“ดร.นเรศ” อดีตนร.ทุน กพ.แนะปรับระบบค้ำประกัน ไม่กระทบผู้บริสุทธิ์

พฤหัส ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๔:๔๔
"ดร.นเรศ" อดีตนร.ทุน กพ.แนะปรับระบบค้ำประกัน ไม่กระทบผู้บริสุทธิ์ แต่ให้เป็นหน้าที่ของนักเรียนที่ต้องชดใช้เอง

จากกรณีปัญหานักเรียนทุนรัฐบาลหนีทุน จนต้นสังกัดต้องไปไล่เบี้ยกับผู้ค้ำประกัน เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมโลกออนไลน์และความสนใจของสื่อมวลชนตลอดจนประชาชนทั่วไป

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตนักเรียนทุนกพ.กล่าวว่า ปัญหาการหนีทุนของนักเรียนทุนรัฐบาลนั้นยังมีอีกหลายกรณี ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมานานเพียงแต่อาจเพิ่งถูกเปิดจากกรณีมีการฟ้องร้องเนื่องจากคดีใกล้หมดอายุความ และมีการไล่เบี้ยจากผู้ค้ำประกัน ซึ่งแม้ทางต้นสังกัดจะไม่ต้องการให้เกิดการฟ้องร้องหรือไล่เบี้ย แต่โดยกระบวนการทางกฎหมายเงินหลวงต้องมีผู้รับผิดชอบตามเงื่อนไขที่กำหนดในครั้งแรก ซึ่งทุกฝ่ายเองก็ทราบดี และไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดปัญหาในภายหลัง

"ผมได้คุยกับเพื่อน ๆ ที่เรียนวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) หลายคนเห็นตรงกันว่า ควรปรับระบบการค้ำประกัน เนื่องจากโดยปกติแล้วคนค้ำประกันจะเป็นพ่อแม่แต่หากไม่มีหลักทรัพย์ ก็ให้อาจจะให้ญาติหรือคนรู้จักเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งทุกคนก็หวังดีเพราะเด็กเองก็ตั้งใจไปเรียน แต่เมื่อเกิดปัญหานักเรียนหนีทุนไม่กลับมาใช้ทุนในประเทศ จึงเกิดการฟ้องร้องเป็นประเด็นกันขึ้นมา ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายรายที่จะเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น รัฐบาลต้องกล้ายกเลิกระบบที่ให้ผู้อื่นมารับผิดชอบโดยไม่มีความผิด แต่ให้นักเรียนทุนรับผิดชอบชดใช้ทุนเองและฟ้องร้องกันได้โดยตรงอย่าให้หนีไปได้อย่างลอยนวล โดยอาจจะต้องต่อรองกับประเทศหรือสถาบันการศึกษาที่ผู้รับทุนไปเรียนให้ร่วมผูกมัดผู้รับทุน หรือเปลี่ยนมาใช้ระบบหักใช้ทุนจากเงินเดือนหรือรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ว่าจะไปทำงานอยู่ในภาครัฐหรือเอกชน" ดร.นเรศ กล่าว

สำหรับ ดร.นเรศ ดำรงชัย รับทุน กพ.ไปศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่นในระดับมัธยมจนจบปริญญาเอก โดยมีความตั้งใจจะศึกษาต่อทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เนื่องจากเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกโดยถือต้นแบบจากกระแสบูมสตาร์ทอัพของบริษัท จีเนเทค ที่ให้ทุนนักวิจัยและมีผลผลิตออกมาจริงราวปี 1980 กว่า ๆ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 6 ของประเทศไทยที่ได้ระบุไว้กว้าง ๆ เรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่สามารถตอบได้ทุกโจทย์ตั้งแต่เกษตร พลังงาน สาธารณสุข ไบโอเทค ฯลฯ จึงตัดสินใจเลือกเรียนที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งโตเกียว สาขา ไบโอเอนจิเนียริ่ง ซึ่งเปิดเป็นรุ่นแรก จนจบปริญญาเอก และกลับมาทำงานใช้ทุนที่ประเทศไทยในหน้าที่นักวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยทำวิจัยเกี่ยวกับการสร้างผิวหนังเพื่อปลูกถ่ายให้กับคนถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลนพรัตน์ และโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ต่อมาได้เป็นนักวิจัยเชิงนโยบายและเป็นผู้อำนวยการศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค ก่อนจะมาเป็นผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสายงานที่เจ้าตัวได้มองโอกาสการเติบโตล่วงหน้าถึง 30 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version