โรคหัวใจ ถือเป็นโรคสำคัญที่คนไทยเป็นกันมาก

อังคาร ๐๑ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๑๑

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ

สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

โรคหัวใจ ถือเป็นโรคสำคัญที่คนไทยเป็นกันมาก ซึ่งโรคหัวใจจัดเป็นโรคที่อยู่ 1 ใน 3 ของโรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด คนที่ป่วยเป็นโรคหัวใจส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยออกกำลังกาย หรือยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพมากนัก ความจริงแล้วโรคหัวใจสามารถป้องกันได้ เพราะความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้มีตั้งแต่ความเสี่ยงที่ยังไม่มีแนวทางในการแก้ไข เช่น อายุมากขึ้นก็จะเป็นมากขึ้น มีกรรมพันธุ์ต่อเนื่อง หรือเรื่องของเพศ ซึ่งเพศชายจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิง โดยเพศชายจะเริ่มตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป ส่วนเพศหญิงอายุประมาณ 59 ปี หรือวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นที่สามารถแก้ไขได้ ได้แก่ เรื่องของอาหาร โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ถ้าดูแลตัวเองดี โอกาสของการเป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็จะลดลง อีกสิ่งที่สำคัญก็คือเรื่องการออกกำลังกาย ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง พบว่าคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จะมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจมากกว่าคนที่ออกกำลังกาย ประมาณ 50% และเมื่อพูดถึงการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหัวใจ อาจไม่จำเป็นต้องออกเยอะ เพราะพบว่าการเดิน แค่วันละ 1 ชั่วโมง (ถ้านับเป็นก้าว คือ 10,000 ก้าว) ก็สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ประมาณครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว

โรคหัวใจที่พบมากในคนไทยก็คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเกิดจากภาวะของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีลักษณะตีบหรือตัน ทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจก็จะเริ่มเกิดอาการ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย ซึ่งกลุ่มนี้ก็จะมีการรักษา 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ การดูแลตนเอง เช่น เรื่องอาหารการกิน การรับประทานยา และ Invasive เช่น การทำบอลลูนขยายหลอดเลือด การสอดใส่สายหรือการผ่าตัดแต่ไม่ว่าจะทำการรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งแรกที่สำคัญและเป็นพื้นฐาน นั่นคือเรื่องของการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ลดของหวาน มัน เค็ม รับประทานอาหารที่เป็นธรรมชาติ ผ่านการปรุงแต่งน้อย รับประทานในปริมาณที่พอเหมาะอย่าให้อิ่มจนเกินไป ควบคู่กับการควบคุมน้ำหนักให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ส่วนการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจในลักษณะใด ถ้าไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกายแล้ว ควรจะออกกำลังกายทุกคน เนื่องจากการศึกษาทางด้านการแพทย์พบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและจริงจังกับการออกกำลังกาย จะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 25% (ซึ่งไม่เกี่ยวกับการรับประทานยา) เพราะฉะนั้น อย่าคิดว่าจะต้องทานยาคุณหมอเท่านั้น เราจะต้องรู้จักการดูแลตนเอง หมั่นออกกำลังกาย ไม่เครียด ซึ่งสามารถปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ให้การรักษาได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ค่อยได้พบแพทย์ หลังจากที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ แนะนำให้เดิน

ออกกำลังกาย ในลักษณะที่เหมือนเวลาเดินปกติ ไม่ต้องเร็วจนเกินไป 10- 15 นาที ดังนั้นสิ่งที่อยากจะเน้นย้ำและเป็นเรื่องที่สำคัญ นั่นคือทุกคนจะต้องออกกำลังกาย

ทางที่ดีที่สุดของการป้องกันและดูแลผู้ป่วยในกลุ่มโรคหัวใจ คือการพบแพทย์เพื่อประเมินอาการก่อน ด้วยวิธีให้ผู้ป่วยติดเครื่องมือเพื่อดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลัง ว่ามีการทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะจัดโปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยนั้นๆ เพราะผู้ป่วยแต่ละรายจะไม่เหมือนกัน การออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเดิน การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ โยคะ หรือมวยจีน จริงๆผู้ป่วยสามารถทำได้หมด แต่ไม่ควรเริ่มจากอะไรที่ไม่คุ้นเคย และถ้าในขณะออกกำลังกายแล้วมีอาการเจ็บหน้าอกขึ้นมา ก็ให้หยุด และหลังออกกำลังกายจะต้องมีการวัดความดัน วัดอัตราการเต้นของหัวใจด้วย

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยผู้ป่วยที่สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถออกกำลังกายได้ ด้วยเครื่องนวดกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (EECP) โดยใช้หลักการนวดจากปลายขา จะมีแผ่นคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดตามหน้าอก ซึ่งการบีบนวดที่ขา จะต้องสัมพันธ์กับการเต้นของหัวใจ เพื่อนำเลือดเข้าสู่หัวใจให้มากที่สุด ผลดีที่ได้จะใกล้เคียงกับการออกกำลังกาย ทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นดีขึ้น เพิ่มปริมาณหลอดเลือดฝอย และทำให้หัวใจทำงานบีบตัวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์ในคนไข้ที่เจ็บหน้าอกและเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่ไม่ได้ผ่าตัดหรือทำบอลลูน แต่รักษาด้วยเครื่องนวดไฟฟ้านี้ร่วมกับการรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง สามารถลดอาการเจ็บหน้าอกได้ถึง 80% ปัจจุบันก็ได้นำมาใช้ในโรคหลอดเลือดทั่วๆไป เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง อัมพฤต อัมพาต ก็รักษาด้วยเครื่องนี้ เครื่องนี้จะเป็นตัวกระตุ้นให้หลอดเลือดทำงานดีขึ้น

สุดท้ายการป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา ผู้ที่ยังไม่เกิดอาการ หรือผู้ที่เป็นแล้วในระยะเริ่มต้น ควรรู้จักสังเกตตัวเองและเฝ้าระวังอยู่เสมอ เพราะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าโรคบางอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ อาจจะมาแบบที่ไม่ทันตั้งตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต โรคไขมันในเลือดสูง โรคเหล่านี้จำเป็นต้องตรวจให้รู้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงแนะนำให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ และผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นโรคหัวใจ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อความปลอดภัยในการดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๓๒ อาลีเพย์พลัสขยายเครือข่ายพันธมิตรด้านการชำระเงินเป็น 35 ราย เชื่อมโยงผู้ค้ากับนักท่องเที่ยวเข้าด้วยกันผ่านการชำระเงินบนมือถือ การขายของในแอปพลิเคชัน
๑๕:๓๙ ยกระดับบริการหลังการขายขึ้นอีกขั้นกับ Volvo Mobile Service เพียงนัดหมาย เราพร้อมให้บริการถึงหน้าบ้านคุณ
๑๕:๓๔ ประกาศราคาไทย HUAWEI Mate X6 สมาร์ทโฟนนแบบพับได้ระดับท็อป โฉบเฉี่ยวแต่แข็งแกร่ง พร้อมกล้องเพื่อการถ่ายรูปที่สมบูรณ์แบบ
๑๕:๒๔ มหัศจรรย์แห่งเฟสทีฟกลางลมหนาว ที่ห้างหรูในยุโรปของกลุ่มเซ็นทรัล
๑๕:๑๘ บี.กริม เพาเวอร์ ครองตำแหน่งเรตติ้งสูงสุด SET ESG Rating ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืน 7 ปีซ้อน ตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
๑๔:๐๑ ธนาคารกรุงเทพ สำรองเงินสดช่วงเทศกาลปีใหม่ 40,000 ล้านบาท แนะลูกค้าทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
๑๔:๔๘ เที่ยวไทยสุขใจ ไทยพาณิชย์ โพรเทค มอบของขวัญปีใหม่ 2568 แจกฟรี! ประกันบ้านหรืออุบัติเหตุ 50,000 สิทธิ์
๑๕:๒๕ เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ร่วมงานเลี้ยงการกุศล ส่งเสริมความเสมอภาคและโอกาสในสังคม
๑๕:๔๗ คณะผู้บริหารและพนักงาน ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล เยี่ยมชมโรงงาน 1NUO ที่ประเทศจีน
๑๔:๔๕ TFM เปิดแผนผลิตกุ้งยั่งยืน ดันไทยชิงโอกาสในตลาดโลก ชูนวัตกรรมอาหารสัตว์เศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน