สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ ราชภัฏโคราช โชว์ไดโนเสาร์โคราชสายพันธุ์ใหม่ ในงาน “Satun Fossil Festival III”

อังคาร ๒๙ มีนาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๔๘
สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ พร้อมด้วย บุคลากรสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ เดินทางเข้าร่วมจัดนิทรรศการไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์ โคราชพันธุ์ใหม่ของโลก "สิรินธรน่า โคราชเอนซิส" ในงาน "Satun Fossil Festival III" ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล โดยมี นายภัทรพนธ์ รัตนพิเชฏฐชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล เป็นประธานเปิดงาน

กิจกรรมภายในงาน Satun Fossil Festival III ประกอบด้วย การแสดงพิพิธภัณฑ์ทางอุทยานธรณี ฟอสซิลทางทะเล การแสดงสวนไดโนเสาร์ดึกดำบรรพ์จำลอง การแสดงไดโนเสาร์เดินได้ และการประชาสัมพันธ์ฟอสซิลชนิดต่างๆ ซึ่งได้มีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเป็นจำนวนมาก ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งทางบก-ทางทะเล รวมถึงเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ใหม่ทางด้านธรณีวิทยาให้เกิดการยอมรับ และเป็นที่รู้จักสู่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ