กรมทางหลวงชนบท วางแผนออกแบบทางต่างระดับถนนเวียงบูรพาข้ามถนนพหลโยธิน จังหวัดเชียงราย

จันทร์ ๐๗ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๓
กรมทางหลวงชนบท เตรียมสำรวจออกแบบทางต่างระดับบริเวณถนนสาย จ3 ผังเมืองรวมเมืองเชียงรายตัดกับถนนพหลโยธิน จังหวัดเชียงราย เพื่อแก้ปัญหาจราจรบริเวณทางแยกในอนาคต

เมื่อเร็ว ๆ นี้ (19 ก.พ. 59) ที่ ห้องสุพรรณิการ์ โรงแรมเชียงรายแกรนด์รูม ตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย นายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศ) โครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับถนนสาย จ3 ผังเมืองรวมเมืองเชียงรายตัดกับถนนพหลโยธิน พร้อมด้วย นายพีรพัฒน์ ภู่ตันติกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงชนบทที่ 17 (เชียงราย), นายมานิตย์ นิลเขตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานออกแบบทางในเขตเมือง, นายสาธิต พงษ์พรต ผู้อำนวยการกลุ่มออกแบบทางในชนบท, นายอเนก ณัฐโฆษิต ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทเชียงราย และนายสุเชฏฐ์ ดอกไม้ วิศวกรจากบริษัท พีทีอี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เข้าร่วมรับฟังโดยมีประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริเวณพื้นที่ได้ร่วมประชุมในครั้งนี้กว่า 120 คน

นายอเนก ณัฐโฆษิต ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทเชียงราย กรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า กรมทางหลวงชนบทได้ดำเนินการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายหรือถนนสายผังเมือง สาย จ3 (ถนนเวียงบูรพา) เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองและรองรับการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคต ให้สอดคล้องกับการสนับสนุนการพัฒนาเมืองเชียงรายให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านการขนส่งของภาคเหนือตอนบน

กรมทางหลวงชนบท พิจารณาแล้วและเห็นว่าการเชื่อมโยงแนวถนนวงแหวนด้านทิศตะวันตกของกรมทางหลวงซึ่งขณะกำลังเริ่มดำเนินการก่อสร้างและถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกหรือถนนเวียงบูรพาเข้าด้วยกันนั้น จะเป็นการพัฒนาการจราจรและการชนส่งเชื่อมโยงระบบโครงข่ายคมนาคมให้มีความสมบูรณ์ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการสำรวจออกแบบทางแยกต่างระดับของถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกตัดกับถนนพหลโยธิน ในพื้นที่ของตำบลสันทราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

"การประชุมปฐมนิเทศโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียด แผนงานของโครงการตลอดจนแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมประชุมตามวัน เวลา สถานที่ดังกล่าว เพื่อให้การพัฒนาโครงการมีความสมบูรณ์แบบทางด้านวิศวกรรม สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม" นายอเนก กล่าว

ด้านนายประจญ ปรัชญ์สกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า จังหวัดเชียงรายมีความจำเป็นต้องการเปิดพื้นที่ของการพัฒนาเมืองใหม่ เพื่อให้รองรับกับการการเจริญเติบโตของเมืองในอนาคตให้ทัน เพราะปัจจุบันนี้ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายได้ประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน 3 อำเภอ คือ แม่สาย เชียงราย เชียงแสน และล่าสุดได้ในการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอีก 5 อำเภอ คือ เชียงแสน เชียงของ แม่สาย แม่จันและเมืองเชียงราย จะมีผู้คนเข้ามาเยือนจังหวัดเชียงรายเพิ่มมากขึ้นทั้งภาคการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ฉนั้นแล้วโครงข่ายคมนาคมต้องในจังหวัดมีความจำเป็นต้องพัฒนาให้เพียงพอเพื่อรองรับการพัฒนาด้าน ๆ

"ความสำคัญของจราจรและการขนส่งทั้งทางรถและเครื่องบินจึงมีสูงขึ้น แนวถนนวงแหวนด้านทิศตะวันตกและถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออกหรือถนนเวียงบูรพา ควรมีเชื่อมโยงระบบโครงข่ายคมนาคมให้มีความสมบูรณ์ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งทั้งการคมนาคมของรถสัญจรไปมา การขนส่งโลจิสติกส์ที่มีความสำคัญอย่างมาก กรมทางหลวงชนบทจึงมีหน้าที่ ที่ต้องพัฒนาก่อสร้างถนน ปรับปรุงถนนให้สามารถสนับสนุนการคมนาคมขนส่งสินค้า รองรับการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีรถเกิดเพิ่มขึ้นมามากมาย แต่ถนนไม่ได้เกิด เพราะฉะนั้นวันนี้เราต้องมาระดมความคิดแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะกัน เพื่อรองรับการเติบโตและความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาทั้งทางบกทางอากาศอีกมากมายอย่างแน่นอน" นายประจญ กล่าว

ด้านนายมานิตย์ นิลเขตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานออกแบบทางในเขตเมือง กล่าวว่า บริเวณจุดสิ้นสุดถนนสายผังเมือง สาย จ3 หรือถนนเวียงบูรพาตัดกับถนนพหลโยธินจุดดังกล่าวปัจจุบันเป็นทางแยกระดับพื้น จึงจำเป็นต้องก่อสร้างทางแยกต่างระดับข้ามถนนพหลโยธิน (ตอนเข้าเมืองเชียงราย-อำเภอพาน ประมาณ กม. 821+450) และได้ว่าจ้างได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา คือ บริษัท พีทีอี เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการสำรวจออกแบบ

"ในอนาคตจะปริมาณการจราจรต้องผ่านจุดตัดดังกล่าวเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นทางเลี่ยงเมืองของจังหวัดเชียงราย ทำให้มีโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ทางและเสี่ยงต่อการสูญเสีย เพื่อให้การเดินทางของประชาชนผู้ใช้เส้นทางมีความสะดวกสบาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นทางกรมทางหลวงชนบทจึงมีโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมกับการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเชียงรายด้านการคมนาคมขนส่ง" นายมานิตย์ กล่าว

สำหรับแผนงานโครงการแยกงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 งานสำรวจออกแบบเบื้องต้นและคัดเลือกรูปแบบทางแยกต่างระดับที่เหมาะสม มีระยะเวลาประมาณ 4 เดือน และส่วนที่ 2 งานสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการขั้นสุดท้าย รายงานและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะมีระยะเวลาภายใน 5 วันเช่นกัน โดยหลังจากปฐมนิเทศในวันนี้แล้วเสร็จจะมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อรูปแบบทางแยกต่างระดับที่เหมาะสมของโครงการต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ