สพฉ.จับมือ อบจ.สงขลา ผนึกภาคืเครือข่ายพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ พร้อมบูรณาการศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา 1669 ศูนย์ควบคุมโทรทัศน์วงจรปิด ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรสงขลา ไว้ในที่ที่เดียว

ศุกร์ ๒๒ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๒
เผยติดตั้ง CCTV ทั่วเมืองเพื่อเน้นการทำงานแบบเรียลทาม ระบุช่วยเหลือผู้ป่วยได้ตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดการสูญเสีย

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขสงขลา ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา และภาคีเครือข่าย จัดพิธีเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา 1669 ศูนย์ควบคุมระบบโทรทัศน์วงจรปิดอบจ.สงขลา ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ประสบเหตุด่วนเหตุร้ายในจังหวัดสงขลาอย่างเต็มที่

นายนิพนธ์ บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลากล่าวว่า ยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลา ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคง การรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และนักท่องเที่ยว อีกทั้ง เพื่อเป็นการรองรับการเปิดประตูสู่อาเซียน(ASEAN) เราจึงได้ดำเนินโครงการในหลากหลายรูปแบบเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตองค์ของประชาชนในจังหวัดสงขลา และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในจังหวัดสงขลาให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในโครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งกู้ชีพ" เราได้มีการพัฒนาในโครงการนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันเรามีรถพยาบาลฉุกเฉิน จำนวนทั้งสิ้น 118คัน และจะดำเนินการให้ครบ ทุกตำบล ทั้งหมด 127 ตำบล ภายในปี พ.ศ. 2559

นอกจากนี้แล้วเรายังได้ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา บริหารจัดการเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินร่วมกัน ระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา และกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา เพื่อที่จะเข้าไปดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตั้งแต่ต้นทางซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองสิทธิ ในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงเท่าเทียมและมีคุณภาพมาตรฐาน และได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น โดยพวกเราได้การบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันในรูปแบบของการทำงานใน 3 ศูนย์และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันนี้มี ซึ่งประกอบด้วย 1. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสงขลา 2.ศูนย์ควบคุมระบบโทรทัศน์วงจรปิด อบจ.สงขลา 3.ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน 191 ตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา

"วัตถุประสงค์ในการดำเนินการของพวกเราคือ เราต้องการให้ประชาชนสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉิน และได้รับปฏิบัติการช่วยเหลือเหตุฉุกเฉินทั้งเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลากล่าว

ด้าน นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าวว่า ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 มาตรา 33 วรรค 2 ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เพื่อการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินได้อย่างครอบคลุมทุกพื้นที่และมีประสิทธิภาพ ซึ่งอบจ.สงขลา ได้ดำเนินงานและบริหารจัดการการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล โดยจัดให้มีชุดปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ ร่วมกันกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดสงขลา 1669 โดยร่วมดำเนินงานกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลสงขลา โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสงขลา โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลเอกชน และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทรนอกจากนี้ ยังบูรณาการร่วมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานต่างๆ ในการทำให้เกิดศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินรวมเลขหมายเดียว เช่น ดับเพลิงกู้ภัย การแพทย์ฉุกเฉิน เหตุด่วนเหตุร้าย ระบบกล้องวงจรปิด

"ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยนับว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและนักท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา เมื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้าย เพลิงไหม้ ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประสบภัย สามารถได้รับการช่วยเหลืออย่างปลอดภัย อันจะนำไปสู่พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนที่อยู่ในจังหวัดสงขลาให้ดีขึ้นมากด้วย" รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินกล่าว

ด้านนพ. สรรพงษ์ ฤทธิรักษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลากล่าวว่า ระบบที่เราได้บูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกภาคส่วนแบบนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะที่ผ่านมาเราสามารถรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้เมื่อปลายทางเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อมีการบูรณาการการทำงานในลักษณะนี้เราสามารถรับรู้ข้อมูลการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประชาชนได้แบบเรียลทามในรูปแบบต้นทางซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการรักษากับประชาชนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินและจะทำให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินมีมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ