เตือนระวังภัยหนาว …จากพิษภัยแมลงก้นกระดก

พฤหัส ๐๗ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๑:๑๘

นายกสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย

ในช่วงฤดูฝน ต้นฤดูหนาวในแต่ละปี แมลงก้นกระดก หรือที่เรียกว่า "ด้วงก้นกระดก" จะพบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะตามพื้นที่ป่าเขา ตามบ้านเรือนทั่วไป แมลงชนิดนี้ เมื่อโดนแล้วจะมีอาการปวดแสบ ปวดร้อนและมีผื่นแดงตามผิวหนัง จนมีข่าวแพร่ไปในสังคม online ว่าเป็นแมลงอันตรายเป็นพิษ กัดทำให้ตาบอด เสียชีวิตได้ ซึ่งความจริงแล้ว ผื่นที่เกิดจากแมลงชนิดนี้ ไม่ได้เกิดจากการที่มันกัดหรือต่อย แต่เกิดจากการที่ไปโดนแล้วบี้ทำให้สารเคมีในตัวที่ชื่อว่าpaederin ทำให้ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสไหม้มักแป็นรอยแปลก ๆ ตามที่มือไปสัมผัส อาจเป็นเส้นเป็นทางทำให้คิดว่าเป็นงูสวัดหรือเริม บางครั้งพบลักษณะเฉพาะของโรคนี้ คือ kissing lesion คือถ้าเป็นที่ข้อพับจะเกิดผื่นที่เหมือนกันในด้านตรงข้าม ส่วนใหญ่มักโดนเวลากลางคืน แต่จะไม่เกิดอาการ มารู้ตัวก็มีผื่นแดงแล้ว จึงเกิดอาการทำให้มือที่สัมผัสไปโดนบริเวณอื่นแล้วทำให้เกิดอาการหลายตำแหน่งได้

ทางสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยจึงขอฝากเตือนประชาชนทั่วไปว่าให้ระมัดระวังจากแมลงชนิดนี้ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่นิยมเที่ยวป่าเขา หรือพักตามรีสอร์ท กางเต้นท์นอน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โรคผิวหนังอักเสบจากแมลงก้นกระดก ชนิดนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่ ซึ่งมีการค้นพบในประเทศไทยหลายสิบปีแล้ว แต่ก่อนนี้มักพบบ่อยตามชานเมืองที่มีหนองน้ำ แต่ปัจจุบันพบบ่อยขึ้นทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯและในทุกฤดูกาล ส่วนต่างประเทศมีรายงานการระบาด เช่น ไต้หวัน อินเดีย อาฟริกา แต่ยังไม่เคยมีการรายงานว่าถึงแก่ชีวิต

มารู้จักแมลงชนิดนี้กันดีกว่า

แมลงก้นกระดก หรือ ด้วงก้นกระดก หรือ แมลงเฟรชชี่ (มักจะเจอช่วงเปิดเทอมใหม่ๆ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Paederus Fucipes เป็นแมลงขนาดเล็ก ประมาณ 7-8 มม. ส่วนหัวมีสีดำ ปีกน้ำเงินเข้มขนาดเล็ก และส่วนท้องมีสีส้ม ชอบงอส่วนท้ายกระดกขึ้นลง ทำให้ได้ชื่อว่าแมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบเฉพาะในเขตร้อนชื้น โดยมากอาศัยบริเวณพงหญ้าที่มีความชื้น ใกล้หนองน้ำ ชอบออกมาเล่นไฟและแสงสว่างตามบ้านเรือน ทำให้พบว่ามันจะลอดมุ้งลวดเข้ามาได้

สำหรับการป้องกันเมื่อโดนแมลงหรือเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือใช้แอมโมเนียทาบริเวณที่โดนแมลงจะลดอาการแสบร้อนได้ ถ้าผื่นเป็นน้อย ๆ จะหายไปเองได้ แต่ถ้ามีการติดเชื้อแทรกซ้อนต้องให้ยาปฎิชีวนะทาหรือรับประทานด้วย การป้องกันถ้ามีแมลงมาเกาะพยายามอย่าตบ บดขยี้บนลงผิวหนังให้ปัดออกหรือกำจัดโดยวิธีอื่น หรือถ้าจะจับออกให้ใช้เทปกาวติดตัวแมลงออกมา แมลงชนิดนี้ชอบไฟในเวลากลางคืน ดังนั้นไม่ควรเปิดไฟแรงสูงทิ้งไว้เพราะแสงไฟจะล่อแมลงเข้ามา จากการทดลองพบว่าแมลงจะชอบเข้ามาถ้าใช้แสงไฟนีออนหรือหลอดไฟที่มีแรงเทียนสูงกว่า 40 วัตต์ ดังนั้นประตูหน้าต่างควรบุด้วยมุ้งลวดที่มีความถี่มาก ๆ เพื่อให้แมลงเข้ามาไม่ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าโดนแมลงหรือไม่ แต่แสบ ๆ ร้อน ๆ ให้ ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่รู้สึกแสบด้วยน้ำเปล่า หมั่นทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน บ้านมองหาตามผนังและเพดานใกล้หลอดไฟ ก่อนใส่เสื้อผ้าควรสะบัดให้แน่ใจว่าไม่มีแมลงติดอยู่ อย่าเปิดไฟนอน และควรปิดประตูหรือหน้าต่างให้ดีก่อนที่จะเข้านอน

จะเห็นว่าแมลงชนิดนี้ไม่ได้อันตราย กัดต่อยแล้วถึงกับชีวิต แต่ สามารทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ ดังนั้นควรป้องกันไว้ก่อนจะดีที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ