แผนแม่บทไอซีทีอาเซียน กับทิศทางการพัฒนาในอนาคต

พฤหัส ๓๑ มีนาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๑๒
กระทรวงไอซีที จัดสัมมนา"ASEAN ICT Masterplan 2020 และทิศทางของไอซีทีอาเซียน" ภายใต้โครงการศึกษาความคืบหน้าและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารฉบับแรกของอาเซียน ตั้งเป้าลดช่องว่างการพัฒนาและยกระดับความสำคัญระดับภูมิภาคอาเซียน

นายวีระศักดิ์ กิติวัฒน์ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)เปิดเผยว่า "ทิศทางความร่วมมือด้านไอซีทีของอาเซียนได้ถูกกำหนดโดยแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 ซึ่งเป็นแผนแม่บทฯ ด้านไอซีทีฉบับแรกของอาเซียน โดยความร่วมมือประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งไทยได้รับมอบหมายจากที่ประชุมอาเซียนให้เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการ ด้วยการจัดทำรายงานการประเมินผลแผนแม่บทฯ ฉบับแรกโครงการดังกล่าวเป็นการศึกษาและติดตามการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของอาเซียนปี 2558 หรือ ASEAN ICT Masterplan 2015 เพื่อประเมินและสรุปผลสำเร็จของการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งการดำเนินงานอยู่ในช่วงระหว่างปี 2554-2558โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้นภายใต้แผนแม่บทฯ ฉบับแรก บ่งบอกถึงความสำคัญของการดำเนินงานร่วมกันของประเทศสมาชิก และความสำคัญของไอซีทีที่มีส่วนผลักดันการรวมตัวของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อีกทั้งการลดช่องว่างในการพัฒนาและการยกระดับความสำคัญของภูมิภาคอาเซียน

ในการจัดทำรายงานการประเมินผลแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอาเซียน ปี 2558ได้จัดทำเป็นฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแพร่ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเทศไทยในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารครั้งที่ 15 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 16 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังได้จัดสัมมนาภายใต้หัวข้อ "บทบาทของไทยในไอซีทีอาเซียน ยุค Post-2015" โดยงานสัมมนาในครั้งนั้นเพื่อเผยแพร่การดำเนินงานที่ผ่านมาของไทยและอาเซียนภายใต้แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015ซึ่งระหว่างการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าวนั้นได้มีการดำเนินโครงการด้านไอซีที จำนวน 87 โครงการ ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับแผนแม่บทฯ เสร็จสมบูรณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่1) ไอซีทีเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 2) อาเซียนได้รับการยอมรับในฐานะเป็นศูนย์กลางด้านไอซีทีแห่งหนึ่งของโลก3) ประชาชนในภูมิภาคมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และ 4) ไอซีทีมีส่วนช่วยส่งเสริมการรวมตัวกันของอาเซียน

สำหรับแผนแม่บทฯ ฉบับใหม่นี้ มีระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2559-2563 โดยแผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2020 เริ่มดำเนินงานระยะที่สองตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 ซึ่งโครงการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนเมษายน 2559โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะนำอาเซียนสู่ระบบเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้ดิจิทัลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และมีความปลอดภัย อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนประชาคมอาเซียนที่ขับเคลื่อนนวัตกรรม ให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างทั่วถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยสอดคล้องกับทิศทางของประเทศไทยที่ได้ประกาศนโยบายสำคัญระดับชาตินั่นคือนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

การจัดสัมมนา"ASEAN ICT Masterplan 2020 และทิศทางของไอซีทีอาเซียน"ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่การดำเนินงานของไทยและอาเซียนที่ผ่านมาภายใต้แผนแม่บท ASEAN ICT Masterplan 2015 และเป็นเวทีให้ผู้แทนจากหน่วยงานของไทยที่ได้จัดทำโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ ได้อภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทที่เหมาะสมของไทยและแนวทางการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือด้านไอซีทีของบรรดาสมาชิกอาเซียนเพื่อไปสู่บทสรุปเป็นกรอบการทำงานร่วมกันในอนาคตต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ