โครงการปลูกป่าถาวรฯ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ล่องใต้ ปลูกป่าชายเลนอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่ออาชีพชุมชน

อังคาร ๐๑ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๗:๑๐
กรุงเทพฯ--1 มี.ค.--กฟผ.
โครงการปลูกป่าถาวรฯฯ กฟผ.ล่องใต้เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน ระดมงบประมาณ เจ้าหน้าที่ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน ปลูกป่าชายเลน ทั้งอ่าวไทย อันดามัน เป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทรัพยากรแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำทะเล ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม เพื่อการทำกินระยะยาว
นายสามารถ ภู่ไพบูลย์ หัวหน้าโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ทางโครงการปลูกป่าถาวรฯ กฟผ.จะดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ภาคใต้โดยเน้นที่ป่าชายเลนเป็นประการสำคัญ ทั้งฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทั้งนี้เนื่องจาก วิถีชีวิตของชุมชนทางภาคใต้นั้นส่วนใหญ่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์ของพื้นที่ป่าชายเลนเป็นประการสำคัญ นับตั้งแต่เรื่องการทำมาหา กินไปจนถึงการอาศัยพื้นที่ป่าชายเลนเป็นที่กำบังยามเกิดคลื่นลมทางทะเล และแม้แต่คลื่นสึนามิ ที่เกิดขึ้นก็พบว่าในพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนนั้นมักจะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ
ฉะนั้นการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน หรือ ฟื้นฟูป่าชายเลนที่มีอยู่เดิมแต่เสื่อมโทรมให้ได้กลับคืนสู่สภาพเดิมก็จะเป็นผลดีต่อการใช้ชีวิตของประชาชนในพื้นที่ เพราะป่าชายเลนคือแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ของสัตว์ทะเลขณะเดียวกันระบบนิเวศโดยภาครวมของพื้นที่ก็จะดีไปด้วย
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมา ทางโครงการฯ ได้จองพื้นที่ปลูกป่าเพิ่มอีก 50,000 ไร่ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นมหามงคลที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ทั้งนี้นายณรงค์ศักดิ์ วิเชษพันธุ์ รองผู้ว่าการอาวุโสกลุ่มพัฒนา ได้เป็นผู้แทน กฟผ.ยื่นหนังสือแสดงความจำนง กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นายสามารถ ยังกล่าวด้วยว่า ผืนป่าที่จะปลูกจำนวน 50,000 ไร่นั้น ทางโครงการได้ดำเนินการปลูกแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2547 จำนวน 10,000 ไร่ ที่เหลือจะทยอยปลูกระหว่างปี 2548-2550 โดยปี 48 จะปลูกจำนวน 15,000 ไร่ ปี 49 ปลูก 15,000 ไร่ ปี 50 ปลูก 10,000 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลือซึ่งจะดำเนินการปลูกในระหว่างปี พ.ศ.2549-2550 นั้น กำลัง อยู่ในระหว่างการประสานงานกับกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการคัดเลือกพื้นที่ป่าบกจากปี 2537-2548 กฟผ.รับพื้นที่ปลูกป่ามาดูแลแล้วเป็นจำนวน 384,000 ไร่ และได้ส่งมอบพื้นที่ที่สมบูรณ์ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้วกว่า 320,000 ไร่ ทั้งนี้ที่ผ่านมา โครงการฯ กฟผ. ได้ดำเนินการปลูปป่าไปแล้วทั้งสิ้น 334,000 ไร่ บนพื้นที่ทุกภาคทั่วประเทศ ซึ่งเจริญงอกงามดี โดยบางแปลงปลูกได้เป็นป่าที่สมบูรณ์สามารถเป็นไม้พี่เลี้ยงสำหรับการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้เนื้อแข็งที่มีอยู่ในป่าดงดิบได้ด้วย
สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนได้ประสานกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อจัดหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมซึ่งมีทั้งบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยพื้นที่ฝั่งอันดามันนั้นจะปลูกในที่จังหวัดพังงา ณ บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ คือ อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง และอำเภอคุระบุรี ส่วนฝั่งอ่าวไทยปลูกในพื้นที่จังหวัดสงขลาตลอดแนวฝั่งคลองนาทับ พื้นที่อำเภอจะนะ โดยการดำเนินงานจะให้ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมในโครงการฯ ด้วยเพื่อจะได้เป็นเจ้าของและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในวันข้างหน้าตลอดถึงการดูแลรักษาร่วมกัน
ทั้งนี้ทางโครงการปลูกป่าถาวรฯ จะดำเนินการปลูกป่าชายเลนตามโครงการและพื้นที่ดังกล่าวในปีแรก และบำรุงรักษาต่อเนื่องอีก 4 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าป่าชายเลนที่ปลูกทั้งหมดมีชีวิตรอดและเจริญเติบโตตามธรรมชาติได้ จึงส่งมอบพื้นที่เหล่านั้นให้กับส่วนงานต้นสังกัดรับไปดูแลต่อไป.--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ