ภาพข่าว: พิพเพอร์ สแตนดาร์ด ได้รางวัลชนะเลิศผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ฮ่องกง

พุธ ๐๒ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๗:๑๙
มร. ปีเตอร์ เวียนแมน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อิเควเตอร์ เพียว เนเจอร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซักผ้าและน้ำยาปรับผ้านุ่มธรรมชาติพิพเพอร์ สแตนดาร์ด รับรางวัลจาก มร. ซีเค เยง ประธานคณะกรรมการการจัดงาน ฮ่องกง ทอยส์ แอนด์ เบบี้ โพรดักส์ อะวอร์ด 2016 (Hong Kong Toys and Baby Products Awards 2016 ) เนื่องจากผลิตภัณฑ์นุ่มพิพเพอร์ สแตนดาร์ด ชนะการประกวดผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco Awards) ซึ่งจัดโดยสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) ซึ่งในงานนี้มีผลิตภัณฑ์จากทั่วโลกร่วมเข้าประกวดเป็นจำนวนมาก เกณฑ์การตัดสินพิจารณาจาก ความคิดสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรม, ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์, ความปลอดภัยต่อผู้ใช้และการทำการตลาด ซึ่งบริษัท อิเควเตอร์ เพียว เนเจอร์ จำกัด ได้ใส่ใจและควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดขบวนการ มีมาตรฐานการผลิตที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะวัตถุดิบจากธรรมชาติจากขบวนการหมักสับปะรด ทำให้มีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดได้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ทั่วไปในท้องตลาด แต่ปราศจากสารเคมี นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ยังสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติภายในระยะเวลา 1 เดือนและบรรจุภัณฑ์ยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ