ความเห็นของฟิลลิป มอร์ริส เอเชีย ลิมิเต็ดต่อคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการที่ไม่รับพิจารณาคดีในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย “ซองแบบเรียบ (Plain Packaging)” ของประเทศออสเตรเลีย

อังคาร ๒๙ ธันวาคม ๒๐๑๕ ๑๗:๕๓
คำตัดสินไม่ได้รับรองความชอบด้วยกฎหมายของการห้ามใช้เครื่องหมายการค้าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

ฟิลลิป มอร์ริส เอเชีย ลิมิเต็ด (Philip Morris Asia Limited – PMAL) บริษัทฮ่องกงที่เป็นบริษัทแม่ของฟิลลิป มอร์ริส ออสเตรเลีย (Philip Morris Australia) กล่าวในวันนี้ว่า คณะอนุญาโตตุลาการปฏิเสธที่จะพิจารณาในเนื้อหาแห่งคดีที่ PMAL ฟ้องร้องประเทศออสเตรเลียภายใต้ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (Investment Promotion and Protection Agreement – IPPA) ปี 1993 ระหว่างประเทศออสเตรเลียกับฮ่องกง โดยให้เหตุผลว่าคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจ

"ผลการตัดสินในวันนี้มิได้เป็นการรับรอง หรือยอมรับความชอบด้วยกฎหมายในการบังคับใช้มาตรการซองแบบเรียบของประเทศออสเตรเลีย หรือประเทศอื่นๆ แต่อย่างใด" มาร์ค ไฟร์สโตน รองประธานอาวุโสและที่ปรึกษาด้านกฎหมายของฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่งที่ผลการตัดสินในวันนี้เป็นการตัดสินโดยอ้างอิงกับประเด็นในเชิงกระบวนการวิธีพิจารณาเพียงอย่างเดียวซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศออสเตรเลียเลือกที่จะใช้แก้ต่างแทนที่จะต่อสู้ในเนื้อหาแห่งคดีว่าการบังคับใช้มาตรการซองแบบเรียบนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือว่ามาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่"

PMAL ได้ยื่นคำร้องภายใต้ข้อตกลง IPPA เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 หลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียได้บังคับใช้กฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบ โดย PMAL ยืนยันว่าการห้ามใช้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดนั้นเป็นการละเมิดข้อตกลงในการคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศที่รัฐบาลออสเตรเลียได้รับรองไว้กับฮ่องกงภายใต้ความตกลง IPPA

นายมาร์ค ไฟร์สโตนกล่าวต่อว่า"กรณีนี้มิใช่ประเด็นว่ารัฐบาลมีอำนาจโดยชอบธรรมในการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือไม่ และก็มิใช่ประเด็นคำถามว่าควรมีการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบอย่างเข้มงวดหรือไม่แต่อย่างใด บริษัทเห็นว่าประเด็นที่แท้จริงอยู่ที่ว่า แม้ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายในการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ รัฐบาลยังคงมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบหากเลือกที่จะใช้วิธีการอันมิชอบด้วยกฎหมาย นี่คือหัวใจของหลักนิติธรรม"

นโยบายซองบุหรี่แบบเรียบของรัฐบาลออสเตรเลียยังคงเป็นประเด็นข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ ขณะนี้องค์การการค้าโลก (WTO) อยู่ในระหว่างพิจารณาคำร้องของประเทศสมาชิกสี่ประเทศที่มีต่อกฎหมายของออสเตรเลียดังกล่าว นอกจากนี้ หลายศาลในยุโรปก็กำลังพิจารณาการใช้มาตรการซองแบบเรียบภายใต้กฎหมายของประเทศของตนและกรอบกฎหมายระหว่างประเทศอยู่ คำตัดสินเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ภายใต้ข้อตกลง IPPA ระหว่างประเทศออสเตรเลียกับฮ่องกงนั้น ไม่มีผลใดๆ ต่อกระบวนการทางกฎหมายเหล่านั้น

อดีตรัฐบาลพรรคแรงงานของออสเตรเลียได้เคยให้คำมั่นสัญญาอย่างแข็งขันถึงผลประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาชนที่จะได้จากกฎหมายสุดโต่งที่ลิดรอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นเพียงการทดลองเชิงนโยบาย อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการทดลองนโยบายดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาสามปี ข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่างๆ ได้ชี้ให้เห็นว่าคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้นั้นไม่ได้บรรลุวัตถุประสงค์แต่อย่างใด

ขณะนี้ PMAL กำลังพิจารณาคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการในรายละเอียดและจะพิจารณาการดำเนินการในขั้นต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ