สำหรับรถแทรกเตอร์ YANMAR LIMITED EDITION TRACTOR X MANCHESTER UNITED EF514MU นั้นออกแบบโดยเน้นการผสมผสานดีไซน์ที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของทั้งสองแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่ง พร้อมลุยได้ทุกสนาม ด้วยรูปลักษณ์ของแทรกเตอร์ระดับพรีเมี่ยม ที่เปี่ยมด้วยสมรรถนะพันธุ์แกร่งและสุดยอดเทคโนโลยี ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานของเกษตรกร อาทิ เครื่องยนต์ดีเซล TNV ไดเร็คอินเจคชั่น 51 แรงม้า ที่มาพร้อมกับปั๊มลูกสูบ Mono Plunger เผาไหม้หมดจด ประหยัดน้ำมัน เกียร์เมจิกรีเวอร์เซอร์ เดินหน้า 9 เกียร์ ถอยหลัง 9 เกียร์ เปลี่ยนเกียร์ได้อย่างรวดเร็ว ควบคุมง่าย พวงมาลัยระบบช่วยผ่อนแรงแบบไฮโดรสแตติก (Hydrostatic Power Steering) เพลาอำนวยกำลัง (PTO) พร้อมระดับความเร็วที่มีให้เลือกถึง 2 ระดับ และปั้มไฮดรอลิคขนาดใหญ่ สร้างอัตราการไหลได้สูงถึง 33.4 ลิตร/นาที ทำให้สามารถยกอุปกรณ์ที่ปลายแขนยกได้มากถึง 1,350 กิโลกรัม สำหรับภายนอกตกแต่งด้วยสติ๊กเกอร์ลิขสิทธิ์เฉพาะของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดรอบคัน เพิ่มความพรีเมี่ยมด้วยสีพิเศษ ตัวถังสีแดงพรีเมี่ยมเรด และล้อสีทองพรีเมี่ยมโกลด์ เป็นต้น
"ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรของเกษตรกรในประเทศไทยเปลี่ยนไปมาก มีการเปลี่ยนมาใช้รถแทรกเตอร์แทนรถไถเดินตามติดเครื่องยนต์กันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบายและความคุ้มค่าในการใช้งาน ปีนี้เราจึงเข้ามารุกตลาดนี้อย่างจริงจัง โดยมีการปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ยันม่าร์ให้มีความพรีเมี่ยมขึ้น ซึ่งการออกรถแทรกเตอร์รุ่น YANMAR LIMITED EDITION TRACTOR X MANCHESTER UNITED EF514MU ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตรกรยุคใหม่ หรือ Smart Farmer ซึ่งเราตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 3,000 คัน โดยจะมีกิจกรรมการส่งเสริมการขาย ด้วยแพคเกจบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 1,500 ชั่วโมง และขยายระยะเวลารับประกันจากเดิม 1 ปี เป็น 3 ปี ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อให้ตรงความต้องการ ผ่านความร่วมมือของพันธมิตรทางธุรกิจที่จะเข้ามาเป็นตัวนำในการทำตลาด
ในส่วนของการสื่อสารทางการตลาดนั้น จะมีการใช้ช่องทางสื่อออนไลน์ และ Social Media มากขึ้น เพื่อสามารถติดต่อสื่อสารและให้ข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างทันทีทันใด เสริมด้วยสื่อสนับสนุนอื่นๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุในรายการลูกทุ่งเน็ทเวิร์ค สื่อกลางแจ้งบนถนนสายหลักทั้งสายมิตรภาพและสายเอเชีย รวมทั้งสื่ออื่นๆ ณ จุดขาย เป็นต้น พร้อมทั้งจัดกิจกรรมโรดโชว์เพื่อนำรถแทรกเตอร์ไปให้ได้ทดลองขับกันถึงที่ ซึ่งจะเน้นพื้นที่การเกษตรที่เป็นพืชไร่เป็นหลัก โดยได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับแผนงานสื่อสารการตลาดไว้ที่ 10% ของยอดขาย หรือประมาณ 200 ล้านบาท" มร. โคจิ กล่าว
สำหรับตลาดรถแทรกเตอร์โดยรวมของไทยในปีที่ผ่านมามีการชะลอตัวเนื่องจากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ และปัญหาภัยแล้ง ซึ่งล้วนส่งผลต่อกำลังซื้อของเกษตรกร ทำให้การเติบโตของตลาดโดยรวมลดลงมา 10% สำหรับยันม่าร์มีผลประกอบการอยู่ที่ 5,200 ล้านบาท แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 70% ตลาดต่างประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม ออสเตรเลีย และอื่น ๆ อีก 30% และในปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตอยู่ที่ 30% คิดเป็นมูลค่า 7,000 ล้านบาท