BWG รุกคืบโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม จับมือ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าตามแผน AEDP 2015

ศุกร์ ๒๙ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๑
BWG จับมือ กฟผ. เร่งเครื่องบุกธุรกิจโรงไฟฟ้าจากขยะ รับลูกแผนพัฒนาพลังงานทางเลือกสร้างความเข้มแข็งให้พลังงานของไทย ที่มีเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนได้ครบ19,635 เมกะวัตต์ในปี 2579 "สุวัฒน์ เหลืองวิริยะ" เผย BWG พร้อมลุยโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมเต็มตัว ปักหลักในนิคมอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนแห่งแรกของไทย ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้านำร่องพร้อมจ่ายไฟเข้าระบบในปี 60 ด้าน กฟผ. ระบุ มีเป้าหมายแสวงหาพลังงานทางเลือกมาผลิตกระแสไฟฟ้าให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล มอง BWG มีศักยภาพเหตุมีนิคมอุตสาหกรรมรองรับ แถมเป็นรายแรกที่เริ่มโครงการโรงไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมได้สำเร็จ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ "การผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม" ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) (BWG) ผู้นำในธุรกิจกำจัดกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ทั้งฝังกลบ เผาทำลาย นำกลับมาใช้ใหม่และเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานทดแทนรายเดียวในประเทศไทย

นายสุวัฒน์ เหลืองวิริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือเป็นโครงการนำร่องที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ที่ร่วมกันผลักดันให้โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์เป็นรูปธรรมขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP 2015) มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน จากพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งสิ้นประมาณ 19,635 เมกะวัตต์ เนื่องจากขยะอุตสาหกรรมให้พลังงานความร้อนได้เทียบเท่ากับพลังงานถ่านหิน ในขณะเดียวกันมีปริมาณมากกว่าปีละ 30 ล้านตัน สามารถรองรับโครงการผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก

"BWG มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม เป็นอย่างดี เพราะเราเป็นผู้ประกอบการรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้ริเริ่มโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ซึ่งโครงการแรกขนาด 9.4 เมกะวัตต์ จะเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบได้ภายในปี 2560 และประการสำคัญเรามีโครงการนิคมอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ใน 3 ภูมิภาคทั่วประเทศ ที่สามารถรองรับโครงการจากพลังงานทดแทนได้ทุกรูปแบบโดยความร่วมมือกับ กฟผ.จะช่วยผลักดันแผนพัฒนาพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะพลังงานจากขยะอุตสาหกรรม ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น" นายสุวัฒน์กล่าว

สำหรับโครงการนี้ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะได้ทำการศึกษาร่วมกัน และนำข้อมูลที่ได้มาประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ และรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างกัน ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ เชื่อว่าจะช่วยให้โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม บรรลุความสำเร็จและสามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ สิ่งแวดล้อม และประชาชนได้ในเวลาอันรวดเร็วยิ่งขึ้น

นายรัตนชัย นามวงศ์ รองผู้ว่าการพัฒนาโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแสวงหาพลังงานทางเลือกอื่นๆ มาทดแทนพลังงานจากทรัพยากรธรรมชาติที่นับวันจะขาดแคลนยิ่งขึ้นในอนาคต โดยได้มีโครงการวิจัย พัฒนา และสาธิตเกี่ยวกับพลังงานทดแทนมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รวมทั้งพลังงานชีวมวล และพลังงานจากขยะ เพื่อเป็นพลังงานทางเลือกรูปแบบใหม่ที่จะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และพัฒนาไปสู่การผลิตในเชิงพาณิยช์ในอนาคต โดยเฉพาะพลังงานจากขยะอุตสาหกรรมหากพัฒนาขึ้นมาเป็นพลังงานทดแทนได้สำเร็จ นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรของประเทศได้อีกทางหนึ่งแล้ว ยังถือว่าเป็นกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่เป็นระบบ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ตามนโยบายที่รัฐบาลได้วางไว้ ซึ่ง กฟผ. มีนโยบายชัดเจนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 หรือ AEDP 2015

"กฟผ. เห็นชอบที่จะร่วมกันพัฒนาโครงการการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 โดยมองว่าบริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่มีศักยภาพรองรับโครงการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศมาอย่างยาวนาน และปัจจุบันเป็นผู้ประกอบการเพียงรายเดียวในประเทศไทยที่ดำเนินธุรกิจนี้อย่างครบวงจร และมีนิคมอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนเข้ามารองรับโครงการในอนาคตอย่างชัดเจน จึงมั่นใจว่าโครงการการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ที่เป็นความร่วมมือระหว่างกันจะเกิดเป็นรูปธรรมได้ในเร็วๆ นี้ " นายรัตนชัย กล่าว

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ถือเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้อย่างแท้จริง เนื่องจาก ไม่เพียงเพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยกำจัดขยะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมมากกว่าปีละ 30 ล้านตันให้หมดไปอย่างรวดเร็ว โดยไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

กรมโรงงานอุตสาหกรรมในฐานะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมและกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ พร้อมให้การสนับสนุนให้โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม ดำเนินไปอย่างราบรื่นตามนโยบายของรัฐบาล และมั่นใจว่าความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จำกัด (มหาชน) จะทำให้โครงการนี้สำเร็จเป็นรูปธรรมขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตอันใกล้นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ