กกร.ร่วมเอกชนแจงการดำเนินการภาคเอกชนในการแก้ปัญหา

จันทร์ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๔:๑๐
คณะกรรมการร่วมเอกชน (กกร) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ร่วมกับสมาพันธ์ผู้ผลิตสินค้าประมงไทย 8 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย

สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย สมาคมการประมงนอกน่านไทย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ซึ่งสมาชิกแต่ละสมาคมเป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) และปัญหาการค้ามนุษย์ในแรงงานการประมง่ ตลอดห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโดยผู้ผลิตและส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดดังกล่าว มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มาตรฐานสากลทั้งด้านการทำประมงและการผลิตสินค้าประมงในห่วงโซ่อย่างถูกต้อง ยั่งยืน และปราศจากการใช้แรงงานเด็ก การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการเอาเปรียบแรงงาน

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ในฐานะประธานคณะกรรมการ กกร. กล่าวว่า ปัญหาของธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศไทย สะสมมาเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะการใช้แรงงานอย่างผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ส่งผลให้สหรัฐฯ ประกาศให้ประเทศไทยอยู่ใน Tier 3 และสหภาพยุโรปให้ใบเหลือง (IUU Fishing) ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเลสด แปรรูป รวมทั้งห่วงโซ่การผลิตของหลาย ๆ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา ภาคเอกชนได้บูรณาการเชิงรุกร่วมกับรัฐบาล สบับสนุน และปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลมาตลอด โดยมุ่งมั่นให้ประเทศไทยมีทรัพยากรทางทะเลที่มั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทยต่อนานาประเทศ

ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในนามของภาคเอกชนทุกภาคส่วนดังกล่าว ขอยืนยันในการให้ความร่วมมือสนับสนุนนโยบาย การดำเนินกิจกรรมทุกอย่างของรัฐบาล โดยแต่ละสมาคมการค้า ได้ดำเนินการแก้ไขให้สอดคล้องกับนโยบายที่รัฐกำหนด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ พัฒนาระบบ สร้างความยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นว่า ปัญหา IUU Fishing จะต้องหมดไปโดยเร็วที่สุดทันที เพื่อความสมบูรณ์มั่งคั่งทางทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศไทย และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล

โลก รวมทั้งไม่มีความเสี่ยงของวัตถุดิบที่มาจากการทำประมง IUU เข้ามาปะปนในห่วงโซ่การผลิตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการประมง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ (traceability) ไม่มีแรงงานเด็ก การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการเอาเปรียบแรงงาน โดยแต่ละองค์กรได้ดำเนินการ ดังนี้

1. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ประกาศนโยบายและขับเคลื่อนสนับสนุนสมาคมการค้าที่เป็นสมาชิกให้ดำเนินการทุกอย่างให้ถูกต้องตามกฎหมาย นโยบาย และคำสั่งปฏิบัติของรัฐบาล

2. แต่ละสมาคมได้ประกาศจุดยืนและนโยบายให้สมาชิกดำเนินธุรกรรมให้ถูกต้องตาม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และไม่ซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำจากเรือ หรือแหล่งที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีการปนเปื้อน IUU Fishing หรือมีปัญหาด้านแรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน หากพบมีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง จะขับออกจากการเป็นสมาชิกทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกรรมในการส่งออกได้

3. ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization : ILO) และกระทรวงแรงงานในการจัดทำและให้ความรู้เรื่องแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านแรงงาน (Good Labor Practices) ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน

4. ร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ (NGO) ในการให้ความรู้กับสมาชิก และแรงงานในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรม อาทิ ด้านการศึกษา สร้างโรงเรียน การว่าจ้างครู และการจัดอบรมสัมมนา เป็นต้น

5. ร่วมมืออย่างเต็มที่กับหน่วยงานภาครัฐในการออกมาตรการและการจัดทำเอกสารควบคุมการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ของสินค้าทุกประเภท โดยภาคการเลี้ยงจะต้องมีหนังสือรับรองการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำ (Movement Document: MD) และภาคการจับจากธรรมชาติ จะต้องมีหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marine Catch Purchasing Document: MCPD) รวมทั้ง การนำเข้าและส่งออกสินค้าประมงทุกประเภทจะต้องมีเอกสารกำกับที่สามารถตรวจสอบได้

6. สนับสนุนรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา IUU Fishing ตามหลักการสากล UNCLOS 1982 และ FAO Code of Conduct for Responsible Fisheries

7. สนับสนุนพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และแผนการบริหารจัดการประมงทะเล

ของประเทศไทย / นโยบายแห่งชาติด้านการจัดการประมงทะเล พ.ศ.2558

8. แต่ละสมาคมได้ดำเนินการสำรวจและแก้ไขจุดอ่อน รวมถึงปัญหาของสินค้าตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าทั้งหมดที่ผลิตออกมาจะต้องไม่มีปัญหาการปฏิบัติที่ผิดจากพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 / IUU Fishing / พระราชบัญญัติแรงงาน อาทิ สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย และสมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย ได้ยกเลิกการใช้สถานแปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นจากภายนอกโรงงานแล้ว เป็นต้น

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ สรุปว่า ภาคเอกชนทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมนี้ ขอยืนยันและได้ตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าวและให้คำมั่นในความร่วมมือที่จะสนับสนุนกับนโยบายของรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหา IUU Fishing และปัญหาแรงงานโดยปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหมายระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล หลักเกณฑ์ จริยธรรม เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีของสินค้าไทย ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยมีความยั่งยืนต่อไป และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลให้ประเทศไทยเป็นประเทศ "ครัวไทยสู่ครัวโลก"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version