ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า SMEs เป็นกลุ่มกิจการที่มีจำนวนมากที่สุดของประเทศแต่ส่วนใหญ่มักประสบปัญหาด้านการตลาด แรงงาน เทคโนโลยีการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากไม่มีแผนธุรกิจที่ดี ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน และขาดประวัติการชำระเงินจากการเป็นกิจการใหม่ ทำให้กลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาธุรกิจ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาภาคเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นกระทรวงอุตสาหกรรม จึงมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมกับสถาบันการเงิน 14 แห่ง ในการสนับสนุนผู้ประกอบการตามมาตรการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในด้านการเงินและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเข้าถึงเงินทุน โดยเฉพาะใน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก ของประเทศ ตั้งเป้าสนับสนุนสถานประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกยิ่งขึ้นภายในปีนี้ 500 ราย
ดร.สมชาย หาญหิรัญ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมต้องการเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถดำเนินธุรกิจได้ อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในด้านการการบริหารเงินทุน การบริหารจัดการ บุคลากร การสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์ โดย กสอ. จะทำหน้าที่ในการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพก่อนส่งให้สถาบันการเงินพิจารณาให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อเพื่อให้กระบวนการพัฒนาครบวงจร ซึ่งกรมจะทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการใน ด้านต่างๆ ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เอื้ออำนวยต่อภาคธุรกิจนั้น ๆ มากที่สุด ดังนั้น กรมฯ จึงได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กับสถาบันการเงิน 14 แห่ง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ 1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) 2) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 3) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ 4) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) 5) ธนาคารออมสิน 6) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 7) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 8) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) 10) ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) 11) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 12) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) 13) ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) 14) ธนาคารแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
สำหรับในส่วนของธนาคารที่เป็นสถาบันการเงินจะเป็นผู้ให้บริการด้านสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้ แก่ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้เงื่อนไขและระเบียบปฏิบัติของธนาคารและหากมีลูกค้าของธนาคารยังมีศักยภาพไม่สอดคล้องกับแนวทางการให้สินเชื่อก็จะส่งลูกค้าให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ตามกรอบการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงเป็นความร่วมมือในการพัฒนาลูกค้าร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายสำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ได้มีการหารือตั้งแต่ปีที่ผ่านมา มีธนาคารให้ความร่วมมือในเริ่มแรก 1 ราย คือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SMEs Bank) ซึ่งได้ให้บริการสินเชื่อแล้ว 783 ราย วงเงินสนับสนุน 2,744.93 ล้านบาท ซึ่งในปีนี้กรมฯ ยังคงให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือ SMEs ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เข้าถึงสินเชื่อเพิ่มขึ้น ดร.สมชาย กล่าว
สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากธนาคารทั้ง 14 แห่ง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานของกรม ฯ ที่ตั้งอยู่ที่ภูมิภาคต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่ให้บริการ SMEs ทุกรูปแบบหรือที่เรียกว่า Business Service Center (BSC) ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 12 แห่ง และหน่วยงานส่วนกลางที่ สำนักบริหารยุทธ์ศาสตร์ และสำนักพัฒาอุตสาหกรรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสามารถสอบถามข้อมูลกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ได้ที่ 0 2202 4414-18 หรือ เข้าไปที่ www.dip.go.th หรือ www.facebook.com/dip.pr
ศูนย์ประสานงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1 กสอ.) (เชียงใหม่ ลำปาง น่าน)
158 ทุ่งโฮเต็ล ต.วัดเกตุ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000
โทรศัพท์ 053-245361-2 ต่อ 540 โทรสาร 053-248315
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 (ศภ.2 กสอ.) (พิษณุโลก ตาก)
292 ถนนเลี่ยงเมือง-นครสวรรค์ ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-2282956-9 โทรสาร 055-289021
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 (ศภ.3 กสอ.) (พิจิตร กำแพงเพชร ชัยนาท)
200 ม.8 ถนนเลี่ยงเมือง ต.ท่าหลวง อ.เมือง จ.พิจิตร 66000
โทรศัพท์ 056-613161 ต่อ 108 โทรสาร 056-613559
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (ศภ.4 กสอ.) (อุดรธานี นครพนม หนองบัวลำภู)
399 ม.11 ถนนมิตรภาพ ต.โนนสูง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41330
โทรศัพท์ 042-207232 โทรสาร 042-207241
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 (ศภ.5 กสอ.) (ขอนแก่น กาฬสินธุ์)
86 ถนนมิตรภาพ ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000
โทรศัพท์ 043-379296-8 โทรสาร 043-379302
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 (ศภ.6 กสอ.) (นครราชสีมา ชัยภูมิ)
333 ถนนมิตรภาพ ต.สูงเนิน อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30170
โทรศัพท์ 044-419622 โทรสาร 044-419089
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 (ศภ.7 กสอ.) (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ)
222 ม.24 ถนนคลังอาวุธ ต.ขามใหญ่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-313945 โทรสาร 045-312378
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 (ศภ.8 กสอ.) (สุพรรณบุรี สมุทรสาคร)
117 หมู่ 1 ถนนมาลัยแมน ต.ดอนกำยาน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
โทรศัพท์ 035-411029 ต่อ 15,18 โทรสาร 035-441030
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 (ศภ.9 กสอ.) (ชลบุรี ระยอง)
67 หมู่ 1 ถนนสุขุมวิท ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทรศัพท์ 038-784064-7 โทรสาร 039-273701
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 (ศภ.10 กสอ.) (สุราษฎร์ธานี ชุมพร)
131 หมู่ 2 ถนนเทพรัตนกวี ต.วัดประดู่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-200395-8 ต่อ 320,410 โทรสาร 077-200449
· ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 (ศภ.11 กสอ.) (สงขลา ตรัง)
165 ถนนกาญจนวนิช ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ 074-211905-8 ต่อ 300,410 โทรสาร 074-211904
· ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง
424 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
โทรศัพท์ 054-282375-6 โทรสาร 054-281885
· สำนักบริหารยุทธศาสตร์
โทรศัพท์ 02-2024435 โทรสาร 054-3543030
· สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน
โทรศัพท์ 02-3678100-1 โทรสาร 02-3811056