สพฉ.เปิดข้อมูลผู้ป่วยปวดท้องในช่วงเทศกาลตรุษจีนเดือนกุมภาพันธ์มากกว่า 8 พันคน แนะควรปรุงอาหารไหว้เจ้าให้สุกสะอาดก่อนนำมาบริโภค พร้อมเตือนประชาชนระมัดระวัง ไม่จุดประทัดในบ้านและไม่ควรจุดครั้งละมากๆ เพราะแรงระเบิดจากประทัดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

จันทร์ ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๖:๓๓
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้จัดเก็บสถิติการเจ็บป่วยฉุกเฉินของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2558 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอาการ ไฟไหม้ ไฟลวก เหตุความร้อนจากสารเคมี และไฟฟ้าช๊อตจำนวนมากถึง 185 คน และนอกจากนั้นแล้วแล้วเรายังพบสถิติของผู้ป่วยฉุกเฉินจากอาการปวดท้องเฉียบพลันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้มากกว่า 8,595 คนด้วย ดังนั้นในช่วงตรุษจีนปีนี้ประชาชนจึงควรระมัดระวังตนเองให้มากๆ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่เสร็จสิ้นจากการไหว้เจ้า ซึ่งอาหารบางอย่างเมื่อสัมผัสกับอากาศภายนอกเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีภาชนะที่ปิดไว้ให้มิดชิดอาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ โดยผู้ป่วยด้วยอาการอาหารเป็นพิษมีดังนี้ ท้องเสีย อาจเป็นน้ำ มูก หรือ มูกเลือด ปวดท้องอาจจะปวดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค มักเป็นการปวดบิดสลับกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายยังมีอาการไข้สูงด้วย ทั้งนี้ในขณะที่เราปวดท้อง หรือ คลื่นไส้อาเจียน ไม่ควรกินอาหาร หรือ ดื่มน้ำเพราะอาการจะรุนแรงขึ้น ที่สำคัญคือไม่ควรกินยาหยุดถ่ายท้อง เพราะการท้องเสียจะช่วยขับเชื้อและสารพิษออกจากร่างกาย ควรจิบน้ำ หรือ ดื่มเกลือแร่ บ่อยๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และควรรีบพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมงเพื่อรักษาตนเองต่อไป

เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมถึงกรณีของมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอาการ ไฟไหม้ ไฟลวก เหตุความร้อนจากสารเคมีซึ่งหนึ่งในนั้นคือสารเคมีจากการจุดประทัดว่า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินเคยออกคำเตือนในทุกๆ ปีว่า การจุดประทัดสำหรับการไหว้เจ้านั้นเราไม่ควรจุดครั้งละจำนวนมาก เพราะแรงระเบิดจากประทัดอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะการจุดประทัดที่มีสายชนวนสั้น เมื่อจุดไม่ติดก็ไม่ควรจุดซ้ำ และที่สำคัญที่สุดคือห้ามโยนประทัดใส่กลุ่มคน ทั้งนี้ประทัด พลุ และดอกไม้ไฟ เป็นวัตถุอันตรายที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ของวัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย 3 ทาง คือ 1.ทางผิวหนัง คือเกิดแผลไหม้จากแรงระเบิด 2.ทางนิ้วมือ คืออาจทำให้นิ้วมือ หรืออวัยวะขาด เนื่องจากแรงระเบิด และ 3.ทางตา ซึ่งเป็นอวัยวะที่บอบบางที่สุด คืออาจทำให้ตาดำไหม้ ขุ่นมัว เลือดออกช่องหน้าม่านตา และอาจทำให้ตาบอดถาวรได้

สำหรับการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่นิ้วหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งขาดนั้น ให้รีบห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด โดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผล พันแผลบริเวณเหนือแผลให้แน่นเพื่อป้องกันเลือดออก ทั้งนี้ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัดเพราะจะทำให้รัดเส้นประสาทหลอดเลือดเสียได้ นอกจากนี้ควรสังเกตอาการผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างใกล้ชิด ควรงดอาหารทางปาก และจิบน้ำได้เล็กน้อย เพราะอาจจะต้องรับการผ่าตัดด่วน ส่วนวิธีการเก็บรักษาอวัยวะส่วนที่ขาดคือ ให้นำสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่ขาด ล้างน้ำสะอาด ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในน้ำแข็ง โดยอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อมาก ๆ เช่น แขน ขา ต้องได้รับการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้เร็วที่สุด ภายใน 6 ชม. ส่วนบริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น นิ้ว สามารถเก็บไว้ได้ 12 – 18 ชม. ส่วนการบาดเจ็บทางตาให้รีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมากทันที และหาก ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หรือกรณีฉุกเฉิน ให้รีบโทรแจ้งขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์โดย ซึ่งจะมีทีมแพทย์ฉุกเฉิน และทีมกู้ชีพคอยให้ความช่วยเหลือและให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ