ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีพ.ศ.2558 และคาดการณ์ปีพ.ศ.2559

ศุกร์ ๐๘ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๐:๔๐
นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) สรุปภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2558 ว่า สำหรับเศรษฐกิจของประเทศอาจจะพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักทำให้ทันทีที่การส่งออกลดลงหรือว่าไม่เป็นไปตามเป้าหมายทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลพยายามแก้ไขแต่ว่าอาจจะทำได้ยากเพราะว่าเป็นปัจจัยภายนอก แต่หลังจากที่มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทั้งการเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งการประกาศมาตรการลดหย่อนค่าโอน และค่าจดจำนองเพื่อช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ และการเร่งโครงการที่มีส่วนช่วยดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศต่างๆ ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การปรับรูปแบบของสิทธิประโยชน์ในการลงทุนต่างๆ ให้สอดคล้อง และเอื้อประโยชน์ให้กับประเทศในระยะยาว ซึ่งโครงการต่างๆ เหล่านี้จะเห็นได้ในระยะสั้น และยาวหลังจากนี้ไป แต่โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าจะมีส่วนทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเงินลงทุนจากรัฐบาลจะเกิดการหมุนเวียนในระบบมากขึ้น อีกทั้งทำให้เกิดพัฒนาจากภาคเอกชนตามมาในแนวเส้นทางของโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ทั้งโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร และเส้นทางรถไฟต่างๆ ทั่วประเทศ อีกทั้งยังช่วงสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนภายในประเทศว่ารัฐบาลยังคงเดินหน้าลงทุนพัฒนาประเทศต่อไป

นายสุรเชษฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอีกภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่มีความสำคัญไม่ใช่น้อย เพราะว่าเกี่ยวข้องกับอีกหลายภาคธุรกิจ และใช้แรงงานเป็นจำนวนมากรัฐบาลที่ผ่านมาทุกรัฐบาลจึงพยายามประคับประคองให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์เดินหน้าต่อไปได้ จึงเห็นมาตราการช่วยเหลือตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ออกมาแทบจะทุกรัฐบาล แม้ว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่อาจจะลดความร้อนแรงลงไปตลอดปี แต่ยังคงตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเภทอื่นๆ ที่มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องทั้งในแง่ของอุปทาน และความต้องการเพียงแต่อาจจะไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากนักเมื่อเทียบกับคอนโดมิเนียม ตลาดอาคารสำนักงาน และพื้นที่ค้าปลีกเป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงมีโครงการใหม่ๆ เปิดให้บริการ และความต้องการเช่าพื้นที่เองก็มีอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยตลาดอาคารสำนักงานในปีพ.ศ.2558 มีอาคารสำนักงานสร้างเสร็จใหม่ประมาณ 96,450 ตารางเมตรน้อยกว่าปีก่อนหน้านี้ไม่มากนัก แต่ว่าในปีพ.ศ.2559 คาดว่าจะมีอาคารสำนักงานสร้างเสร็จมากกว่า 193,000 ตารางเมตร ในขณะที่พื้นที่อาคารสำนักงานที่มีการเช่าใหม่ในช่วงไตรมาสที่ 1 – 3 ที่ผ่านมาก็มีมากกว่า 140,000 ตารางเมตรและคาดว่าจะเกิน 160,000 ตารางเมตรถ้ารวมทั้ง 4 ไตรมาสแม้จะน้อยกว่า 1 – 2 ปีก่อนหน้านี้ตามภาวะเศรษฐกิจ และการเมืองแต่ก็ยังมากกว่าพื้นที่อาคารสำนักงานสร้างเสร็จใหม่ของปีพ.ศ.2558 และคาดว่าในปีพ.ศ.2559 จะยังคงความร้อนแรงต่อเนื่องในแง่ของความต้องการพื้นที่สำนักงานจากทั้งบริษัทในประเทศไทย และบริษัทต่างชาติโดยในปีพ.ศ.2559 คาดว่าจะมีพื้นที่อาคารสำนักงานเช่าใหม่ประมาณ 200,000 ตารางเมตร โดยปัจจุบันอัตราการเช่าของอาคารสำนักงานเกรด A ในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ (CBD) สูงกว่า 91% ไปแล้วส่งผลให้ค่าเช่าปรับเพิ่มขึ้นไปมากกว่า 900 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือนสำหรับอาคารสำนักงานเกรด A ในพื้นที่ศูนย์กลางเขตธุรกิจ (CBD) และค่าเช่าเฉลี่ยของอาคารเกรด A ในปีพ.ศ.2559 ของเขต CBD จะมากกว่า 1,000 บาทต่อตารางเมตรหลังจากที่หลายอาคารเกรด A ปรับค่าเช่าขึ้นไปเกิน 1,000 บาทต่อตารางเมตรแล้ว"

" สำหรับตลาดพื้นที่ค้าปลีกมีโครงการศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์เปิดให้บริการใหม่หลายโครงการในปีพ.ศ.2558 รวมพื้นที่แล้วมากกว่า 491,925 ตารางเมตรและอีกเกือบ 220,000 ตารางเมตรที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2559 โดยพื้นที่ค้าปลีกส่วนใหญ่ที่เปิดให้บริการในปีพ.ศ.2558 จะเป็นพื้นที่ของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ของกลุ่มเซ็นทรัลที่เปิดให้บริการ 2 โครงการในปีนี้ และมีคอมมูนิตี้มอลล์อีกหลายโครงการที่เปิดให้บริการ ในขณะที่พื้นที่โครงการค้าปลีกส่วนใหญ่ที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2559 จะเป็นโครงการคอมมูนิตี้มอลล์ เพราะว่าโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่มีกำหนดเปิดให้บริการในปีพ.ศ.2560 หลายโครงการ อัตราการเช่าของพื้นที่ค้าปลีกก็ค่อนข้างสูงเช่นกันคือเกือบ 100% ตั้งแต่ก่อนเปิดให้บริการ อาจจะมีแต่โครงการคอมมูนิตี้มอลล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอบนอกเท่านั้นที่มีอัตราการเช่าไม่มากหรืออาจจะลดลง เนื่องจากเจ้าของโครงการขาดประสบการณ์ในการทำงานด้านค้าปลีกทำให้โครงการประสบความสำเร็จแค่ช่วงสั้นๆ จากนั้นก็ลดความนิยมลงไปทำให้ผู้เช่าทยอยปิดร้านไป ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในประเทศไทยเป็นที่สนใจจากทั้งร้านค้า หรือแบรนด์ไทย และต่างประเทศค่อนข้างมาก เพราะผู้เช่ารายใหม่ๆ เหล่านี้ต้องการขยายตลาดของตนให้ครอบคลุมกำลังซื้อทั่วประเทศโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ เมืองท่องเที่ยว รวมทั้งมีผู้ประกอบการโครงการค้าปลีกต่างประเทศต้องการเปิดโครงการศูนย์การค้าในประเทศ แต่อาจจะกังวลเรื่องของการแข่งขันกับผู้เล่นหลักในตลาดของประเทศไทยที่มีความแข็งแกร่ง และขยายตลาดต่อเนื่องเช่นกัน" นายสุรเชษฐกล่าวเพิ่มเติม

ตลาดที่อยู่อาศัยอาจจะไม่ร้อนแรงเทียบเท่ากับ 2 – 3 ปีก่อนหน้านี้โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมที่มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในกรุงเทพมหานครในปีพ.ศ.2558 ประมาณ 37,180 ยูนิตเท่านั้นน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 25% อัตราการขายของโครงการเปิดขายใหม่เหล่านี้ก็ไม่ได้มากมายเช่นกันคืออยู่ที่ประมาณ 60% แต่ที่น่าสนใจคือมีโครงการที่มีราคามากกว่า 200,000 บาทต่อตารางเมตรขึ้นไปเปิดขายมากขึ้นคือมีสัดส่วนมากกว่า 11% ของจำนวนยูนิตที่เปิดขายทั้งหมดในปีพ.ศ.2558 แต่ว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ซื้อทั้งชาวไทย และต่างประเทศมีอัตราการขายประมาณ 74% สูงกว่าโครงการราคาขายต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรค่อนข้างมาก แต่ผู้ประกอบการยังคงรักษาสัดส่วนของโครงการระดับราคาต่ำกว่า 100,000 บาทต่อตารางเมตรเพราะเป็นตลาดที่มีกลุ่มผู้ซื้อใหญ่ที่สุด ดังนั้น สัดส่วนของคอนโดมิเนียมราคานี้จึงสูงกว่า 61% ของจำนวนยูนิตทั้งหมดที่เปิดขายในปีพ.ศ.2558 แม้ว่ากลุ่มนี้อาจจะมีบางส่วนที่ติดปัญหาในเรื่องของการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนหน้านี้ก็ตาม ผู้ประกอบการหลายรายพยายามหาทางขยายตลาดผู้ซื้อที่มีกำลังซื้อสูงมากขึ้นโดยการเปิดขายโครงการบ้านจัดสรรที่มีราคาขายมากกว่า 20 ล้านบาทต่อยูนิตมากขึ้นโดยเฉพาะในทำเลที่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฟ้าบนถนสุขุมวิท รัชดาภิเษก พระรามที่ 3 ซึ่งหลายโครงการขายหมด หรือมีอัตราการขายสูงในเวลาไม่นาน แม้ว่าบางโครงการจะเริ่มที่ราคาขายมากกว่า 35 ล้านบาทต่อยูนิตก็ตาม

"สำหรับภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปีพ.ศ.2559 คาดว่าจะยังคงไม่ได้แตกต่างจากปีพ.ศ.2558 มากนักคือมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในจำนวนใกล้เคียงหรือมากกว่าไม่มากนักเมื่อเทียบกับปีพ.ศ.2558 ขึ้นอยู่กับภาะเศรษฐกิจ แต่อัตราการขายอาจจะดีขึ้นตามความเชื่อมั่นของคนในประเทศที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นมาตลอดช่วง 1 – 3 เดือนก่อนสิ้นปีพ.ศ.2558 และคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องต่อไปในปีพ.ศ.2559 แต่ผู้ประกอบการอาจจะขอรอดูสถานการณ์ของกำลังซื้อในช่วงครึ่งแรกของปีพ.ศ.2559 ก่อนจึงพิจารณาถึงการลงทุนในช่วงที่เหลือของปีต่อไปจึงอาจทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมในปีพ.ศ.2559 ไม่ได้ดีกว่าปีพ.ศ.2558 มากนัก แต่ปัจจัยที่สำคัญที่อาจจะทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศรวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ดีขึ้นคือการลงทุนโครงการต่างๆ ของรัฐบาลซึ่งจะทำให้เงินลงทุนกระจายออกไปสู่ส่วนต่างๆ และสร้างรายได้ให้กับคนจำนวนมากซึ่งจะกลับมาสู่ภาคธุรกิจต่างๆ อีกต่อหนึ่ง ผู้ประกอบการรายใหญ่ยังคงเป็นตัวขับเคลื่อตลาดที่อยู่อาศัย โครงการบ้านจัดสรรอาจจะมีจำนวนโครงการใหม่เปิดขายมากขึ้นเพราะเป็นตลาดของผู้ที่ต้องการซื้อเองมากกว่า และปิดการขายได้เร็วกว่า อีกทั้งใช้เวลาในการก่อสร้างไม่นานทำให้ผู้ประกอบการรับรู้รายได้เร็ว ตลาดที่อยู่อาศัยต่างจังหวัดยังคงต้องอาศัยกำลังซื้อของคนในพื้นที่เป็นหลัก เช่น ในจังหวัดใหญ่ หรือว่าหัวเมืองรองที่ตลาดบ้านจัดสรรมีแนวโน้มที่ดีกว่าคอนโดมิเนียมค่อนข้างมาก แต่อัตราการขายก็ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจ และราคาสินค้าเกษตร ยกเว้นเมืองท่องเที่ยวชายทะเลที่ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครที่ยังคงขายได้ต่อเนื่องแต่อัตราการขายอาจจะไม่สูงมากนักเหมือนเมื่อ 1 – 2 ปีก่อนหน้านี้ เรียกได้ว่าปีหน้าเป็นปีของที่อยู่อาศัยแนวราบโดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์ที่เป็นเสมือนตัวนำในปีพ.ศ.2559 ของผู้ประกอบการหลายรายทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด" นายสุรเชษฐกล่าวสรุป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ คปภ. เปิดตัวคู่มือการทำประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) และการประกันอัคคีภัย แนะแนวทางการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยอย่างเหมาะสม
๑๖:๒๖ SiteMinder เผย โรงแรมไทยเติบโต ก้าวเป็นผู้นำตลาด หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติหลั่งไหลเข้าประเทศ
๑๗:๕๙ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ณ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง พลับพลาไชย กรุงเทพฯ
๑๖:๐๐ fintips by ttb เผยเคล็ดลับ รถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับเราที่สุด
๑๖:๐๐ มาแล้ว! เปิดตัว Samsung Galaxy S25 ซีรีส์ใหม่ล่าสุด มาพร้อม Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่ของคนไทย ตอบโจทย์รู้ใจทุกความต้องการเฉพาะคน
๑๖:๐๐ กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
๑๖:๐๐ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนยิ่งใหญ่ Chinese Market 2025 ช้อปสินค้ามงคล เสริมดวงโชคดีมั่งมี
๑๖:๐๐ SNPS ต้อนรับ คณะผู้บริหารและนักวิจัยสภากาชาดไทย
๑๕:๒๔ BEST Supply Chain ยกระดับจัดการคลังสินค้ายุคใหม่ ชู BEST Fulfillment เพิ่มประสิทธิภาพจัดการสินค้า จบครบในที่เดียว
๑๕:๐๐ เด็กซ์ซอนผนึกกำลังภาคีเครือข่าย TCCA ตอกย้ำความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืน มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero