มูลนิธิไอทีตามพระราชดำริฯ และ สวทช. ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย ใช้นวัตกรรมไอทีพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ศุกร์ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๒:๒๒
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 13 แห่งทั่วประเทศ สานต่อแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประยุกต์ใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือยกระดับคุณภาพการศึกษา และพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ให้แก่เยาวชน โดยมี บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมสนับสนุนโครงการ ไอซีทีส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สร้าง Innovation Space : ขยายโอกาสพัฒนาทักษะนวัตกรรมไอที

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ไอทีในการเพิ่มคุณภาพชีวิต การพัฒนาการศึกษาแลการเพิ่มโอกาสการทำงานให้แก่ผู้ด้อยโอกาส กระทั่งปัจจุบันในปี 2559 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชกระแสรับสั่งให้จัดตั้งเป็น "มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานในระยะต่อไป และช่วยให้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริแนวทางในการดำเนินงานส่วนหนึ่งว่า "ให้เผยแพร่ส่วนที่สำเร็จด้วยดีแก่หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ หรือเกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้รับช่วงต่อในเรื่องของการขยายผลในวงกว้างต่อไป" ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการโครงการฯ จึงได้ประสานความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฎซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ใกล้ชิดกับโรงเรียนในชนบท และมีพื้นที่ตั้งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ในการสานต่อและเผยแพร่กิจกรรมการประยุกต์ใช้เทคโนยีสารสนเทศในการเรียนการสอนตามแนวทางของโครงการเทคโนยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

การทำงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยดังกล่าว จะช่วยให้เกิดการขยายผลการดำเนินงานในวงกว้าง โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาโรงเรียนในโครงการ และยังสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการจัดการศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ช่วยเตรียมความพร้อมของครูยุคใหม่ในการใช้ไอซีทีจัดการเรียนการสอนในอนาคต โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาครูยุคใหม่อย่างน้อย 1,200 คน/ปี และสามารถขยายผลโรงเรียนในท้องถิ่น ไม่ต่ำกว่า 120 แห่ง และร่วมสร้างบทเรียนออนไลน์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 อย่างน้อย 12 เรื่อง เพื่อเปิดบริการบทเรียนออนไลน์ฯ และฝึกภาคปฏิบัติให้แก่ครูในท้องถิ่นได้ต่อไป

ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรรมการและรองเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินโครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 13 แห่งทั่วประเทศ ร่วมต่อแนวพระราชดำริและเผยแพร่กิจกรรมที่สำเร็จด้วยดีในโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ไปยังโรงเรียนในพื้นที่ทั่วประเทศ และขยายไปยังนักศึกษาคณะครุศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อมของครูในการใช้ไอซีทีจัดการเรียนการสอนกับนักเรียนต่อไป ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยร่วมดำเนินการขยายผลการประยุกต์ใช้ไอซีทีส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 4 กิจกรรมคือ กิจกรรมเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (embedded technology) กิจกรรมการใช้ไอซีทีจัดการเรียนรู้ด้วยโครงการ (Project-based Learning using ICT) การสร้างชิ้นงาน 3 มิติด้วย 3D-Printer และบทเรียนบนระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลฯ (MOOC) โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วม 13 แห่งใน 4 ภูมิภาค และหน่วยงานเอกชนร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยราชภัฏ 12 แห่ง ประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ภาคกลาง จำนวน 3 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระราชูปถัมภ์ฯ และภาคใต้ จำนวน 2 แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

2. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมดำเนินงานโดยภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การทำงานของห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Inventions Lab) ที่ได้มุ่งออกแบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้โดยใช้ระบบสมองกลฝังตัว และนำไปประยุกต์ใช้กับเยาวชน ให้เยาวชนได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสมองกลฝังตัวและการเขียนโปรแกรม เพื่อเสริมสร้างทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 อันได้แก่ การคิดอย่างเป็นระบบ คิดเป็น แก้ไขปัญหาเป็น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นกัลยาณมิตร ฝึกตนจนติดนิสัยใฝ่เรียนรู้ไปตลอดชีวิต

3. บริษัทอินเทลไมโครอิเล็กทรอกนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมมุ่งสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนไทยมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี ผ่าน Innovation Space

นางสาวสติยา ลังการ์พินธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอกนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงการสนับสนุนโครงการไอซีทีส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ว่า "ด้วยความเชื่อว่านวัตกรรมนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และจะช่วยสร้างสังคมที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน อินเทลจึงมุ่งสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนไทยมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยี ผ่าน Innovation Space ที่จัดร่วมกับหลายภาคส่วน รวมถึงโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเปิดพื้นที่ เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาหรือแม้กระทั่งครูอาจารย์ได้ลองเรียนรู้ด้วยวิธีการใหม่ๆ ได้ออกแบบและประดิษฐ์อุปกรณ์อัจฉริยะ (smart device) ที่ประยุกต์ใช้หน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์ เช่น ชุดอุปกรณ์ อินเทล กาลิเลโอ (Intel Galileo) สร้างอุปกรณ์ที่สามารถรับข้อมูลจากสภาพแวดล้อมแล้วทำงานตามที่นักเรียนออกแบบโปรแกรมไว้ นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมโยงสู่ระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อบันทึก วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลต่อไป ทักษะพื้นฐานเหล่านี้จะมีคุณค่ามากในวันข้างหน้าที่โลกมุ่งเข้าสู่ยุคของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things - IoT) ดังนั้น Innovation Space จึงเป็นทั้งพื้นที่และโอกาสที่เยาวชนไทยจะได้ลงมือประดิษฐ์คิดค้นด้วยเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มพูนทักษะด้านนวัตกรรม เกิดแรงบันดาลใจในการใช้เทคโนโลยีไปทำสิ่งที่มีประโยชน์ โดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏสนองพระราชดำริเป็นช่องทางสำคัญที่จะขยายโอกาสนี้สู่ท้องถิ่นได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version