได้ดำเนินการ ดังนี้

๓.๑) เพิ่มอัตราเบี้ยความพิการ จากเดิมเดือนละ ๕๐๐ บาท เป็น ๘๐๐ บาท/คน รวมจำนวน ๑,๓๙๑,๐๐๓ คน

๓.๒) รณรงค์เรื่องการจ้างงานคนพิการ ในอัตราส่วนคนพิการ จำนวน ๑ คน ต่อพนักงาน ๑๐๐ คน ทั้งในสถานประกอบการ จำนวน ๓๔,๑๒๖ คน และหน่วยงานของรัฐ จำนวน ๑,๖๗๐ คน

๓.๓) การปรับสภาพที่อยู่อาศัยของคนพิการเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน ๒๔๙๘ หลัง

และ ๓.๔) การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมของบริการสาธารณะเพื่อให้คนพิการและผู้สูงอายุ ด้วยชุมชนต้นแบบเกาะเกร็ด (อารยสถาปัตย์) จังหวัดนนทบุรี และขยายผลใน ๗ จังหวัด รวมทั้งการสำรวจป้ายรถเมล์เพื่อรองรับรถเมล์ชานต่ำจำนวน ๑,๒๒๔ จุด

๔. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ได้พัฒนาสวัสดิการทางสังคมให้มีหลักประกันความมั่นคงในการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน โดยสรุปผลการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้

๔.๑) จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ๘๗๘ แห่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จ ๑๗๗ ศูนย์ ปรับปรุงแล้วเสร็จ ๒๕๑ ศูนย์ รวม ๔๒๘ ศูนย์

๔.๒) ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะยากลำบาก จำนวน ๕,๓๗๙ ราย

๔.๓) พัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุได้มีโครงการซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุในชุมชนให้มีสภาพที่มั่นคงและปลอดภัย จำนวน ๑,๓๒๕ หลัง ปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ โดยปลูกใหม่ทั้งหลัง ๔๔ หลัง

และ ๔.๔) สนับสนุนเงินกู้ยืมประกอบอาชีพแก่ผู้สูงอายุ จำนวน ๖,๖๒๖ ราย งบประมาณ ๑๙๒,๔๑๐,๓๔๐ บาท

๕. การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ได้บูรณาการงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างมีคุณภาพ และจัดทำแผนบูรณาการ ตามกรอบนโยบาย แบ่งเป็น ๕ ช่วงวัย ประกอบด้วยโครงการสำคัญ ดังนี้

๕.๑) โครงการเงินอุดหนุนการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดในครัวเรือนยากจนให้ได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ เดือนละ ๔๐๐ บาท/คน

๕.๒) จัดบริการครอบครัวทดแทน เพื่อสนับสนุนให้เด็กอยู่ในครอบครัวทั้งในลักษณะถาวรและชั่วคราว จำนวน ๙,๒๐๐ คน

๕.๓) ยกระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั่วประเทศ ให้เป็นไปตามมาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแห่งชาติ โดยจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบเพื่อขยายผลในสถานที่ของภาครัฐและเอกชน

๕.๔) ส่งเสริมสภาเด็กและเยาวชน จำนวนทั้งสิ้น ๖,๑๙๑ แห่ง ให้มีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาตนเอง และเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

๕.๕) รณรงค์ส่งเสริมสิทธิแรงงานสตรี ส่งเสริมความรู้ด้านคุ้มครองแรงงานนอกระบบ สร้างและพัฒนาเครือข่ายแรงงานในและนอกระบบ และรณรงค์เผยแพร่ความรู้เรื่อง การใช้แรงงานเด็ก รวมทั้งสิ้น ๑๕๕,๙๙๖ คน

๕.๖) พัฒนาศักยภาพครอบครัวไทยให้เข้มแข็ง เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ผ่านกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน และพื้นที่ตำบลเข้มแข็งไร้ความรุนแรง จำนวน ๓,๐๘๗,๗๓๖ ครอบครัว

และ ๕.๗) โครงการปาฏิหาริย์แห่งชีวิต (Miracle of Life) โดยมุ่งเน้นส่งเสริม สนับสนุนและเปิดโอกาสให้เด็กได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ซึ่งได้ดำเนินการในพื้นที่ ๒๐ จังหวัด มีเด็กและเยาวชนเข้าร่วม จำนวนกว่า ๑๑,๔๓๐ คน

พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า

๖. ศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC ๑๓๐๐ ได้มีการพัฒนากลไกศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC ๑๓๐๐ เพื่อเป็นเครื่องมือของศูนย์ปฏิบัติการกระทรวง และเป็นศูนย์กลางรับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านระบบต่างๆ สถิติการให้บริการให้คำปรึกษาแนะนำ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๔๓,๓๔๕ ราย

๗. นโยบายปฏิรูปและพัฒนา ได้ดำเนินการปฏิรูปและพัฒนาองค์กรใน ๔ ด้าน ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร การพัฒนาบุคลากร การพัฒนากฎหมายด้านสังคมและการจัดตั้งพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ศปก.พม.) ซึ่งมีผลการดำเนินการ ดังนี้

๗.๑) ออก พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ และจัดทำโครงสร้างกระทรวงรองรับ พ.ร.บ. ดังกล่าว โดยเพิ่มกรมกิจการผู้สูงอายุอีก ๑ หน่วยงาน เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

๗.๒) พัฒนาบุคลากร ผู้บริหารระดับสูง จำนวน ๕๕๘ คน และระดับผู้ปฏิบัติงาน จำนวน ๗๑๑ คน

๗.๓) พัฒนาปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายด้านสังคม ๑๑ ฉบับ ซึ่งได้ออกกฎหมายใช้บังคับแล้ว ๖ ฉบับ

๗.๔) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ พม. โดยจัดประชุมเป็นประจำทุกวัน นับตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๗

พบว่า มีข้อมูลข่าวสารปัญหาสังคมจากสื่อมวลชนและสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับการนำเสนอในที่ประชุมทั้งสิ้น ๕๒๗ กรณี และมีข้อสั่งการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย ๓๙๑ กรณี

"ทั้งนี้ จากการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้สำนักงานปลัดกระทรวงฯ ได้รับรางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ ๕ จากสำนักงาน ป.ป.ช. อย่างไรก็ตาม กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ยังคงมุ่งมั่นดำเนินงาน ภายใต้นโยบาย ปี ๒๕๕๙ ๑) นโยบายเร่งด่วน ๘ เรื่อง ๒) นโยบายปฏิรูปและพัฒนา ๕ ด้าน และ ๓) นโยบายพันธกิจ ๑๑ เรื่อง เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ มีคุณภาพและความมั่นคงในชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป" พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version