กระทรวงอุตสาหกรรมลงพื้นที่เยี่ยม 2 สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAIภาคใต้ มุ่งหวังยกระดับการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สู่เกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปอย่างครบวงจร

พุธ ๑๓ มกราคม ๒๐๑๖ ๑๔:๒๙
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม 2 สถานประกอบการในภาคใต้ ที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ได้แก่ บริษัท วิยะเครปโปรดักส์ จำกัด และบริษัท เมธีภูเก็ต จำกัด เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเป็นไปตามแนวทางนโยบายของรัฐ โดยมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการหมุนเวียน พร้อมสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการSMEs ในภูมิภาค ให้สามารถแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรอย่างครบวงจร

นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค(One Province One Agro-Industrial Product) OPOAI เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2550 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสถานประกอบการ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับสถานประกอบการ โดยให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ การพัฒนายกระดับประสิทธิภาพ การผลิตและผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐานสากล รวมถึงกำหนดให้มีกลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งการทำงานเป็นการบูรณาการร่วมกันในลักษณะไตรภาคีของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค หวังให้สถานประกอบการสามารถแข่งขันได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการ จะมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ปรึกษาแนะนำสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ผ่านแผนงานพัฒนาที่ถือเป็นภารกิจหลักของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมตลอดโซ่อุปทาน (Supply Chain)ใน 6 ด้าน เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าสู่กระบวนการพัฒนาแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง สามารถลดต้นทุน เพิ่มรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ โดย 6 แผนงานประกอบด้วย 1.การบริหารจัดการโลจิสติกส์ 2.การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3.การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน 4.การลดต้นทุนพลังงาน 5.การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์/ระบบมาตรฐานสากล และ 6.กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด

โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 จนถึงปี 2557 มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 1,041 ราย และเพื่อเป็นการติดตาม ให้กำลังใจจึงได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI ภาคใต้ โดยได้เข้าเยี่ยมชมบริษัท วิยะเครปโปรดักส์ จำกัด ดำเนินธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป ตั้งอยู่ที่ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบริษัท เมธีภูเก็ต จำกัด ดำเนินธุรกิจประเภทผลิตอาหารสำเร็จรูปจากเมล็ดพืช เพื่อจำหน่ายทั้งใน และต่างประเทศ ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

นายพิสิฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงพื้นที่เยี่ยมสถานประกอบการเพื่อติดตามให้กำลังใจ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องภารกิจในการช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้เศรษฐกิจฐานรากให้เกิดการหมุนเวียน สร้างความเข้มแข็งในระดับจุลภาคมากขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างสถาบันครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชุนมีความเข้มแข็ง

ด้านนางสาวสุวณีย์ ทิพย์หมัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิยะเครปโปรดักส์ จำกัด 1 ในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI กล่าวว่า บริษัทดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทะเลแปรรูป เข้าร่วมโครงการ OPOAI ในปี 2557 ในแผนงานที่ 1 การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และแผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน มีเป้าหมายการบริหารจัดการโลจิสติกส์ และการปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน

โดยลักษณะธุรกิจของบริษัท คือ ผลิตเนื้อปูบรรจุกระป๋อง และถุงสูญญากาศ ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ เนื้อปูม้า พาสเจอร์ไรส์บรรจุกระป๋อง มีกำลังการผลิต 500 ตันต่อปี ผลิตจริง 300 ตันต่อปี ราคาต่อหน่วยเฉลี่ยประมาณ 800-900 บาท/กิโลกรัม, ผลิตภัณฑ์รองของสถานประกอบการ คือ อาหารทะเลแปรรูปพร้อมบริโภค เช่น ปูจ๋า ฮ้อยจ้อปู น้ำพริกปู เป็นต้น ซึ่งมีสัดส่วนการตลาด คือ ส่งออก 70% จำหน่ายในประเทศ 30% ในขณะที่การจัดหาวัตถุดิบเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายจัดซื้อ โดยวัตถุดิบหลัก คือ ปูม้าสด จากกระบวนการธุรกิจของบริษัทดำเนินการตั้งแต่การทบทวนความต้องการของลูกค้า ดำเนินการวางแผนการผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบหลักผ่านบริษัท วิยะอินเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ วางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบรองตามความต้องการใช้ผ่านกระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต จัดเก็บ และส่งมอบให้ลูกค้า

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ จากแผนงานที่ 1 การบริหารโลจิสติกส์ มีการปรับปรุง 2 ส่วนประกอบด้วย 1.ลดการถือครองสินค้าคงคลัง โดยมีการคัดแยกประเภทวัตถุดิบที่มีความเคลื่อนไหว และที่เคลื่อนไหวช้า จากการเปรียบเทียบมูลค่าบรรจุภัณฑ์ พบว่าสินค้า Dead Stock ลดลง 209,785 บาท คิดเป็น 16.09% นอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการวัตถุดิบประเภทถุงบรรจุ สามารถลดการสั่งซื้อเป็นจำนวนเงินลดลง 197,458 บาท คิดเป็น 4.6%

แผนงานที่ 3 การปรับปรุงคุณภาพและพัฒนางาน มีการพัฒนา 2 โครงการประกอบด้วย 1.การทดลองกระบวนการผลิตน้ำพริกปูผัดด้วยมือ และผัดด้วยเครื่องจักร จากการทดลองพบว่า การผัดด้วยมือสามารถควบคุมคุณภาพของสี กลิ่น และรสชาติได้ดีกว่าการใช้เครื่องจักร คิดเป็นมูลค่าครั้งละ 8,636.32 บาท หรือเท่ากับ 34,557.28 บาทต่อเดือน 2.การจัดการปัญหาปริมาณสูญเสียของบรรจุภัณฑ์ประเภทกระป๋องบรรจุเนื้อปูในระหว่างกระบวนการผลิต โดยการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเครื่องและฝาก่อนที่จะมีการผลิต พร้อมทั้งมีการจัดให้พนักงานซีมเมอร์มีการพักเป็นระยะเพื่อลดความเมื่อยล้า โดยสามารถลดความเสียหายของกระป๋องได้ 20.45%

ด้านนางบุญมา จตุเมธเมธี ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมธีภูเก็ต จำกัด 1 ในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ OPOAI กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้ดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทต้ม นึ่ง อบ กะเทาะเมล็ดพืช หรือเปลือกเมล็ดพืช และผลิตอาหารสำเร็จรูปจากเมล็ดพืช เป็นร้านของฝากของจังหวัดภูเก็ต มีทั้งสินค้าพื้นเมืองภูเก็ต เมล็ดมะม่วง หิมพานต์ น้ำมะม่วงหิมพานต์ น้ำพริกกุ้งเสียบ แกงไตปลา ซึ่งมี 2 สาขา เปิดให้บริการมานานมากกว่า 40 ปี และมีส่วนแบ่งการตลาดและยอดจำหน่ายมากกว่า 25,000กิโลกรัมต่อปี และมีการตลาดกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นสำคัญโดยมีสัดส่วนการตลาดในประเทศร้อยละ 95 และต่างประเทศร้อยละ5

ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตที่ 100 กิโลกรัมต่อวัน โดยมีกำลังการผลิตที่ 83.33 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งยังเหลือกำลังการผลิตต่อวันอีก 16.67 กิโลกรัมวัน และภายหลังเข้าร่วมโครงการ OPOAI ในปี 2558 ในแผนงานที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการปรับปรุงใน 2 ส่วน คือ 1.การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบรรจุอัตโนมัติ หลังปรับปรุงสามารถลดของเสียได้จาก 20% เหลือ 0% คิดเป็นมูลค่าปีละ 532,000.-บาท/ปี และ 2.การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการบรรจุอัตโนมัติแบบฟิล์มหด ก่อนปรับปรุงเกิดของเสีย 50% หลังปรับปรุงแล้วอัตราการเกิดของเสียเป็น 0 คิดเป็นมูลค่าปีละ 355,800.-บาท/ปี

และแผนงานที่ 6 กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาด ซึ่งทีมที่ปรึกษาได้มีการสำรวจ วิเคราะห์ ประเมิน และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก โดยวางแผนการ ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค การขายและวางเป้าหมายยุทธศาสตร์การพลิกฟื้นธุรกิจ มีการแนะนำแผนกลยุทธ์การตลาดระยะสั้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย 5% แผนกลยุทธ์การตลาดระยะกลางเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์และเปิดช่องทางการจำหน่ายใหม่ และแผนกลยุทธ์การตลาดระยะยาวเพื่อพัฒนาสินค้าและเปิดช่องทางการจำหน่ายใหม่

โดยบริษัทสามารถลงมือปฏบัติตามแผนได้จริง คือ 1.พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยทางสถานประกอบการสามารถพัฒนาบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้ 3 รูปแบบคือ แบบกล่อง แบบซอง และแบบขวด 2. การนำเสนอเพื่อเปิดช่องทางการตลาดใหม่ใน King Power โดยทางสถานประกอบการนำสินค้าที่ได้รับการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไปนำเสนอเพื่อเข้าจำหน่ายได้สำเร็จ ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการสามารถเพิ่มยอดขายได้ร้อยละ 17.57

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO