ความปลอดภัย แค่ไหนจึงพอ?

อังคาร ๑๙ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๒:๔๗
เมื่อความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของเราไม่ได้ถูกจำกัดเพียงความปลอดภัยต่อร่างกาย ทรัพย์สิน หรือความคิด แต่ยังมีความปลอดภัยที่มีค่ามากไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือ "ความปลอดภัยทางข้อมูล" ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยในปัจจุบัน

ทุกคนต่างใช้เทคโนโลยีไปกับเรื่องส่วนตัวมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับงานหรืออำนวยความสะดวกให้กับชีวิตประจำวัน โดยพึ่งพาโปรแกรมออนไลน์ อาทิ การใช้บริการอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง การสั่งซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ผ่านทางสมาร์ทโฟน การสนทนาหรือแชทผ่านโปรแกรมโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งล้วนต้องระบุข้อมูลส่วนตัวบางอย่างลงไป ทำให้ชีวิตได้ก้าวเข้าสู่วงโคจรของเทคโนโลยีที่เกือบกลายเป็นอวัยวะที่สามสิบสามของร่างกายที่ขาดไปไม่ได้เสียแล้ว

เมื่อมีการใช้งานเทคโนโลยีมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ไวรัสสามารถแทรกซึมได้มากขึ้น ทั้งแฮกข้อมูลผ่านรหัสประจำตัวหรือสวมรอยเข้าใช้บริการต่างๆโดยที่เราไม่รู้ตัว แม้กระทั่งระบบธนาคารที่เราคิดว่าปลอดภัย ยังมีข่าวออกมาให้ได้ยินบ่อยๆ ว่าถูกแฮกรหัสผ่านเอทีเอ็ม อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง หรือแม้แต่โมบายล์แบงค์กิ้งที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ แสดงให้เห็นว่าระบบทุกระบบล้วนมีโอกาสถูกแทรกแซงล้วงข้อมูลได้ ไม่เว้นแม้แต่ที่ที่คิดว่าปลอดภัยที่สุดเช่นธนาคาร แล้วระบบอื่นเล่าเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าปลอดภัย?

ระบบทุกระบบล้วนมีช่องว่างให้สิ่งแปลกปลอมมีโอกาสแทรกซึมเข้ามา แสดงให้เห็นว่าระบบที่ปลอดภัยยังมีจุดเล็กๆ ที่ทำให้นักผจญข้อมูลฉกฉวยบางอย่างจากเราไปได้ ความปลอดภัยทางเทคโนโลยีจึงไม่ใช่เรื่องที่เราควรละเลยเพิกเฉย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและความเสี่ยงดูจะเติบโตคู่กัน เป็นสัญญาณกระตุ้นเตือนให้เราต้องมีมาตรการหลบหลีกหรือระมัดระวังจากอาชญากรรมไซเบอร์, ไวรัสตัวฉกาจ หรือมัลแวร์ที่พร้อมจู่โจมใส่เราอยู่ตลอดเวลา

ในฐานะของผู้วางระบบด้านไอทีของบริษัทยิบอินซอยถือเป็นความสำคัญอันดับต้นด้านระบบความปลอดภัย ทั้งด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เราจำเป็นต้องใช้กันอยู่ทุกวัน รวมถึงระดับองค์กรที่ต้องใช้งานเป็นเครือข่ายบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีที่เป็นเสมือนแขนขาของเรา ยิ่งรูปแบบการทำงานยุคใหม่ที่พนักงานสามารถนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาทำงานได้ เช่น แท็ปเล็ต สมาร์ทโฟน ทำให้ฝ่ายบริหารต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่เพิ่มตามมา และภาระที่ตกอยู่กับระบบเครือข่ายขององค์กร องค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากผู้ไม่หวังดีเข้ามาตีประชิดบุกลุกล้ำกำแพงความเป็นส่วนตัวของเรา มองหาช่องโหว่ผ่านทางอุปกรณ์ส่วนตัวของพนักงาน ใช้เป็นทางผ่านเพื่อเข้าไปยังระบบเครือข่ายหลักขององค์กร จนสามารถล้วงเอาข้อมูลความลับธุรกิจไปได้ หรือทำการโจรกรรมทรัพย์สินอันมีค่า

ปัจจุบัน คลาวด์ (Cloud) เป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั้นเยี่ยม ก็ย่อมเป็นสวรรค์ชั้นดีของเหล่าแฮกเกอร์ผู้พร้อมจะหาหนทางเอาทรัพยากรอันมีค่าไป ดังนั้นรูปแบบความปลอดภัยที่เคยมั่นใจ ก็ต้องเพิ่มระดับกระชับความแน่นหนาให้มากขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานได้ว่าจะปลอดภัยจากวายร้ายทั้งหลาย

การป้องกันความปลอดภัยจึงเป็นเสมือนเกราะกำบังชั้นดีที่จะทำให้ผู้อื่นไม่สามารถเข้ามาถึงได้ แต่วิธีใดจึงเรียกว่าปลอดภัยและเพียงพอแล้ว แน่นอนว่าไม่มีวิธีใดในโลกนี้ที่ดีที่สุดเท่ากับการที่เราพยายามอุดช่องโหว่ขององค์กรตนเอง โดยการมองในมุมของผู้ที่พยายามโจมตีองค์กรเรา เมื่อเห็นช่องโหว่ว่างในจุดใดก็รีบจัดการอุดก่อนที่จะมีใครเห็น เตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต และเตรียมวิธีการแก้ไขเบื้องต้นล่วงหน้าไว้ด้วย แม้เราจะป้องกันอย่างไร เพราะอาชญากรไซเบอร์ไม่เคยละความพยายามในการซุ่มโจมตี การเตรียมความพร้อมในทุกส่วนจะยิ่งเพิ่มความเข้มแข็งให้ระบบความปลอดภัยขององค์กรให้ดีขึ้นไปอีกระดับ ที่สำคัญที่ลืมไม่ได้เลยคือต้องอัพเดตซอฟท์แวร์อยู่เสมอ และปฏิบัติขั้นตอนที่สามารถใช้งานได้จริงให้เป็นปกติวิสัย เช่น ตั้งรหัสผ่านโทรศัพท์ แอพพลิเคชั่น ไม่จดรหัสผ่านทิ้งไว้บนกระดาษ หมั่นจัดการแอพพลิเคชั่นตัวหลอกที่แฝงในโทรศัพท์หรืออุปกรณ์สื่อสาร จากนั้น เพิ่มระดับความปลอดภัยด้วยการติดตั้งซอฟท์แวร์ป้องกันภัย ทั้งนี้ควรที่จะหลีกเลี่ยงเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นที่ไม่คุ้นเคย เพื่อลดความเสี่ยงการคุกคามทางไซเบอร์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

ความปลอดภัยที่ดีที่สุดและเพียงพอที่สุด คือการใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ จากการใช้งานเทคโนโลยีที่เปรียบเสมือนแขนขาของเรา ดูแลร่างกายอย่างไรก็ดูแลอาวุธเสมือนร่างกายของเราแบบนั้น แล้วไอทีจะเป็นเรื่องไม่ยาก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ