กระทรวงวิทย์ฯ อาศัยวิกฤติปัญหาการผลิตกุ้งกุลาดำของประเทศคู่แข่ง ใช้เทคโนโลยีพัฒนาสายพันธุ์ มุ่งสู่การเป็นเจ้าตลาดในอนาคต

จันทร์ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๑:๕๒
ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง (ศวพก.) ที่ จ.สุราษร์ธานี ของ ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้ทราบว่า ตลาดกุ้งกุลาดำทั่วโลกมีความต้องการปีละประมาณ 350,000 - 400,000 ตัน ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงกุ้งกุลาดำในบ่อประมาณ 20,000 บ่อ ผลิตได้ปีละ 2 รอบการผลิตที่ 21,000 ตัน ใช้ลูกกุ้งรอบละ 525 ล้านตัว ซึ่งผู้นำเข้ากุ้งกุลาดำสนใจซื้อกุ้งกุลาดำไทยเพิ่มขึ้น แต่ด้วยภาวะปัจจุบันประเทศคู่แข่งล้วนต่างประสบปัญหาด้านการผลิต ซึ่งการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาสายพันธุ์กุ้ง ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดกุ้งกุลาดำในอนาคตได้

รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า ศวพก. เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อเก็บรักษา วิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำและสายพันธุ์อื่นที่เป็นกุ้งเศรษฐกิจและกุ้งพื้นเมืองเดิมในประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการผลิตพ่อแม่พันธุ์ปลอดโรคจากรุ่นสู่รุ่น โดยเน้นพัฒนาพันธุ์ที่เน้นน้ำหนักตัวที่อายุ 5 เดือนซึ่งเป็นอายุที่จับขาย จนถึงปัจจุบันพัฒนาสายพันธุ์ได้ถึงรุ่นที่ 7 มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยเมื่ออายุ 5 เดือน 26 กรัมต่อตัว จากรุ่นสู่รุ่นได้พัฒนากุ้งที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยพบว่ากุ้งรุ่นที่ 6 มีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่ารุ่นที่ 5 ประมาณร้อยละ 30 จนถึงปัจจุบัน ศวพก. ได้ส่งลูกกุ้งให้เกษตรกรแล้ว 90 ล้านตัว และส่งพ่อแม่พันธุ์ให้เอกชน 3,500 ตัว อีกทั้งยังส่งกุ้งวัยรุ่นและลูกกุ้งให้ศูนย์เพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์กุ้ง 15,000 และ 900,000 ตัวตามลำดับ สร้างมูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท

ดร.วรวรงค์ กล่าวต่อว่า รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสนใจในองค์ความรู้ที่สะสมมาตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี โดยใช้เวลาพูดคุยและซักถามกับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยตลอดการเยี่ยมชม ศวพก. อย่างละเอียด ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในอาคารที่ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ ณ 28 องศาเซลเซียส การผสมเทียมกุ้งพ่อแม่พันธุ์ การเพาะฟักไข่กุ้ง การดูแลลูกกุ้งและกุ้งวัยรุ่น ตลอดจนวิธีการวัดน้ำหนักกุ้งในบ่อปลอดเชื้อถึง 20,000 ตัว รวมถึงการควบคุมโภชนาการ เทคนิคการเลี้ยงและวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้ครอบครัวกุ้งรุ่นต่อไปตามแผนการผสมพันธุ์

"ท่านรัฐมนตรีฯ ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาที่ยั่งยืน โดยขอให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งให้กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ พร้อมกับดึงเกษตรกรในพื้นที่ให้มามีส่วนร่วม เพราะศวพก. มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมในการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน" รองโฆษก วท. กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๒๔ แจกจริง! แบรนด์ซุปไก่สกัดส่งมอบรถเทสล่า มูลค่า 1.649 ล้านบาท ให้ผู้โชคดี ในแคมเปญ ดื่มแบรนด์ สแกนเลขในขวด ปี
๑๓:๕๐ GFC ตอบโจทย์ทุกความปลอดภัยเรื่องอาคาร - ถังแช่แข็งตัวอ่อน เปิดให้บริการสำหรับผู้มีบุตรยากตามปกติครบ 3
๑๓:๕๗ KJL ลุยภาคใต้! จัดใหญ่สัมมนา 'รวมพลคนไฟฟ้า ON TOUR' ที่ภูเก็ต
๑๒:๐๐ แว่นท็อปเจริญ จับมือ กรมกำลังพลทหารบก แนะแนวการศึกษาและอาชีพ สร้างโอกาสแก่ทหารกองประจำการและครอบครัว
๐๒ เม.ย. AnyMind Group คว้ารางวัล Gold ในงาน Martech Innovation Awards 2025
๐๒ เม.ย. โชว์พลังดีไซน์ไทยในงาน STYLE Bangkok 2025 รวมแบรนด์ดาวรุ่งจาก Talent Thai และ Designers' Room ที่คุณไม่ควรพลาด
๐๒ เม.ย. ธนาคารกสิกรไทย จัดสัมมนาใหญ่ K WEALTH Forum: เจาะลึก 5 ปัจจัยเปลี่ยนเกมการลงทุนโลก
๐๒ เม.ย. PSP ปิดดีลทุ่ม 409.5 ลบ. ถือหุ้นใน รีไซเคิล เอ็นจิเนียริ่ง (RE) ปักหมุดธุรกิจสู่ศูนย์กลางรีไซเคิลสารเคมีแห่งภูมิภาค
๐๒ เม.ย. กลุ่มซีไอเอ็มบี เปิดรับสมัครสอบชิงทุน CIMB ASEAN Scholarship 2025 ทุนเรียนต่อปริญญาตรี - ปริญญาโท พร้อมโอกาสร่วมงานกับกลุ่มซีไอเอ็มบี
๐๒ เม.ย. ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค เปิดพิกัดจุดสรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลกับเทศกาล สงกรานต์อิ่มบุญ