ARU:มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ร่วมต้อนรับเยาวชนจากดินแดนภาคใต้ 240 คน อย่างอบอุ่น ส่งท้ายพิธีปิดโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นที่ 27

ศุกร์ ๐๑ เมษายน ๒๐๑๖ ๐๙:๓๔
24 มีนาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หนึ่งในคณะกรรมการพิธีปิดโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 27 ได้จัดกิจกรรมพิธีปิดโครงการ โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ เป็นประธานในพิธีปิด พร้อมมอบโล่แก่ผู้สนับสนุนโครงการและมอบประกาศนียบัตรให้แก่เยาวชนทั้ง 240 คน

ภายใต้โครงการมีกิจกรรมจัดเสวนาในหัวข้อเรื่อง "การพัฒนาสัวคมในมิติสังคมพหุวัฒนธรรม" ขึ้นที่หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยนายประยูร รัตนเสนีย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระพิพัฒนศาสนากิจวิธาน เจ้าอาวาสวัดท่าการ้อง อาจารย์ ดร.เกษม บำรุงเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา บาทหลวงวิชชุกรณ์ เกตุภาพ หัวหน้าเขตการปกครอง เขต 6 และนายประดิษฐ์ รัตนโกมล ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ และเข้าใจบริบทการอยู่ร่วมกันของพี่น้องภาคใต้เป็นอย่างดีมาร่วมในการเสวนา วันนี้ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเยาวชนเข้าร่วมกว่า 300 คน

อาจารย์ ดร.เกษม บำรุงเวช อธิการบดีกล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" ซึ่งครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สามแล้วที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพิธีปิดโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 27 ได้มีโอกาสต้อนรับเยาวชนและครูพี่เลี้ยงจากดินแดนภาคใต้ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาทั้งชาวพุทธและมุสลิม มีแหล่งเรียนรู้และมีบุคลากรที่จะให้ความรู้แก่เยาวชนที่ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรม มุ่งหวังเพื่อเป็นส่วนหนึ่งการพัฒนาสังคมจนนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ "สานใจไทย สู่ใจใต้" รุ่นที่ 27 ได้กล่าวว่า โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อให้เยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลามกับเยาวชนที่นับถือ ศาสนาพุทธ จากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาเข้าค่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม สำหรับรุ่นที่ 27 นี้ มีเยาวชนที่มาร่วมโครงการทั้งสิ้น 240 คน จากจังหวัดชายแดนใต้ ในครั้งนี้ว่า ในส่วนของโครงการสานใจไทย สู่ใจใต้ ได้รับความร่วมมือจากครอบครัวอุปถัมภ์เป็นอย่างมาก ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มาร่วมในครอบครัวได้มีโอกาสศึกษาวิถีชีวิตเกี่ยว กับธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่เยาวชนได้ไปก็ถือรับถือว่าเป็นส่วนที่ครอบครัวอุปถัมภ์ได้ทำประโยชน์ ให้เป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดและก็การถ่ายทอดนั้นถือว่าเป็นเรื่องของใจสู่ใจ ไม่ใช่เป็นเรื่องของวิธีการ ซึ่งครอบครัวอุปถัมภ์ก็ได้ช่วยให้โครงการนี้ให้ประสบความสำเร็จเป็น อย่างมาก และการที่มาปิดโครงการฯ นี้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจุดเริ่มต้น ความเชื่อในหลายๆ ความเชื่อได้มารวมกัน และได้มาเกิดสังคมที่มีความเชื่อหลากหลายนั้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็น อยากให้เด็กๆ ได้ทราบถึงความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันแล้วเด็กๆ เขาจะสานต่อสิ่งเหล่านี้อย่างไร อยากจะฝากไว้ว่าอนาคตของบ้านเมืองอยู่ในมือของเขาต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ