สถาบันการบินพลเรือน ร่วม กับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ร่วมแถลงข่าวมาตรฐานสถานศึกษาที่เปิดสอนด้านการบินในประเทศไทย

พุธ ๒๓ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๔
สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) ร่วมกับ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. แถลงข่าวเรื่อง "มาตรฐานสถานศึกษาที่เปิดสอนด้านการบินในประเทศไทย" โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, นาวาอากาศเอก จิรพล เกื้อด้วง ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน และ นาวาอากาศตรี ดร.วัฒนา มานนท์ รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ สถาบันการบินพลเรือน เป็นผู้ร่วมแถลงข่าว ในวันที่ 15 มีนาคม 2559 ณ สถาบันการบินพลเรือน กรุงเทพฯ

สมศ.เปิดสถิติคุณภาพโรงเรียนการบิน ในปัจจุบันประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอนด้านการบิน จำนวน 26 แห่ง ทุกแห่งที่ได้รับผลประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม อยู่ในระดับดี-ดีมาก ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการนักบินใหม่เพื่อเพิ่มและทดแทนปีละ 400-500 คน แต่ในขณะที่ปัจจุบันสามารถผลิตนักบินได้เพียงปีละ 200-300 คน อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมการบิน มีความสำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากประเทศต้องพัฒนาเครื่องมือและองค์ประกอบด้านการบิน และบุคลากร แล้วยังต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานการศึกษา เพื่อสร้างบุคลากรด้านการบินที่มีคุณภาพรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านการบินของอาเซียน

ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านการบิน จำนวน 26 แห่ง โดยที่เปิดสอนในรูปแบบสถาบันการบินและคณะการบินจำนวน 5 แห่ง ซึ่งมี 3 แห่งที่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม(พ.ศ.2554-2558) และอยู่ในระดับคุณภาพดี ได้แก่ สถาบันการบินพลเรือน มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย มหาวิทยาลัยรังสิต และอีก 2 แห่งที่ได้เปิดสถาบันการบินเพิ่ม และจะได้รับการประประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) คือ มหาวิทยาลัยนครพนม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ จังหวัดชลบุรี นอกจากนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษา อีก 21 แห่ง ที่มีการเปิดสอนหลักสูตรหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน ล้วนมีผลการประเมินของ สมศ. อยู่ในระดับดี-ดีมาก แต่ทั้งนี้จะพบว่า มีสถาบันการบินพลเรือนเปิดสอนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบินแบบครบวงจรใน 2 กลุ่มหลักสูตร ดังนี้ 1) หลักสูตรภาคอากาศ อาทิ หลักสูตรนักบินพาณิชย์ หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล หลักสูตรครูการบิน และ 2) หลักสูตรภาคพื้น อาทิ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรนายช่างบำรุงรักษาอากาศยานเป็นต้น ซึ่งตั้งแต่ก่อตั้งมาได้ผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินมาแล้วรวมกว่า 25,000 คน และจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม สถาบันการบินพลเรือนเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางมีจุดเด่นในด้านคุณภาพอาจารย์ และคุณภาพบัณฑิตจบแล้วมีงานทำ อยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านการบินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนนักศึกษาที่สนใจเข้าเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 56 มีนักศึกษาประมาณกว่า 5,000 คน ปี 57 มีมากกว่า 9,000 คน และปี 58 มีมากกว่า 15,000 คน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในอุตสาหกรรมการบินมีความสำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากความต้องการในการเดินทางที่สะดวกรวดเร็ว ตลอดจนนโยบายของภาครัฐที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการบิน เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมก้าวเข้าสู่ความเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทางอากาศของอาเซียนจึงจำเป็นต้องพร้อมทั้งในด้านสนามบิน เครื่องมือและองค์ประกอบด้านการบิน และบุคลากร รวมถึงมาตรฐานการศึกษา ไปพร้อมๆ กัน

นาวาอากาศเอกจิรพล เกื้อด้วง ผู้ว่าการสถาบันการบินพลเรือน กล่าวว่า สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจหลักในการผลิตและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบินและดำเนินกิจการเกี่ยวกับบริการช่างอากาศยาน บริการอากาศยาน และกิจการอื่นเกี่ยวกับกิจการบินเพื่อประโยชน์ในการผลิตบุคลากรดังกล่าว เป็นสถานบันการศึกษาเฉพาะทางด้านการบินที่มีความครอบคลุมเนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนมากที่สุด และได้รับการรับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) สำนักงานคณะกรรมอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และตามมาตรฐานจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยได้รับรองการเป็นสมาชิกประเภทสามัญ Full Member, ICAO TRAINAIR PLUS Programe ซึ่งในภูมิภาคอาเซียนมีเพียง 2 ประเทศเท่านั้นคือไทย และอินโดนีเซีย ที่ได้รับการรับรองจาก ICAO จากจำนวน 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่ง สบพ. จะสามารถพัฒนาและจัดหลักสูตรการฝึกอบรม และสามารถนำหลักสูตรฝึกอบรมของประเทศสมาชิกมาจัดการเรียนการสอนให้กับหน่วยงานด้านการบินทั้งในและต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นการตอบสนองกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมการบิน ส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางซ่อมบำรุงอากาศยานและการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการขนส่งทางอากาศให้มีมาตรฐานระดับสากล

ปัจจุบันประเทศไทยมีนักบินอยู่ จำนวน 2,500-3,000 คน ซึ่งในแต่ละปี ธุรกิจการบินต้องการนักบินใหม่เพื่อเพิ่มและทดแทนปีละ 400-500 คน แต่ในขณะที่ปัจจุบันสามารถผลิตนักบินได้เพียงปีละ 100-120 คน รวมถึงกลุ่มวิศวกรด้านการบินและช่างอากาศยาน มีทั้งสิ้น 8,000-9,000 คน ซึ่งในแต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมการบินได้เพียง 300-400 คนต่อปี จากความต้องการมากกว่า 400 คนต่อปี สำหรับสถาบันการบินพลเรือนสามารถผลิตบุคลากรป้อนอุตสาหกรรมการบินกว่า 1,800 คน เฉพาะนักบิน ผลิตได้ 100-120 คน ซึ่งในส่วนของการจัดการเรียนการสอนอย่างครบวงจรในอุตสาหกรรมการบิน มีคณาจารย์ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยและเพียงพอต่อการเรียนการสอนให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรม เช่น เครื่องบิน เครื่องฝึกบินจำลอง ห้องจำลองการฝึกการควบคุมจราจรทางอากาศ อุปกรณ์และเครื่องมือในการฝึกซ่อมบำรุงอากาศยาน เป็นต้น มีการจัดการเรียนการสอนภาคพื้นตั้งแต่ระดับฝึกอบรม อนุปริญญา ปริญญาตรี จนถึงปริญญาโท พร้อมทั้งมีการเรียนการสอนภาคอากาศในหลักสูตรนักบินส่วนบุคคล นักบินพาณิชย์ตรี ทั้งเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งหลักสูตรการบินต่างๆ อีกหลายหลักสูตร ให้กับนักศึกษาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ

โดยบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันฯ มีจุดเด่นคือสถาบันการบินพลเรือน เป็นสถาบันการศึกษาด้านการบินที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ จึงเป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้มีผู้สมัครเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยการได้รับศักดิ์และสิทธิ์ เป็นสมาชิกโครงการ ICAO TRAINAIR PLUS ทำให้ สบพ. สามารถพัฒนาชุดฝึกอบรมต่างๆ ของตน โดยการใช้วิธีการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบของ TRAINAIR PLUS และการให้การรับรองชุดการฝึกอบรมมาตรฐาน ทั้งนี้จึงทำให้ สบพ. มีความพร้อมในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินให้แก่หน่วยงานทางด้านการบินทั้งในประเทศและในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งภูมิภาคอื่นๆ ของโลกที่ต้องการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการบินพลเรือนได้อย่างมีคุณภาพ และมีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน การจัดการ และการดำรงระบบการขนส่งทางอากาศในปัจจุบันและอนาคตให้เป็นมาตรฐานสากล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version