IFA ไฟเขียว UWC ซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวล 2 โรง 17.4 MW เป๋าตุงปีละ 340 ลบ. ตุนพอร์ทไฟฟ้าในมือกว่า 48 MW

พฤหัส ๒๑ มกราคม ๒๐๑๖ ๐๙:๓๑
'เอื้อวิทยา' เดินหน้าซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวลอีก 2 แห่ง กำลังการผลิต 17.4 MW หลัง IFA แนะผู้ถือหุ้นลงทุน คาดขายไฟได้ Q2 และQ3 ปีนี้ ตั้งเป้าบุ๊ครายได้ 340 ลบ.ต่อปี กำไรกว่า 60 ลบ.ดันพอร์ทไฟฟ้าเพิ่มเป็น 48 MW

นายพีรทัศน์ ธนรัชต์วัฒนา กรรมการผู้จัดการสายปฏิบัติการโรงไฟฟ้า บริษัท เอื้อวิทยา จำกัด(มหาชน) หรือ UWC เปิดเผยว่า ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ หรือ IFA ได้มีรายงานสรุปความเห็นกับผู้ถือหุ้นให้อนุมัติเข้าลงทุน โรงไฟฟ้าชีวมวล 2 แห่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ โรงไฟฟ้า แอ๊ดวานซ์ ไบโอพาวเวอร์ (ADVANCE) และโรงไฟฟ้า สตึกไบโอแมส (SATUK) กำลังการผลิตติดตั้งรวม 17.4 เมกะวัตต์ โดยจะมีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ในวันที่ 26 มกราคม 2559 เพื่ออนุมัติการลงทุนโครงการนี้ ซึ่งทำให้ UWC จะมีกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าในกลุ่มรวมกว่า 48 เมกะวัตต์ โดยนับรวมโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เฟส 2 ที่เพิ่งได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มล่าสุด

นายพีรทัศน์ กล่าวต่อว่า โดยการเข้าลงทุนทั้ง 2 โครงการมีมูลค่าการลงทุนรวม 923 ล้านบาท โดย UWC จะเข้าถือหุ้น 99.99% คาดว่าจะสร้างรายได้จากการขายไฟได้ประมาณ 340 ล้านบาทต่อปี และมีประมาณการกำไรก่อนหักดอกเบี้ย และภาษี หรือ EBIT กว่า 60 ล้านบาทต่อปี โดย ADVANCE มีแผนจะขายไฟเข้าระบบในไตรมาส 2 และ SATUK ในไตรมาส 3 ของปีนี้ รวมถึงโรงไฟฟ้าทั้ง 2 โรงยังมีช่วงเวลาที่ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% ไปจนถึงปี 2564 และ 2560 ตามลำดับ โดยการลงทุนในโครงการดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรายได้จากธุรกิจพลังงานในปี 2559 ที่ UWC มีแผนเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการขายไฟฟ้าเป็น 60% ขณะที่สัดส่วนรายได้ในการผลิตเสาส่งไฟฟ้าแรงสูงจะอยู่ที่ 40%

ในขณะที่การเข้าไปซื้อโรงไฟฟ้าชีวมวล และปรับปรุงโรงไฟฟ้า TRCCE ที่จังหวัดนครราชสีมา กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ เมื่อปลายปี 2558 โดยได้เริ่มผลิต และขายไฟให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2558 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะมีรายได้จากการขายไฟกว่าปีละ 200 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการผลิตไฟฟ้าที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงหลักที่มีต้นทุนสูง ให้เหลือการใช้แกลบเพียง 10% เท่านั้น เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงระบบให้สามารถใช้เชื้อเพลิงแบบผสมผสานที่มีต้นทุนต่ำลง รวมถึงการบริหารโรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การเข้าไปลงทุนในโรงไฟฟ้านี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง

"เราได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จจากการเข้าไปซื้อโรงไฟฟ้าที่จังหวัดนครราชสีมา จากการบริหาร และจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการลงทุนในโรงไฟฟ้าอีก 2 โรงล่าสุด จะมีการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นในวันที่ 26 มกราคมนี้ ซึ่งจะดำเนินการตามขั้นตอนในการเข้าซื้อหุ้นตามสัญญาซื้อขายหุ้น และทางทีมวิศวกรรมก็จะเริ่มเข้าไปดำเนินการตามแผนงานปรับปรุงโรงไฟฟ้า เพื่อให้การดำเนินงานของทั้ง 2 โรงนี้ ประสบความสำเร็จด้วยเช่นเดียวกัน" นายพีรทัศน์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ