สสว.ผนึก มทร.ธัญบุรี เร่งช่วยเหลือเอสเอ็มอี

พุธ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๑:๕๑
สสว.เร่งดำเนินการเปิดตัวโครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ธนาคารเอสเอ็มอี และภาคีเอกชน เร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) กลุ่ม Turn Around 10,000 กิจการ ในภาคการค้าและบริการให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจเจริญเติบโตต่อไปได้

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเปิดเผยว่า คณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ได้อนุมัติงบประมาณ 200 ล้านบาทให้ สสว. ดำเนินการร่วมกับภาคีที่สำคัญ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และธนาคารเอสเอ็มอี และสมาพันธ์เอสเอ็มอี เปิดรับสมัครกลุ่มเป้าหมาย คือ SME ขนาดเล็ก ที่ต้องการปรับแนวทางการประกอบกิจการ รวม 10000 ราย มาเข้าร่วมโครงการ โดย สสว. จะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวินิจฉัยกิจการของSME เหล่านี้เป็นรายกิจการเพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงกิจการ ซึ่งอาจเป็นในด้าน ช่วยลดต้นทุนการผลิต หรือบริการ หรือการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เพื่อปรับปรุงตัวสินค้า/บริการ ให้เป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการขาย ในกรณีที่ SME ประสบปัญหาทางการเงิน สสว. จะช่วยประสานงานกับเจ้าหนี้เดิมของ SME เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ SME ที่ได้ผ่านการปรับปรุงแผนธุรกิจ และได้รับการยืนยันว่า สารารถดำเนินกิจการต่อไปได้ สามารถยื่นคำข้อกู้ยืมจากกองทุนพลิกฟื้นของสสว.ได้อนุมัติวงเงินรวม หนึ่งพันล้านบาท โดย SME แต่ละรายจะกู้ยืมได้ไม่เกินหนึ่งล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมระยะยาว ห้าถึงเจ็ดปี ไม่มีดอกเบี้ย สสว.ได้ทำข้อตกลงให้ธนาคารเจ้าหนี้เดิมของSME ทำหน้าที่เก็บชำระเงินส่งคืนให้สสว.

รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า ตามที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมหาวิทยาลัยนำองค์ความรู้ที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริม 1. โครงการการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-Up) ผู้ประกอบการใหม่ ผู้เริ่มกิจการ ร่วมไปถึงศิษย์เก่า และนักศึกษาปัจจุบัน มทร.ธัญบุรี จำนวน 2,000 ราย โดยให้การอบรมความรู้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ แผนธุรกิจเชิงลึก บ่มเพาะให้คำปรึกษา 2. SMEs Turn Around กลุ่มที่ได้ดำเนินกิจการอยู่แล้วและประสบปัญหา จำนวน 10,000 ราย โดยให้ความรู้ผู้ประกอบการ ให้คำปรึกษากับสถานประกอบการ นอกจากนั้นทางมหาวิทยาลัยยังมีโครงการที่จะการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อเป็นการยกระดับและสถานะความสามารถในการแข่งขัน มหาวิทยาลัยจะมีส่วนเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ หาช่องทางการจัดจำหน่าย ยกระดับสินค้า ให้สามารถจำหน่ายในช่องที่มีกำลังซื้อสูง

ในขณะนี้ทางมหาวิทยาลัย ได้เปิดห้องปฏิบัติการ ใช้เป็นศูนย์ทดสอบเทียบมาตรฐาน จัดทำมาตรฐานการรับรองอาชีพ ทำการตลาดออนไลน์ ช่องทางในการจำหน่าย ให้สำหรับผู้ประกอบ เนื่องจากทางผู้ประกอบการใหม่อาจไม่มีองค์ความรู้ทางด้านสารสนเทศ จัดตั้ง Excellent Center ศูนย์บริการ SMEs ไว้ที่คณะบริหารธุรกิจเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งวิชาการและงานวิจัย สิ่งที่ทาง มทร.ธัญบุรี จะได้รับจากการในร่วมโครงการ อาจารย์และนักศึกษาได้เข้าเจอปัญหาจริง อาจารย์ได้ใช้องค์ความรู้ที่เรียนมา ประสบการณ์ที่อาจารย์บางท่านเป็นที่ปรึกษาบริษัท ได้นำมาใช้ในเหตุการณ์จริง หรือผู้ประกอบการใหม่ ถ้าเป็นศิษย์เก่าของ มทร.ธัญบุรี ถือว่าได้สนับสนุนให้ได้ก้าวต่อไปอย่างมั่นคง เพราะว่าองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาเป็นผู้ประกอบการใหม่ได้

เศรษฐกิจจะดีขึ้น นอกจากการมุ่งพัฒนา SMEs ต้องพัฒนาคน ผลักดัน SMEs สู่ภาคอุตสาหกรรม ออกสู่ตลาดต่างประเทศ และส่งคนไปทำงานยังต่างประเทศด้วย ซึ่งกลไกทางการศึกษาเท่านั้นที่จะต้องรองรับ โดยทาง มทร.ธัญบุรี จะเป็นมหาวิทยาลัยที่คอยช่วยเหลือ SMEs ตลอดไป รศ.ดร.ประเสริฐ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ