บลจ.เมย์แบงก์ชูกลยุทธ์ลงทุนปี 59 พลิกวิกฤติเป็นโอกาส เปิดกองทุนเมย์แบงก์ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ สร้างทางเลือกใหม่ให้ผลตอบแทนที่ดีแก่นักลงทุนไทย

จันทร์ ๑๘ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๔:๒๖
บลจ.เมย์แบงก์ ประเมินตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกครึ่งปีแรก 59 ยังผันผวนต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง หลังเศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรง ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ แนวโน้มสงครามในตะวันออกกลางและวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังพัฒนารอวันปะทุ แนะนักลงทุนประเมินความเสี่ยงก่อนลงทุนเพื่อพลิกวิกฤติเป็นโอกาสหาผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน พร้อมเปิดตัวกองทุนเปิด 'เมย์แบงก์ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ' มูลค่าขนาดกองทุน 1,000 ล้านบาท เน้นลงทุนในตลาดทุนทั่วโลก เจาะกลุ่มบริษัทที่มีนวัตกรรมและการเติบโตสูง เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักลงทุนที่ต้องการแสวงหาผลตอบแทนในอัตราที่ดีและสามารถรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง คาดโอกาสผลตอบแทน 2 หลักในระยะยาว

ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดเงินตลาดทุนในครึ่งปีแรก 2559 ยังมีความผันผวนต่อเนื่องจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงซบเซาจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจของประเทศจีน ที่อยู่ในช่วงชะลอตัวลงทำให้ต้องประกาศลดค่าเงินหยวน ปัจจัยด้านภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ตกต่ำ ความเสี่ยงด้านความขัดแย้งในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ที่มีแนวโน้มเกิดสงครามและวิกฤติเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยกดดันต่อตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกมีความผันผวนรุนแรงมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ จากการประเมินตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกในรอบปีที่ผ่านมานั้นพบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนในหุ้นทั่วโลกปรับลดลง 4.3% เช่น ผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์ S&P 500 ของสหรัฐ มีผลตอบแทนลดลง 0.7% ตลาดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ลดลง 17% ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลง 14% มีเพียงตลาดหลักทรัพย์ของยุโรปและญี่ปุ่น ที่มีผลตอบแทนเป็นบวกที่ 7.7% และ 8.1% ตามลำดับ ส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลและความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน

"ปีนี้ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังซบเซาต่อเนื่องจากปัจจัยการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่และเป็นแรงกดดันสำคัญต่อความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น นักลงทุนจะต้องระมัดระวังและศึกษาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกกองทุนเปิดที่มีนโยบายการลงทุนที่ดีเลือกหุ้นที่เหมาะสมและลดความเสี่ยงจากภาวะขาดทุนจากการลงทุนในระยะยาว" ดร.ตรีพล กล่าว

นายสุทิน แซ่โง้ว ผู้จัดการกองทุน ด้านตราสารทุน บลจ.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปี 2558 นอกจากเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงและแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติที่มีออกมาอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มอุตสาหกรรมหลักหลายเรื่องด้วยกัน อันได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงรุนแรงต่อเนื่องจากปี 2558 ถึง 30% การประมูลคลื่น 1800 และ คลื่น 900 เมกะเฮิร์ซ ที่ราคาสูงกว่าที่คาดการณ์มาก สร้างความกังวลเกี่ยวกับภาวะการแข่งขันในอนาคต รวมถึงปัญหาหนี้เสียของภาคธนาคารที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรง โดยเฉพาะหุ้นขนาดใหญ่ ขณะที่หุ้นขนาดกลาง ขนาดเล็ก ที่มีการเติบโตของผลประกอบการชัดเจนและไม่ได้อ้างอิงกับภาวะเศรษฐกิจสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ลงทุนที่ดีกว่า

สำหรับปี 2559 นั้น บลจ. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะปรับตัวดีขึ้น หากภาครัฐบาลสามารถขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ตามแผนงานได้ โดยมองการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีความมั่นใจที่จะบริโภคและลงทุน ขณะที่นโยบายระยะสั้นเชื่อว่าจะมีทยอยออกมาตรการมาเพิ่มเติมจะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไม่ให้สะดุด

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยก็ยังมีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจหลายด้านที่ไม่อาจมองข้ามได้ เช่น หนี้สินภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รายได้ภาคเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำหรือปัจจัยภายนอกอย่างเศรษฐกิจจีนโดยหากเกิดการถดถอยรุนแรง ก็ย่อมจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยรวมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่อาจชะลอตัวลง ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวจีนเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ที่สุดที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

บลจ.เมย์แบก์ (ประเทศไทย) คาดว่าปี 59 ตลาดหุ้นไทยน่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกให้กับผู้ลงทุนได้ โดยคาดการณ์ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (SET Index) ที่ 1,400-1,450 จุด อ้างอิงระดับ P/E ประมาณ 14 เท่า ภายใต้สมมติฐานข้างต้น โดยอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีผลการดำเนินงานที่ดี ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มการแพทย์และกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รับเหมาก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ขนส่งและโลจิสติกส์ โดยความเสี่ยงที่สำคัญของตลาดหุ้นไทยคือเศรษฐกิจจีนมีการชะลอตัวรุนแรง ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวลงอีก หรือ สหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด จะส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีโอกาสปรับลงต่ำกว่า 1,200 จุดได้

สำหรับ บลจ. เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) มีแนวทางในการบริหารกองทุนหุ้นไทย โดยเน้นลงทุนในหุ้นเป็นรายตัว ศึกษาบริษัทจดทะเบียนในเชิงลึกเพื่อเข้าใจโมเดลในการทำธุรกิจและประเมินโอกาสการเติบโตในอนาคต โดยเชื่อว่าบริษัทที่มีความสามารถสร้างกำไรให้เติบโตได้อย่างสม่ำเสมอ และราคาเหมาะสมกับอัตราการเติบโตดังกล่าว จะสร้างผลตอบแทนการลงทุนที่ดีให้กับผู้ลงทุนในระยะยาวได้

ด้านนายกิติวัจน์ อักรังษี ผู้จัดการกองทุน ด้านการจัดสรรการลงทุน บลจ.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า แม้ภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2558 จะซบเซาและมีผลกระทบต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกลดลง ซึ่งส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดทุนลดลงนั้น แต่สำหรับกองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลกในรูปแบบการลงทุนระยะยาวในบริษัทที่เน้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก เช่น กลุ่มนวัตกรรม ทางการแพทย์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ปฏิวัติเทคโนโลยีและปฏิวัติรูปแบบการใช้ชีวิตและกลุ่มค้าปลีกออนไลน์ สามารถเอาชนะความเสี่ยงจากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกและความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุน โดยกองทุนดังกล่าว ในรอบปี 2558 สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 19.8% สะท้อนให้เห็นว่าแม้เศรษฐกิจโลกจะซบเซาแต่ก็มีบริษัทที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี ที่กองทุนดังกล่าวไปลงทุนเพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนได้เสมอ

ทั้งนี้ บลจ.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จึงเปิดตัวกองทุนเปิด 'เมย์แบงก์ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ' หรือ M-UGG ระหว่างวันที่ 18 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2559 ขนาดมูลค่ากองทุน 1,000 ล้านบาท ราคาเสนอขาย 10.00 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมค่าธรรมเนียม Front – ended) กำหนดมูลค่าซื้อขายขั้นต่ำของการสั่งซื้อ 5,000 บาท โดยสามารถสั่งซื้อได้ผ่านบริษัทจัดการตัวแทนจำหน่าย เช่น บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง และตัวแทนที่บริษัทจัดการแต่งตั้ง

สำหรับกองทุนเปิด 'เมย์แบงก์ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ' เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ของ Baillie Gifford & Co. Limited ที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูง ที่กำหนดหุ้นในพอร์ตการลงทุน 30-60 บริษัทชั้นนำของโลกและมีสัดส่วนการถือครองหุ้นไม่เกิน 10% ต่อ 1 บริษัท เช่น บริษัท Tesla Motor ผู้ผลิตเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ให้ผลตอบแทนในปี 2558 เท่ากับ 7.9% บริษัท Amazon.com ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ชที่ขายและจัดส่งสินค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ที่มีผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ 117.8% เป็นต้น

นอกจากนี้ กองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักนั้น ยังได้รับการบริหารจัดการโดยทีมงานที่มีประสบการณ์กับการลงทุนกับ Baillie Gifford มากกว่า 10 ปี และยังเป็นหุ้นส่วนบริษัท Baillie Gifford อีกด้วย โดยนับตั้งแต่ปี 2548 จนถึง 7 มกราคม 2559 สามารถสร้างผลตอบแทนสะสมโดยรวมอยู่ที่ 171.10% หรือเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 10.90%

สำหรับกองทุนเปิด 'เมย์แบงก์ อัลติเมท โกลบอล โกรว์ธ' มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนเพื่อสร้างความยืดหยุ่นด้านบริหารการจัดการเงินกองทุนให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา โดยคาดว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวจะเป็นตัวเลข 2 หลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๓๔ ดรีมมี่ ร่วมด้วยช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำลด สมทบทุน-มอบสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้จำเป็น รวมมูลค่ากว่า 300,000
๐๕ พ.ย. กทม. เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง เข้มตรวจสอบความแข็งแรงอาคารและป้ายโฆษณา
๐๙:๓๗ EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานเดือนมกราคม-กันยายน 2567 ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก สร้างโลกเติบโตยั่งยืน
๐๙:๑๐ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น ร่วมออกบูธในงาน Pet Fair Southeast Asia 2024 นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง
๐๙:๒๗ มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป กระตุ้นความเร้าใจเต็มสูบ กับ BMW 220i Gran Coupe M Sport ฟรีชุดแต่ง M Performance มูลค่าเกือบ 100,000 บาท จัดให้ในราคาพิเศษ 1.99 ล้านบาท เฉพาะที่โชว์รูม BMW Millennium
๐๙:๓๖ CMC ตอกย้ำความสำเร็จส่งท้ายปี ในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46 ยอดจอง 145 ยูนิต มูลค่า 320 ล้านบาท
๐๙:๕๑ โพชงพลัส เครื่องดื่มสมุนไพร คว้ารางวัล BUSINESS PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2024
๐๙:๓๒ หุ้นกู้ RT ครั้งที่ 1/67 วันแรกกระแสตอบรับดี นักลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ จองซื้อคึกคัก
๐๙:๔๘ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เปิดปรากฏการณ์ช้อป 'GREEN RETAIL STORE' สาขาสระบุรี แห่งที่ 33 ชู 'Zero Energy Building'
๐๙:๔๑ 8 หน่วยงานเซ็น MOU เพื่อดำเนินการร่วมกันด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ TGC EMC ของเยอรมนี