ผู้นำสมาคมพุทธศาสนาเรียกร้องทั่วโลกเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ พร้อมปกป้องผู้ลี้ภัยและผู้ด้อยโอกาส

อังคาร ๒๖ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๓:๐๐
ในวันที่ 26 มกราคม ไดซาขุ อิเคดะ ประธานสมาคมพุทธศาสนาโซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล หรือเอสจีไอ (Soka Gakkai International: SGI) ได้เผยแพร่ข้อเสนอเพื่อสันติภาพประจำปี 2559 ในหัวข้อ "ทั่วโลกร่วมใจเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์: หนทางอันยิ่งใหญ่สู่สันติภาพ" เพื่อเรียกร้องให้มีการยกระดับความพยายามในการตอบสนองความต้องการของผู้ด้อยโอกาส ซึ่งครอบคลุมถึงผู้พลัดถิ่นอันเป็นผลจากความขัดแย้งในซีเรียและพื้นที่อื่นๆ รวมถึงผู้พลัดถิ่นอันเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติ

ท่านอิเคดะน้อมรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ฉบับใหม่ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีผู้ใดถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยท่านอิเคดะได้ให้การยกย่องวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2573 ที่ชูประเด็นการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยทั่วโลก

ประธานเอสจีไอได้เรียกร้องให้มุ่งเน้นในเรื่องของการคุ้มครองเด็กๆที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ตลอดจนให้การสนับสนุนเพิ่มเติมแก่ประเทศที่เปิดรับผู้ลี้ภัยความรุนแรงเป็นจำนวนมาก

ท่านอิเคดะเน้นย้ำว่า การหันหน้าพูดคุยกันเป็นกุญแจสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเห็นอกเห็นใจกันอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง โดยกล่าวว่า "วิกฤตด้านมนุษยธรรมนั้นเหมือนการประชดประชันตรงที่ว่า ยิ่งผู้เคราะห์ร้ายเผชิญชะตากรรมเลวร้ายเท่าใด ก็ยิ่งถูกเพิกเฉยมากขึ้นเท่านั้น" ท่านอิเคดะเรียกร้องให้เรารับฟังเสียงของผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงให้ความสำคัญต่อศักดิ์ศรีและศักยภาพที่มีมาแต่กำเนิด แทนที่จะมองเพียงสถานการณ์อันเลวร้ายเท่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ตลอดจน "สร้างแผนที่โลกในใจเราขึ้นใหม่" นอกจากนี้ ท่านอิเคดะยังเน้นย้ำว่าการให้ความรู้ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการขจัดการเหยียดเชื้อชาติและการเลือกปฏิบัติ

ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิเคดะยังเรียกร้องให้จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีร่วมมือกันลดมลพิษทางอากาศ จัดการกับปัญหาฝุ่นละอองและพายุทราย รวมทั้งเดินหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายของแต่ละประเทศตามที่ระบุไว้ในข้อตกลงกรุงปารีส เนื่องจากทั้งสามประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงหนึ่งในสามของโลก

ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยลดความตึงเครียดในภูมิภาค และสร้าง "มิตรภาพอันล้ำค่าสำหรับอนาคต" นอกจากนั้นท่านอิเคดะยังเน้นย้ำว่า หากเมืองใหญ่ทั่วโลกที่ปล่อยคาร์บอนเป็นสัดส่วนรวมกันมากถึง 75% เริ่มลงมือจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแล้ว ผู้คนในเมืองนั้นๆก็จะรู้สึกอยากมีส่วนร่วมด้วย

ท่านอิเคดะยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ความรู้และการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อจัดการกับปัญหาที่ถาโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดังที่ท่านซึเนซาบุโระ มากิงูจิ ผู้ก่อตั้งโซคา งักไก เรียกว่าเป็น "ความกล้าที่จะแก้ปัญหา"

ในเรื่องของการปลดอาวุธนั้น ท่านอิเคดะได้เรียกร้องให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม G7 ซึ่งจะประชุมร่วมกันที่เมืองฮิโรชิมาในเดือนเมษายนนี้ เดินหน้าหารือถึงผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเป็นผลมาจากอาวุธนิวเคลียร์ เช่นเดียวกับการไม่แพร่ขยายอาวุธและการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ สืบเนื่องจากการที่เกาหลีเหนือได้ทดสอบนิวเคลียร์เมื่อไม่นานมานี้

ท่านอิเคดะยังเรียกร้องให้มีการกวดขันกฎข้อบังคับด้านการซื้อขายอาวุธทั่วไป รวมถึงอาวุธขนาดเล็ก ที่อาจถูกใช้เป็นอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง พร้อมเสนอให้มีการยกระดับสนธิสัญญาการค้าอาวุธที่เพิ่งบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้

ท่านอิเคดะยังเผยให้เห็นความขัดแย้งที่ว่า ความตั้งใจในการบรรลุเป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนมนุษย์ เช่น SDG กลับถูกบั่นทอนด้วยการครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ โดยเน้นย้ำว่าการแลกเปลี่ยนอาวุธนิวเคลียร์แม้เพียง "น้อยนิด" ก็อาจทำให้ "ความพยายามทั้งหมดของมนุษยชาติในการแก้ไขปัญหาทั่วโลกไร้ความหมายทันที"

ท่านอิเคดะเรียกร้องประเทศที่ยังไม่ได้ให้สัตยาบันสนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ (CTBT) ให้ดำเนินการทันที เพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ พร้อมยื่นข้อเสนอให้กับคณะทำงานที่ทางสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้จัดตั้งขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เป็นรูปธรรมในการยับยั้งอาวุธนิวเคลียร์

นอกจากนี้ ท่านอิเคดะยังกล่าวถึงความคืบหน้าต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงการที่กว่า 120 ประเทศได้ให้คำปฏิญาณด้านมนุษยธรรม อันเป็นพันธสัญญาเพื่อ "ประณาม ยังยั้ง และกำจัดอาวุธนิวเคลียร์" เช่นเดียวกับการที่ภาคประชาสังคมได้ร่วมเรียกร้องให้มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์ โดยท่านอิเคดะได้กล่าวยกย่องการดำเนินงานขององค์กรและกลุ่มเยาวชนที่ทาง SGI ได้ให้การสนับสนุน เช่น การประชุมสุดยอดเยาวชนโลกเพื่อล้มเลิกนิวเคลียร์ ซึ่งจัดขึ้นที่ฮิโรชิมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2558

ไดซาขุ อิเคดะ ได้เผยแพร่ข้อเสนอแก่ประชาคมโลกเพื่อแนะนำแนวทางในการรับมือกับความท้าทายระดับโลกทุกๆปี นับตั้งแต่ปี 2526 เป็นต้นมา ท่านเป็นทั้งนักพุทธปรัชญา นักประพันธ์ และนักสร้างสันติภาพ โดยได้ดำรงตำแหน่งประธานของสมาคมพุทธศาสนาโซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล (เอสจีไอ) มาตั้งแต่ปี 2518 ทั้งนี้ ข้อเสนอเพื่อสันติภาพประจำปีได้รับการเผยแพร่ในวันที่ 26 มกราคมของทุกปี เนื่องในวาระครบรอบการก่อตั้งเอสจีไอ รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.daisakuikeda.org

แหล่งข่าว: โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

ติดต่อ:

โจแอน แอนเดอร์สัน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

โทร. +81-80-5957-4711

แฟกซ์: +81-3-5360-9885

อีเมล: anderson[at]soka.jp

AsiaNet 63202

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้