กองทุนบัวหลวง คว้า 3 ใน 8 รางวัล จากงาน Morningstar Thailand Fund Awards 2016

อังคาร ๒๒ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๓๕
รางวัล Morningstar Awards มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบรางวัลให้แก่ กองทุน กับ บลจ.ที่มีความยอดเยี่ยม ประสบความสำเร็จ และมีผลการดำเนินงานที่ปรับด้วยความเสี่ยงแล้วดีที่สุดในแต่ละกลุ่ม (Morningstar Categories) ตลอดอดีต 5 ปีที่ผ่านมา

โดย Morningstar พิจารณาทั้งผลตอบแทนกับความเสี่ยง (Return and Risk) รวมทั้งมีการพิจารณาเชิงคุณภาพ (Qualitative) ซึ่งประกอบด้วย ความโป่รงใสในการบริหารงานของผู้บริหารกองทุน และความสม่ำเสมอของกลยุทธ์ (สไตล์) ในการลงทุนของกองทุน เป็นต้น

หลักการพิจารณารางวัลนี้เป็นมาตรฐานเดียวกันที่ Morningstar ใช้ทั่วโลก และนับเป็นปีที่ 7 ติดต่อกันแล้วที่ได้มีการมอบรางวัลนี้ในประเทศไทย

รางวัลทั้งหมดมี 8 รางวัล แบ่งเป็นรางวัลระดับกองทุน (Morningstar Category Awards) 6 รางวัล (ได้รับป้ายสี่เหลี่ยมประกาศเกียรติคุณ)

และอีก 2 รางวัลใหญ่สุด ได้แก่ รางวัลของ บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยม (Morningstar Fund House Awards) ด้วยการลงทุนหุ้นในภายประเทศ และด้านการลงทุนตราสารหนี้ในภายประเทศ (ได้รับรางวัลถ้วยแดง) โดยรางวัลในกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะมอบรางวัลให้แก่ บริษัทจัดการกองทุนที่มีผลการดำเนินการยอดเยี่ยมในแต่ละนโยบายการลงทุน โดย Morningstar ได้นำเอากองทุนทุกกองทุนที่บริษัททำการบริหารอยู่ภายใต้แต่ละนโยบาย (แบ่งเป็น กลุ่มหุ้น กับ กลุ่มตราสารหนี้) มาพิจารณา เพื่อที่จะดูถึงความสม่ำเสมอในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ตลอดจนความเท่าเทียมกันในการบริหารกองทุนในทุกๆ กอง

ผลการตัดสิน

รางวัลระดับกองทุน 6 รางวัล (Morningstar Category Awards) แบ่งเป็นกองทุนหุ้น 3 รางวัล กับกองทุนตราสารหนี้อีก 3 รางวัล ดังนี้

ประเภทกองทุนตราสารทุน (กองทุนหุ้น) 3 รางวัล

1. กองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยมประเภท กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ผู้ได้รางวัลได้แก่ กองทุนเปิดบ้วหลวงทศพล โดย บลจ.บัวหลวง

2. กองทุนรวมหุ้นระยะยาวยอดเยี่ยม (LTF) ผู้ได้รางวัลได้แก่ กองทุนเปิดภัทร หุ้นระยะยาวปันผล โดยบลจ.ภัทร

3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพยอดเยี่ยม ประเภทหุ้น (RMF Equity) ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ โดย บลจ.บัวหลวง

ประเภทกองทุนตราสารหนี้ มี 3 รางวัล

1. กองทุนตราสารหนี้ยอดเยี่ยม ประเภทตราสารหนี้ระยะสั้น (Short Term Bond) ได้แก่ กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ โดย บลจ.ธนชาต

2. กองทุนตราสารหนี้ยอดเยี่ยม ประเภทตราสารหนี้ระยะปานกลาง-ยาว (Mid/Long Term Bond) ได้แก่ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ โดย บลจ.กสิกรไทย

3. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพยอดเยี่ยม ประเภท RMF ตราสารหนี้ ได้แก่ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ โดย บลจ.ธนชาต

ส่วนรางวัลใหญ่ถ้วยแดง ระดับ บลจ. อีก 2 รางวัลนั้น เรียกเป็นระดับเซียน หรือ Morningstar Fund House Awards -บริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยม มี 2 รางวัล ได้แก่

1. รางวัล บลจ. ยอดเยี่ยม ในด้านการจัดการกองทุนหุ้นในประเทศ หรือเรียกว่าเป็น บลจ.ที่เป็นอันดับหนึ่ง ด้านการบริหารกองทุนหุ้น (Fund House Awards - Domestic Equity) ได้แก่ บลจ.บัวหลวง

2. รางวัล บลจ. ยอดเยี่ยม ประเภทกองทุนตราสารหนี้ในประเทศ (Fund House Awards - Domestic Fixed Income) ได้แก่ บลจ.ธนชาต

หมายเหตุ (อธิบายที่มาของ 3 ใน 8 รางวัล ที่ บลจ.บัวหลวง ได้รับ)

1. รางวัลระดับกองทุนที่เราได้รับ .... กองทุนตราสารทุนยอดเยี่ยม ปี 2016 ประเภท กองทุนหุ้นขนาดใหญ่ (Equity Large Cap) ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล โดย บลจ.บัวหลวง

นับเป็นครั้งที่ 2 ของ กองทุนเปิดบัวหลวงทศพล กองทุน 5 ดาว ที่สามารถคว้ารางวัลกองทุนยอดเยี่ยมในกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ไปได้ ด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งกลุ่มกองทุนประเภทเดียวกันทั้งอุตสาหกรรม โดยสูงกว่าถึงเกือบ 10% ในรอบ 5 ปี และอยู่ในระดับ top decile ถึง 3 ใน 5 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งความเสี่ยงทก็ต่ำกว่าเฉลี่ยของกลุ่ม ทั้งๆ ที่เลือกลงทุนหุ้นเฉลี่ยเพียง 10 ตัวเท่านั้น

นี่คือความความโดดเด่นของกองทุน

2. รางวัลระดับกองทุนที่เราได้รับอีกรางวัล คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพยอดเยี่ยม ปี 2016 ประเภท ตราสารทุน (RMF– Equity) ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ โดย บลจ.บัวหลวง

กองทุนเปิดบัวหลวงตราสารทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (Bualuang RMF Equity) อีกกองทุน 5 ดาว ที่สามารถคว้ารางวัล RMF Equity ไปได้ด้วยความโดดเด่นในการให้ผลตอบแทนที่ดี พร้อมทั้งการควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับต่ำได้อย่างสม่ำเสมอ

ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 13.08% ต่อปีโดยเฉลี่ย

3. รางวัลใหญ่สุด ระดับบริษัท คือรางวัลจัดการกองทุนยอดเยี่ยมประเภทการลงทุนหุ้นภายในประเทศ (Domestic Equity) ปี2016 (เรียกกันเองว่า รางวัลถ้วยแดง ในขณะที่รางวัลระดับกองทุนคือป้ายสี่เหลี่ยมประกาศเกียรติคุณ) --- ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด (เสียงเชียร์สนั่นห้อง)

นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันสำหรับ บลจ.บัวหลวงที่สามารถคว้ารางวัลบริษัทจัดการกองทุนยอดเยี่ยม ประเภทการลงทุนหุ้นภายในประเทศ (Domestic Equity) ด้วยสไตล์การลงทุนแบบ Value Investing ที่ชัดเจน ประกอบกับการคัดเลือกหุ้นที่แม่นยำ เชื่อมั่นในการลงทุนระยะยาว และทีมผู้จัดการกองทุนที่มากประสบการณ์

เหล่านี้จึงเป็นเหตุให้กองทุนหุ้นในประเทศของ บลจ.บัวหลวง โดดเด่นและประสบความสำเร็จโดยตลอดมา

รางวัลนี้มีความหมายมาก เพราะเป็นรางวัลที่วัดกันในระดับบริษัท หรือ บลจ. กันเลย ซึ่งมี 2 รางวัล ได้แก่ บลจ.ที่เป็นเลิศด้านหุ้น และเราได้รางวัลนี้ 2 ปีติดกัน โดย ....

- 8 ใน 15 กองทุนหุ้นในประเทศของเราได้รับ 5 ดาวจาก Morningstar

- กองทุนหุ้นของเรามีค่าจัดการกองทุนรวมค่าใช้จ่ายทุกชนิดที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม

- และที่สำคัญคือ สามารถให้ผลตอบแทนสูงในขณะที่มีค่าความเสี่ยงที่ต่ำกว่ากองทุนหุ้นต่างๆ ของทั้งอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๓๘ บางจากฯ ร่วมสร้างสีสัน ส่งต่อสุขภาพดี ชวน เมย์ รัชนก ร่วมแข่งกีฬา Econmass Sport Day 2024
๑๖:๐๐ จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม เอิ้นหาพี่น้องโค้งสุดท้าย! ชวนมาม่วนซื่นส่งท้ายปี สูดอากาศดีกลางทุ่งดอกไม้บาน ชมงานศิลป์สุดอลัง พร้อมกิจกรรมม่วน ๆ ทั้งครอบครัว 2 สัปดาห์สุดท้าย
๑๕:๓๘ MediaTek เปิดตัว Dimensity 8400 ชิป All Big Core รุ่นแรกสำหรับสมาร์ทโฟนพรีเมียม
๑๕:๕๔ เปิด 10 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัลปี 2024 ปีแห่งความหลากหลายด้านป๊อปคัลเจอร์ โดย LINE ประเทศไทย
๑๕:๒๕ สุรพงษ์ ส่งมอบความสุข ขยายเวลาให้บริการสายสีแดง ถึง ตี 2 ในคืนเคานต์ดาวน์ เป็นของขวัญปีใหม่มอบให้แก่ประชาชน
๑๕:๐๗ เอ็นไอเอคัด 8 ผู้ประกอบการไทยสายการแพทย์ - สุขภาพ คว้าโอกาสบุกตลาดเยอรมนี - ยุโรป พร้อมโชว์จุดแข็งในงาน Medica 2024 ตอกย้ำไทย
๑๕:๒๖ EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ AA ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
๑๕:๕๖ เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ แมกซ์ โซลูชัน ส่งมอบความสุขและความอุ่นใจ ต้อนรับเทศกาลปีใหม่แก่สมาชิก Max Card ผ่าน กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ
๑๕:๔๘ แอสตร้าเซนเนก้า ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อขับเคลื่อนการวิจัยทางคลินิกในไทย
๑๕:๓๒ ซีเอ็มเอ็มยู มุ่งผลิตบุคลากรชั้นนำผ่านนวัตกรรมการศึกษาและงานวิจัยระดับโลก พร้อมจุดประกายภาคเศรษฐกิจ - สังคม เปลี่ยนแหล่งเรียนรู้สู่ พาร์ทเนอร์การเรียนรู้