สสส.จับมือท้องถิ่นวังสะพุง ดึงตั้งสภาชุมชนร่วมคิดร่วมทำ แก้ปัญหาขยะล้นเมือง ส่งผลบ้านสะอาดปราศจากขยะ

พุธ ๑๖ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๐๙
ทึ่ง! พบเมืองวังสะพุงปลอดถังขยะ หน้าบ้านสวย ปลูกผักไร้สารด้วยปุ๋ยไส้เดือนดินจากขยะ นายกฯวังสะพุงเผยการมีส่วนร่วมของชุมชนคือกุญแจสำคัญของความสำเร็จ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับเทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย ดำเนินโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ หนุน 4 ชุมชน ประกอบไปด้วยชุมชนวังสะพุง 1,2 จอมมณี 1,2 เขตเทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย ดึงประชาชนร่วมแก้สิ่งแวดล้อม ลดขยะจนไม่เหลือถัง ตั้งธนาคารรับซื้อ ขยะอินทรีย์นำมาเลี้ยงไส้เดือนดินปลูกผักไร้สารรับประทานทานเอง พร้อมอวดหน้าบ้าน-หลังบ้านสวย น่าอยู่

นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล นายกเทศมนตรีเมืองวังสะพุง กล่าวว่า ที่อำเภอวังสะพุงไม่มีที่ทิ้งขยะเป็นของตัวเอง ต้องนำไปทิ้งที่เทศบาลเมืองเลย ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ไปกลับถึง 80 กิโลเมตร ทำให้ใช้งบประมาณในเรื่องการจัดการขยะค่อนข้างสูงและภารกิจการจัดการขยะทั้งหมดเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทางเทศบาลฯ การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด จึงคิดโครงการหน้าบ้านน่ามองขึ้นมาริเริ่มการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตั้งแต่ปี 2552 พอมาปีนี้ 2556 ก็ทำงานควบคู่กันกับ 4 ชุมชนที่ขอรับการสนับสนุนทุนจากโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำรูปแบบการตั้งคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ในแต่ละชุมชนมีจำนวนกว่า 30 คน เพื่อดึงสมาชิกในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานทุกขั้นตอน

นางดรุณี มาลี ประธานชุมชนวังสะพุง 1 กล่าวว่าชุมชนวังสะพุง 1 ชุมชนเมืองขนาดเล็ก 85 ครัวเรือน เดิมมีปัญหาขยะหมักหมม ล้นถัง การปล่อยน้ำเสียลงหน้าบ้าน แก้ไขปัญหาผ่านคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนเริ่มจากการทำความสะอาดหน้าบ้าน-หลังบ้าน ถนน สถานที่สาธารณะช่วยกันทุกวัน กำหนดกติกาการจัดการขยะที่ทุกครัวเรือนต้องปฏิบัติตาม คือ การคัดแยะขยะครัวเรือน ลดปริมาณขยะ และนำขยะรีไซเคิลไปใช้ประโยชน์ซ้ำ

นางสาววีรพรรณ ลาวัลย์ ประธานชุมชนวังสะพุง 2 กล่าวว่าจำนวนกว่า 30 % ของคนในชุมชนนี้มีอาชีพปลูกผักริมแม่น้ำเลยขาย มีปัญหาเรื่องสารเคมีทางการเกษตร เพราะค่าใช้จ่ายเพิ่ม ขณะเดียวกันคนในชุมชนบางส่วนที่ไม่ได้ปลูกผักก็ซื้อจากตลาดสดในชุมชนบริโภค คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนกว่า 30 คน จึงคิดแก้ไขปัญหาผ่านโครงการการปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ ไร้สารพิษ ใช้พื้นที่หน้าบ้านและพื้นที่สาธารณะ ปลูกผักทานเองกว่า 20 ชนิด ส่วนที่เหลือนำมาแบ่งปันกันในชุมชน ส่งผลให้พื้นที่หน้าบ้านเป็นลานกิจกรรมที่ดึงคนออกจากบ้าน มาช่วยกันปลูกผัก รดน้ำผักในทุกเช้าเย็น เกิดการพูดคุยนำมาซึ่งความรัก ความสามัคคี และการแบ่งปันผักกัน ที่สำคัญทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพดีมากขึ้นด้วย

นายชาญยุทธ์ ปทุมานนท์ คณะกรรมการชุมชนจอมมณี 1 กล่าวว่าในชุมชนมีปัญหาขยะเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะทิ้งขยะไม่เป็นที่ โดยทิ้งตามไหล่ทาง มุมถนนจนเกิดความสกปรก จากการสำรวจปริมาณขยะต่อวันเฉลี่ยเพียง 600 กิโลกรัมและส่วนใหญ่ร้อยละ 40 ที่ถูกทิ้งเรี่ยราด เป็นขยะย่อยสลายจากเศษอาหารในครัวเรือน จึงได้นำมาเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์ฮอลแลนด์ และสายพันธุ์แม่โจ้ เพื่อย่อยสลายขยะให้เป็นน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน จำหน่ายขวดละ 10 บาทให้แก่ชุมชนรอบข้างที่ปลูกผักหน้าบ้าน ส่วนสายพันธุ์ไส้เดือนดิน จำหน่ายราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 600 บาท ปัจจุบันมีการเลี้ยงไส้เดือนดินกว่า 10 บ่อ

ด้านนางนารีรัตน์ สีหาราช คณะกรรมการสภาชุมชนจอมมณี 2 กล่าวว่าชุมชนมีปัญหาไม่แตกต่างจากชุมชนอื่น โดยเฉพาะเรื่องการจัดการขยะ การแก้ไขปัญหามุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้เพื่อคัดแยกขยะ การส่งเสริมการแปรรูปขยะ เช่น ถุงผ้าจากขยะรีไซเคิล ที่สมาชิกในชุมชนกว่า 50 ครัวเรือน ถือไปจ่ายตลาดเป็นประจำ การจัดการขยะผ่านการตั้งธนาคารขยะชุนชนเปิดรับซื้อเดือนละ 1 ครั้ง ทำให้มีปริมาณขยะเหลือให้รถเทศบาลเก็บเพียง 140 กิโลกรัมต่อวัน จากเดิมสูงถึง 500 กิโลกรัม เป็นต้น

นายเดชา จำปาภา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองวังสะพุง กล่าวว่าการทำงานของทางเทศบาลเมืองวังสะพุงเน้นที่การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็ได้รับทุนสนับสนุนจากสสส.ซึ่งมีกระบวนการหนุนเสริมเรื่องการสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เมื่อมาทำงานควบคู่กันกันอย่างต่อเนื่อง จึงได้รับความร่วมมือชาวบ้านทุกคน ซึ่งปัจจุบัน ทั้ง 4 ชุมชน เป็นชุมชนที่ไม่มีถังขยะวางหน้าบ้านเลย

ปัจจุบันทั้ง 4 ชุมชน กลายเป็นต้นแบบการสร้างวินัยคนเมือง ให้รักความสะอาด จัดการสิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี คนในชุมชนมีความรักความสามัคคี อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขท่ามกลางชุมชนที่สะอาดและสวยงาม เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเกิดเป็นต้นแบบหรือแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เดินทางเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้เดือนละกว่า 20 คณะ

คนึงนุช วงศ์เย็น มูลนิธิสื่อสร้างสุข

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version