ปปง.ล้ำ…เตรียมใช้ แซส (SAS) “ตาข่ายไอทีอัจฉริยะดักจับข้อมูลฟอกเงิน”เทคโนโลยีวิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงินระดับโลก

จันทร์ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๒:๓๙
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) แถลงข่าวความร่วมมือกับบริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ในการนำเทคโนโลยีระดับโลก แซส (SAS) มาวิเคราะห์ธุรกรรมทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการทำงานด้านการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน และคาดหวังว่า หาก ปปง. นำ แซส (SAS) มาใช้ จะช่วยเพิ่มปริมาณข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ธุรกรรมได้ในอนาคต

พันตำรวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ปปง.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ปัญหาการฟอกเงินถือเป็นปัญหาที่มีความสำคัญที่กระทบต่อสังคมและประเทศชาติ และยังมีการกระทำความผิดในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

สำนักงาน ปปง. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นองค์กรหลักในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มีประสิทธิภาพเพื่อมุ่งสู่มาตรฐานสากล มีอำนาจหน้าที่ในการวางหลักเกณฑ์ และดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รวมทั้งเป็นหน่วยงานตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน จึงร่วมมือกับบริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด นำเทคโนโลยีที่เรียกว่า แซส (SAS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เปรียบได้กับ "สมองกล" เพื่อเป็น "ตาข่ายไอทีอัจฉริยะ" ในการดักจับธุรกรรมทางการเงินและสรุปธุรกรรมต้องสงสัยได้อย่างถูกต้อง มาสนับสนุนการทำงานของ ปปง. ด้านการวิเคราะห์ธุรกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และคาดว่าหากมีการนำเทคโนโลยี แซส (SAS) มาใช้ จะช่วยเพิ่มปริมาณข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ธุรกรรมได้ ในอนาคต

สำหรับเทคโนโลยี แซส (SAS) เป็นเทคโนโลยีระดับโลกซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานทางด้านการเงินที่ใช้บริการทั่วโลกให้การรับรอง อาทิ เช่น ธนาคารกลางนิวยอร์ก, สำนักงานควบคุมเงินตรา (OCC), เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางการเงิน ( FINCEN) และสำนักงานบริหารทางการเงิน สหราชอาณาจักร (FSA) เป็นต้น

นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่าเทคโนโลยี SAS ได้รับการยอมรับและรับรองจากหน่วยงานทางการเงินในประเทศสหรัฐฯ อาทิ ธนาคารกลาง นิวยอร์ก: มีการใช้โซลูชั่นของ SAS ในการตรวจสอบกิจกรรมต่างๆ ของธนาคารกลาง 250 แห่ง ที่มีการเคลื่อนย้ายเงินผ่านระบบธนาคารกลางของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ใช้เทคโนโลยี SAS ขนาดใหญ่ที่วิเคราะห์ข้อมูลตลาดและสภาพคล่องของสถาบันต่างๆที่ได้รับการควบคุม

สำนักงานควบคุมเงินตรา (OCC): มีการใช้เทคโนโลยีสถิติของ SAS เพื่อตรวจสอบการทดสอบสภาพคล่องการทำงานและความเสี่ยงของธนาคารที่ได้รับการควบคุม, เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางการเงิน(FinCEN): มีการใช้เทคโนโลยี SAS ในการขุดคุ้ยข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Bank Secrecy Act และจัดการคำร้องขอข้อมูลขององค์การระหว่างประเทศกว่า 150 แห่ง ที่มีข้อตกลงกับ FINCEN เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูล BSAทั้งหมดและเอกสารการในคดีทุจริต SAR ในสหรัฐฯ, สำนักงานบริการทางการเงิน สหราชอาณาจักร: ใช้เทคโนโลยี SAS ในการจัดการ ค้นหา และเชื่อมต่อข้อมูลที่มีการเปิดเผยทั้งหมดจากองค์กรที่ได้รับการควบคุมจาก สหราชอาณาจักร และบริหารจัดการกับกระบวนการฟ้องร้องตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งนี้สถิติการฟอกเงินในสหรัฐอเมริกามีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านดอลล่าร์ ต่อปี (300 Billion Dollar)

บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมที่ให้ลูกค้าในรูปของ Integrated Framework และเทคโนโลยีสำหรับการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการเข้าถึงข้อมูลช่วยให้ลูกค้าของแซส ที่มีมากกว่า 75,000 แห่งทั่วโลก สามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้ดี และรวดเร็วยิ่งขึ้น และนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา แซส เดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการเป็น "พลังแห่งการรอบรู้" หรือ The Power to Know® สำหรับลูกค้าทั่วโลก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ