บลจ.ภัทร ส่งกองทุน Phatra Smart Minimum Volatility การลงทุนรูปแบบใหม่ในภาวะความไม่แน่นอน

อังคาร ๑๕ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๐๕
บลจ. ภัทร เตรียมส่งกองทุน Phatra Smart Minimum Volatility กองทุนรวมหุ้นไทยกองแรกที่ใช้กลยุทธ์ลดความผันผวนของผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมตอบรับการลงทุนท่ามกลางความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ต่อยอดเงินลงทุนให้เติบโตในระยะยาว

นายยุทธพล ลาภละมูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด (บลจ. ภัทร) เปิดเผยว่า กองทุน Phatra Smart Minimum Volatility เป็นกองทุนประเภทตราสารแห่งทุนซึ่งมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมโดยกองทุนจะพิจารณาคัดเลือกหลักทรัพย์เพื่อลดความเสี่ยงและ/หรือลดความผันผวนของการลงทุนโดยรวมของกองทุนภายใต้แนวคิดการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน (Portfolio ของกองทุน) จะมีเป้าหมายให้ความผันผวนที่คาด (expected volatility) ของ Portfolio อยู่ในระดับต่ำที่สุดซึ่งการคาดการณ์ความผันผวนอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดและการคาดการณ์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในขณะที่สร้างPortfolio เช่นการกระจายการลงทุนสภาพคล่องของหลักทรัพย์รายตัวอัตราการเติบโตของรายได้หรือกำไรของบริษัทอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นต้น

กองทุนนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง บลจ. ภัทรและ บล. ภัทร ในฐานะที่ปรึกษาการลงทุนของกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่คิดค้นพัฒนาจาก Investment Lab ของ บล.ภัทรหนึ่งในผู้นำการคิดค้นพร้อมทีมงานที่มีประสบการณ์ตรงในด้านตลาดหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างยาวนานได้นำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่มาเชื่อมต่อเพื่อให้ได้กองทุนรวมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดีดังนั้นกองทุนรวมนี้ถือได้ว่าเป็นกองทุนรวมที่ได้รับการบริหารจัดการโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพและที่ปรึกษาการลงทุนที่มีความรู้มีประสบการณ์ในกลยุทธ์นั้นๆและมีความเข้าใจพื้นฐานของกองทุนรวมแต่ละประเภทและความต้องการของผู้ลงทุน

กองทุน Phatra Smart Minimum Volatility เป็นกองทุนที่นำเอากลยุทธการลงทุนแบบSmart Beta ได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดโลกเข้ามาปรับใช้ โดยเป็นการผสมผสานกลยุทธ์การลงทุนเชิงรุกและกลยุทธ์การลงทุนเชิงรับเข้ามาไว้ด้วยกันมุ่งเน้นผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูงกว่าตลาดหุ้นและเป็นการนำข้อดีของการลงทุนเชิงรับในด้านการลงทุนที่เป็นระบบช่วยลดต้นทุนและลดความผิดพลาดที่อาจเกิดจากการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุนมาผนวกรวมกับข้อดีของการลงทุนเชิงรุกที่มุ่งเน้นการสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าดัชนีชี้วัดที่คำนวณโดยใช้มูลค่าตลาดเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนน้อย ความเสี่ยงต่ำ แต่สามารถให้ผลตอบแทนต่อความเสี่ยงสูง

กองทุนนี้คาดว่าจะเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่16-22 มีนาคม2559 ด้วยมูลค่าโครงการ 5,000 ล้านบาทขั้นต่ำการลงทุนที่5,000บาทโดยกองทุนอาจมีการจ่ายเงินปันผลโดยพิจารณาจ่ายเงินปันผลจากกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิเมื่อกองทุนรวมมีกำไรสะสมหรือมีกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลและการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้กองทุนรวมมีผลขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีการจ่ายเงินปันผลนั้นทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลจะพิจารณาจ่ายในอัตราไม่เกินร้อยละ100 ของกำไรสะสมหรือกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่จะจ่ายเงินปันผลตามที่บริษัทจัดการพิจารณาเห็นสมควร

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ภัทร จำกัด โทร 0-2305-9800

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล นโยบายการลงทุน ความเสี่ยงของกองทุน และผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนการตัดสินใจลงทุน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๑ ไวไว.ร่วมงาน แม็คโคร มหกรรมธุรกิจอาหารประเทศไทย ครั้งที่ 17 ภายใต้แนวคิด THE NEW POSSIBLE ทุกสิ่งเป็นจริงได้
๑๖:๔๖ งดเผาในที่โล่ง ลดมลพิษจากหมอกควันและฝุ่น PM2.5
๑๖:๔๔ เสียวหมี่ต้อนรับเทศกาลช้อปปิ้ง 11.11 วางจำหน่ายสายรัดข้อมืออัจฉริยะรุ่นใหม่ Xiaomi Smart Band 9 Pro และ Xiaomi Smart Band 9 Active
๑๖:๓๑ เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝุ่นกับ 9 วิธีป้องกันฝุ่นละออง PM2.5
๑๖:๑๗ UAC เสิร์ฟข่าวดี โชว์กำไรเฉพาะกิจการ Q3 พุ่ง 700% สูงสุดเป็นประวัติการณ์
๑๖:๒๐ SMPC โชว์ฟอร์มแกร่ง 9 เดือน กำไรเฉียด 452 ลบ. พุ่งกว่า 68% โกยรายได้ 3,445 ลบ. ส่งซิก Q4 โตต่อเนื่อง หนุนยอดขายทั้งปีเติบโต 20%
๑๖:๒๔ คุมมาตรฐานเตาเผาศพ ลดมลพิษทางอากาศ
๑๖:๔๙ ครบรอบ 50 ปี มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.ฯ จัดทำของที่ระลึกการกุศลชุดพิเศษ กระเป๋าผ้าพร้อมพวงกุญแจ Together เป็นการร่วมออกแบบ Collaboration ระหว่างศิลปินเยาวชนบุคคลออทิสติกต้นแบบประจำปี
๑๖:๕๘ เอราวัณ แบงค็อก ศูนย์กลางแหล่งไลฟ์สไตล์ Eat-Play-Live ครบวงจรสำหรับคนเมือง
๑๕:๐๒ CAAT เล็งเห็นศักยภาพการเลือกใช้ Drone ของตลาดโลก เปิดเวที Thailand Drone Exhibition and Symposium 2024