นักวิจัยไทยระดมสมองค้นหามวลของนิวตริโน หวังจุดกระแสความสนใจประชาชนเหมือนเรื่องค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก

อังคาร ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๖:๔๓
ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช รองโฆษกกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าว ในระหว่างเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการระดับนานาชาติ เรื่องการค้นหาการสลายของสารกัมมันตรังสีให้อนุภาคบีตาสองอนุภาคภายใต้ความร่วมมือ อะมาแร (AMoRE Collaboration) เพื่อรวมกันหาค่ามวลของนิวตริโน ว่า จากกระแสข่าวการพิสูจน์ว่าคลื่นความโน้มถ่วงมีจริง โดยทีมวิจัยกว่าพันคนทำงานร่วมกันหลายสิบปีเพื่อสร้างเครื่องตรวจจับสัญญาณคลื่นดังกล่าว ซึ่งเกิดจากการชนกันของสองหลุมดำที่เกิดขึ้นเมื่อ 1,300 ล้านปีก่อน และทำให้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ทำนายไว้เมื่อ 100 ปีก่อน ได้รับการยืนยันว่าผลของอากาศเวลา บิดโค้งงอได้ โดยการค้นพบดังกล่าวจะช่วยตอบคำถามว่าความโน้มถ่วงคืออะไร ซึ่งเพียงหนึ่งในคำถามที่นักวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้จนถึงปัจจุบัน อาทิ สะสารมืดและพลังงานมืดคืออะไร อนุภาคมูลฐานพลังงานสูงมาจากไหน มีทฤษฎีที่ใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแสงกับสะสารที่มีพลังงานและอุณหภูมิสูงหรือไม่ โปรตรอนเสถียรหรือไม่ มีปริมาณอื่นๆนอกจากเจ็ดปริมาณพื้นฐานอีกหรือไม่ จักรวาลเริ่มต้นอย่างไร และหนึ่งในคำถามเหล่านั้น คือ นิวตริโนมีมวลหรือไม่

"เมื่อปีที่แล้ว 2 นักฟิสิกส์ จากญี่ปุ่นและแคนาดา ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ จากความประสบความสำเร็จในการทดลองที่ยืนยันว่าอนุภาคนิวตริโนสามารถเปลี่ยนรูปจากอนุภาคแบบหนึ่งไปอีกแบบหนึ่งได้ ซึ่งเป็นสมบัติที่สำคัญว่าอนุภาคนั้นมีมวลอยู่ แต่ก็ยังไม่สามารถทำการทดลองที่ระบุค่ามวลของนิวตริโนได้ คำตอบที่ได้จะนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องโมเดลพื้นฐานที่ยังขาดความเข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่นักฟิสิกส์จากทั่วโลกเริ่มต้นจากการตั้งสมมติฐานว่านิวตริโนมีอยู่ตั้งแต่ 85 ปีก่อน จนมาเริ่มการทดลองครั้งแรกเมื่อ68 ที่แล้วในการสร้างเครื่องตรวจวัดนิวตริโน จนปัจจุบันก็ยังไม่สามารถหาค่ามวลของนิวตริโนได้ แต่ระหว่างทางได้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงหลายชิ้น อาทิ การปลูกผลึกเปล่งแสงขนาดใหญ่ การทำธาตุให้บริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการทดลอง การพัฒนาเครื่องตรวจวัดแสงอย่างละเอียด ระบบมาตรวิทยา เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการเล่นแร่แปรธาตุทั้งสิ้น" ดร.วรวรงค์ กล่าว

ดร.วรวรงค์ กล่าวอีกว่าประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ซึ่งจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายด้าน ในการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการของไทย โดยรัฐให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ถึงแม้ว่าการทดลองเพื่อค้นหาคำตอบของอนุภาคมูลฐานนี้เป็นการวิจัยวิทยาศาสตร์พื้นฐานก็ตาม แต่เทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาระหว่างทางเป็นสิ่งที่มวลมนุษยชาติสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

"การสร้างเครือข่ายวิชาการระดับนานาชาติแบบนี้เป็นสิ่งที่คนไทยต้องการ เพราะไม่เพียงแต่อาจารย์และนักวิจัยจะได้ประโยชน์ นักศึกษาที่อยู่ในเครือข่ายวิจัยนี้จะได้เปิดมุมมองในการค้นหาคำตอบโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้นักศึกษามีทักษะการคิดวิเคราะห์ขั้นสูงและเกิดความคิดที่สามารถนำไปต่อยอดได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่นักศึกษาไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเครือข่ายวิจัยระดับนานาชาติ" ดร.วรวรงค์? กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม