CHOW เตรียมเสนอผู้ถือหุ้นไฟเขียว CE ขาย IPO ร่างแผนกระจาย 380 ล้านหุ้น ให้ผถห.เดิม 95 ล้านหุ้น

จันทร์ ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๕๐
CHOW เผยเตรียมขอผู้ถือหุ้นอนุมัติ "เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่" หรือ CE กระจายหุ้น 380 ล้านหุ้น พาร์ 0.50 บาท ตามแผนเข้าจดทะเบียนใน SET หรือ mai เผยขอจัดสรร 95 ล้านหุ้นให้ผู้ถือหุ้น CHOW ส่วนที่เหลือ 285 ล้านหุ้นขายประชาชนทั่วไป หวังลดภาระพึงพา CHOW ระดมทุนใช้ขยายกิจการพลังงานในอนาคต

นายอนาวิล จิรธรรมศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) หรือ CHOW ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแท่งยาว (Steel Billet) รายใหญ่ของประเทศที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และธุรกิจพลังงาน ประเภทโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยถึง ความคืบหน้าการนำบริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (CE) ซึ่งเป็นย่อย เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลาดหลักทรัพย์ mai ว่า บริษัทฯ เตรียมเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติกระจายหุ้น CE ตามที่ได้แจ้งสารสนเทศต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะขออนุมัติเพิ่มทุนจดทะบียนจาก 570,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียน 760,000,000 บาท ด้วยการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 380,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท

ทั้งนี้ ได้เตรียมจัดสรรหุ้นจำนวน 95,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Pre-emptive Rights) และจัดสรรหุ้นจำนวน 285,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท และหุ้นที่เหลือจากการเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Pre-emptive Rights) เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) อย่างไรก็ตาม ภายหลังการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 380,000,000 หุ้น จะส่งผลให้บริษัทฯ มีสัดส่วนการถือหุ้นสามัญของ CE ภายหลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ลดลงจากร้อยละ 90.93 เหลือร้อยละ 68.20 ของทุนชำระแล้ว จำนวน 760,000,000 บาท หรือสัดส่วนการถือหุ้นลดลงร้อยละ 25.00

"การส่ง CE เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนฯ ก็เพื่อประโยชน์ของ CHOW ที่ไม่ต้องมาแบกรับภาระของ CE โดยเฉพาะเรื่องการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่างๆ แก่ CE เช่น การเพิ่มทุนใน CE ของบริษัทฯ การค้ำประกัน การจัดหาแหล่งเงินกู้ การให้เงินกู้ยืม เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้หากไม่มีภาระของ CE จะถือได้ว่า CHOW เป็นบริษัทฯ ที่ปลอดหนี้ ไม่มีหนี้ระยะยาวแล้ว มีเพียงหนี้ระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งจะสะท้อนปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริงยิ่งขึ้น นอกจากนั้น จะทำให้บริษัทสามารถรับรู้มูลค่ากิจการของ CE ตามราคายุติธรรม และรับรู้ผลกำไรที่เกิดขึ้นในกรณีที่บริษัทจำหน่ายเงินลงทุนใน CE ด้วย ในขณะที่ CE จะได้รับประโยชน์โดยจะ เพิ่มช่องทางในการระดมทุนให้กับ CE ทำให้มีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจ การลงทุนเพิ่มในบริษัทย่อยและ/หรือบริษัทร่วมใดๆ และ/หรือ เพื่อใช้ในการชำระคืนเงินกู้ยืมของ CE และ/หรือสำหรับสำรองไว้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนของ CE

ซึ่งจะเพิ่มความแข็งแกร่ง และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้แก่ CE รวมทั้ง เพิ่มมูลค่าและสภาพคล่องให้แก่หุ้นสามัญของ CE ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองบริษัทอย่างแท้จริง" นายอนาวิล กล่าว

สำหรับ บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปัจจุบันเป็นบริษัทย่อยที่ดูแลธุรกิจพลังงาน ในเครือบริษัท เชาว์ สตีล อินดัสทรี้ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจหลักโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น โดยปัจจุบัน CE ถือหุ้นร้อยละ 100 ในบริษัท พรีเมียร์ โซลูชั่น จำกัด (PSCL) ซึ่งประกอบธุรกิจจัดหาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาเช่าหรือซื้อที่ดิน และซื้อขายโครงการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ รวมทั้ง รับบริหารจัดการด้านการออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ และจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง (EPCM) และบริษัท เชาว์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (CI) ผู้ประกอบธุรกิจลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งปัจจุบัน CI มีการลงทุนในโครงการที่พัฒนาโดย PSCL และ/หรือ บริษัทย่อยของ PSCL เท่านั้น โดยในปี 2558 บริษัท เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด มีรายได้รวม 1,062.26 ล้านบาท จากรายได้ 1,033.02 ในปี 2557 มีค่าใช้จ่ายรวม 93.18 ล้านบาท จาก 125.07 ในปี 2557 และมีกำไรสุทธิ 29.24 ล้านบาท จากขาดทุนสุทธิ 31.89 ล้านบาทในปี 2557 ซึ่งเป็นปีที่ลงทุนโดยยังไม่มีการรับรู้รายได้ และเริ่มรับรู้รายได้เป็นครั้งแรกในปลายปี 2558

"รายได้ในปี 58 มีรายได้การบริหารโครงการก่อสร้างประมาณ ประมาณ 50 เกมะวัตต์ หรือประมาณ 350 ล้านบาท และส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากการขายไฟซึ่งยังน้อยมาก เมื่อเทียบกับโครงการที่ได้ลงทุนไว้ทั้งหมด เนื่องจากเป็นปีแรกที่เราเริ่มรับรู้รายได้จากการขายไฟให้กับการไฟฟ้าญี่ปุ่น เพราะโครงการโรงไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเชื่อมสายส่งเพื่อจ่ายไฟในเชิงพาณิชย์ (COD) ในช่วงปลายปี 2558 โดย ณ สิ้นสุดไตรมาสที่ 4/2558 โรงไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นได้เชื่อมต่อสายส่งเพื่อรอขายไฟจำนวน 23 เมกะวัตต์ และสามารถขายไฟเชิงพาณิชย์จำนวน 9.08 เมกะวัตต์ จึงทำให้การรับรู้รายได้ในปี 2558 เริ่มเห็นชัดเจนขึ้นในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 โครงการโรงไฟฟ้าที่เชื่อมต่อสายส่งทั้ง 23 เมกะวัตต์จะรับรู้รายได้เต็มปี และจะมีโครงการอื่นๆเชื่อมต่อสายส่งเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าในปี 2559 "เชาว์ เอ็นเนอร์ยี่" จะขายไฟเชิงพาณิชย์ได้ถึง 80 เมกะวัตต์" นายอนาวิล กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี