ซีพีเอฟ ส่งเสริมบุคลากรบริหารจัดการเงิน สร้างองค์กรแห่งความสุข

อังคาร ๑๕ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๓๔
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จัดโครงการปลดหนี้สร้างสุข และ ส่งเสริมการออม มุ่งแก้ปัญหาหนี้บัตรเครดิต และหนี้นอกระบบให้กับพนักงาน ด้วยการจัดหาแหล่งเงินดอกเบี้ยต่ำ นำร่องในฟาร์มสุกร 12 แห่งทั่วประเทศ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้วิธีการบริหารจัดการด้านการเงิน และวินัยทางการเงินที่ดี เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และความสุขอย่างยั่งยืน

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟให้ความสำคัญต่อ"พนักงาน" เพราะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่เป้าหมาย และนำพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน บริษัทจึงริเริ่มโครงการและสวัสดิการต่าง ๆ เพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานให้ดีขึ้น ซึ่ง "โครงการปลดหนี้สร้างสุข และ ส่งเสริมการออม" นับเป็นโครงการที่ช่วยปลดหนี้ให้พนักงาน โดย ร่วมกับธนาคารออมสิน ให้วงเงินกู้มาเพื่อ ช่วยเหลือลดภาระดอกเบี้ยจากเดิม 3-20% ต่อเดือน ให้เหลือประมาณ 0.5% ต่อเดือน ไปพร้อม ๆ กับการส่งเสริมการออม และเสริมสร้างและเรียนรู้ด้านการเงินด้วยการทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างวินัยการเงินที่ดีให้กับพนักงาน

"โครงการนี้นับเป็นหนึ่งในการทำ CSR ให้กับพนักงาน จากมุมมอง 3 ด้าน คือ สุขภาพกาย สุขภาพใจ และ และสุขภาพเงิน โดยเรื่องสุขภาพกาย และสุขภาพใจเราทำอยู่แล้ว แต่สุขภาพเงินนั้น จากการสำรวจพบว่าพนักงานยังมีปัญหาภาระการเงินอยู่จึงให้ทำแบบสำรวจโดยให้เขียนภาระการเงินของตน ซึ่งพบว่า 75% มีภาระหนี้สินทั้งในและนอกระบบ มีพนักงาน ที่มีหนี้สินจำนวนมาก และ ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นของตัวเองและไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำได้ บริษัทจึงริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมาและดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน มีฟาร์มนำร่องเข้าร่วมโครงการ 12 ฟาร์ม ทั่วประเทศ โดยมีพนักงานสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 104คน และได้เงินสินเชื่อจากธนาคารกว่า 13 ล้านบาท" นายสมพร กล่าว

โครงการปลดหนี้สร้างสุขและส่งเสริมการออม ได้ดำเนินโครงการใน 12 ฟาร์มใน 5 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย ฟาร์มชัยภูมิ , จังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ฟาร์มคอนสวรรค์ และ ฟาร์มพนมสารคาม, จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ฟาร์มเกษตรสันติราษฎร์ และ ฟาร์มไร่สาม, จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย ฟาร์มจอมทอง, จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วย ฟาร์มคำพราน , ฟาร์มคำพราน 2 , ฟาร์มพระพุทธบาท , ฟาร์มแสลงพัน , โครงการส่งเสริมสระบุรี และฟาร์ม 5 ไร่

ซีพีเอฟ ได้วางแนวทางในการดำเนินโครงการไว้ 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพด้านการเงิน 2. การสำรวจภาระการเงินส่วนบุคคล 3. การหาแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำ 4. การคัดเลือกผู้กู้ 5. การคืนหนี้ให้เจ้าหนี้และสถาบันการเงิน 6. การชำระเงินกู้คืนแก่ธนาคาร 7. การรณรงค์การออมเงิน ทั้งผู้ที่มีภาระหนี้สิน และชักชวนผู้ที่ไม่มีภาระหนี้สินมาร่วมออมด้วย ผ่านการเปิดสมุดบัญชีฝากประจำ, ซื้อฉลากออมสิน หรือ ฉลาก ธกส ฯลฯ และ 8. การติดตามผล เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับพนักงาน ส่งผลให้พนักงานกลับมามีความสุข ตั้งใจทำงาน ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพื้นฐานอนาคตที่ดีให้กับพนักงาน ซึ่งพนักงานเหล่านี้จะช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

หนึ่งในพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ นายมาโนต-นางบุญหลง แจงตคุ พนักงานฟาร์มพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า ตนเองและสามีมีหนี้บัตรเครดิตและหนี้นอกระบบ ซึ่งเป็นหนี้ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลูกบ้านใหม่ เนื่องจากแยกครอบครัวออกมา ประกอบกับแม่สามีและพี่ชายสามีมาเสียชีวิต จึงทำให้ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ทั้งยังต้องส่งลูกในวัยเรียน 2 คน เรียนหนังสือ ทำให้การเงินมีปัญหา ซึ่งหลังเข้าร่วมโครงการทำให้สิ้นเดือนไม่ต้องเครียดหาเงินจ่ายบัตรเครดิต ทำให้มีความสุขมากขึ้น

นางบุญมา สุขไซแอม อายุ 53 ปี แม่ครัว ฟาร์มพระพุทธบาท จังหวัด สระบุรี เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเป็นหนี้ว่า เกิดจากการมีเงินไม่พอใช้จ่ายภายในครอบครัวเรือน และต้องส่งลูกเรียนถึง 2 คน เมื่อเงินไม่พอ จึงใช้วิธียืมเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้เป็นหนี้สะสม นอกจากนี้ยังนำเงินไปซื้อรถจักรยานยนต์ และ จัดงานแต่งงานให้ลูก ก่อเกิดเป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ เพียงเพื่ออยากให้ มีเงินมาหมุนใช้หนี้ในแต่ละเดือน ๆ ทำให้ชีวิตลำบากมาก เงินเดือนไม่พอที่จ่ายหนี้ หลังเลิกงานต้องไปกรอกมูลสุกร เพื่อเป็นรายได้เสริม โดยเฉพาะช่วงต้นเดือน จะถูกทวงหนี้ ทำให้กังวลตลอดเวลา ซึ่งหลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ของบริษัท เข้ามาช่วยปลดหนี้ ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น สบายใจ ไม่ต้องคอยหลบการทวงหนี้ ทำให้มีเงินใช้จ่ายในครอบครัวเพียงพอ และเหลือบางส่วนเก็บสะสม

พนักงานที่เข้าร่วมโครงการทุกคนต่างมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะนอกจากพวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือจากบริษัทในการแก้ไขปัญหาแล้ว บริษัทยังสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้พนักงานกลับไปประสบปัญหาด้านการเงินอีกครั้ง ให้ด้วยการจัดสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพด้านการเงิน ได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน ทำให้ทราบรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง อันนำไปสู่ความสามารถในการวางแผนทางการเงินและการวางแผนการออมในอนาคตได้เป็นอย่างดี" นายสมพร กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม