พพ. ปลุกพลัง อาชีวะศึกษา ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ชี้หลังสร้างทีมเทคนิค 108 ทีม แนะมาตรการประหยัดพลังงานมากกว่า 4,000 มาตรการ ผ่านสถานศึกษาและสถานประกอบการ 1,500 แห่ง เกิดผลประหยัดแล้ว 136 ล้านบาท

พฤหัส ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๕:๑๔
หวังต่อยอดผ่าน 10 โครงงานสิ่งประดิษฐ์ระดับประเทศ ลดการใช้พลังงานในประเทศ เสริมความเข้มแข็งการแข่งขันระดับภูมิภาค

นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า การประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานYoung Creative Energy Awards "สุดยอดสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน" ภายใต้โครงการทีมเทคนิคและอาชีวศึกษาเพื่อการประหยัดพลังงาน พพ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) บูรณาการระบบพัฒนาบุคลากรอาชีวศึกษาผ่านหลักสูตรการจัดการพลังงาน ซึ่งเกิดจากการอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านบุคลากรครูที่เข้าร่วมโครงการ และได้จัดตั้งเป็นทีมเทคนิค จำนวน 108 ทีม โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษาและแนะนำมาตรการประหยัดพลังงานให้แก่สถานศึกษาและสถานประกอบการกว่า 1,500 แห่ง เกิดมาตรการประหยัดพลังงานไปแล้วสูงถึง 4,000 มาตรการ และเกิดผลประหยัดจากการปฏิบัติหน้าที่ของทีมเทคนิคดังกล่าวเป็นมูลค่าถึง 136 ล้านบาท

ทั้งนี้ แนวทางต่อยอดโครงการฯ ดังกล่าว พพ.จึงได้ริเริ่ม "การจัดประกวดสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน" ขึ้นในปี 2558 ที่ผ่านมา เนื่องจาก พพ. ได้เล็งเห็นว่าอาชีวศึกษามีความตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน แต่ยังขาดโครงการในลักษณะที่ให้การสนับสนุนให้นักศึกษาที่เรียนสายอาชีวะ ได้มีโอกาสพัฒนาสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และสอดคล้องตามนโยบายของ สอศ. ในการยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษา ซึ่งจะมีอาจารย์ทีมเทคนิคที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงานจะเป็นผู้ชี้แนะ และให้การส่งเสริมนักเรียนในระดับอาชีวศึกษา

โดยปัจจุบันมีโครงงานจากทุกภูมิภาคเข้าร่วมทั้งสิ้น 182 โครงงาน และได้ผ่านการพิจารณาให้การสนับสนุนจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 138 โครงงาน จากสถานศึกษา 86 แห่ง มีทุนสนับสนุนโครงการรวมจำนวน 10 ล้านบาท ซึ่ง พพ.พบว่ามีผลงานโดดเด่นผ่านการคัดเลือกให้เข้าสู่การประกวดสุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษาสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับภาค จำนวน 49 โครงงาน และได้ผ่านสู่การประกวดระดับชาติ 10 โครงงาน โดยมีโครงงานเด่นๆ ได้แก่ โครงงาน ไฟฟ้าจากพลังงานแม่เหล็ก จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย , โคมไฟทางเดินแอลอีดีพลังงานแสงอาทิตย์ปรับความสว่างอัตโนมัติ จากวิทยาการอาชีพเขาย้อย จ.เพชรบุรี ,โครงงานท่อผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำ จากวิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี , โครงการเตารีดประหยัดไฟฟ้าจากวิทยาลัยเทคนิคสกลนคร จ.สกลนคร เป็นต้น

"สิ่งประดิษฐ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน" ที่ร่วมกันทำมานั้น หวังว่าในอนาคตสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จากการริเริ่มในโครงการนี้จะนำไปทดแทนหรือลดการนำเข้าเทคโนโลยีต่างๆ จากต่างประเทศซึ่งมีราคาแพงและต้องเสียค่าลิขสิทธิ์เป็นมูลค่าที่สูง และจากการที่ได้ริเริ่มพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีที่ปฏิบัติได้จริงในวันนี้ ต่อไปในภายภาคหน้าประเทศไทยจะได้ไม่เสียเปรียบด้านการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียนและในเวทีสากลระดับนานาชาติ ต่อไป" นายธรรมยศกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ