คำบรรยายพิเศษ ของนายโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์ในโอกาสเปิดศูนย์เรียนรู้ DoubleALogistics Academyนับเป็นปรากฏการณ์ความร่วมมือครั้งแรกของภาคเอกชนกับสถาบันการศึกษา ระหว่าง ดั๊บเบิ้ล เอ โดยนายโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) และ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนของประเทศไทย พร้อมๆ กับการเร่งสร้างทรัพยากรบุคลากรด้านโลจิสติกส์ให้เติบโต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการค้าและนำพาประเทศไทยก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแห่งอาเซียน (HubofCLMV)โดยมีระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญดังเช่นเมืองหลักสำคัญของโลก อาทิ นครร็อตเตอร์ดัม แห่งเนเธอร์แลนด์ นครนิวเจอร์ซี่ แห่งสหรัฐอเมริกา และนครเซี่ยงไฮ้ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่พัฒนาระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
จึงเป็นที่มาของโครงการความร่วมมือด้านวิชาการในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน และการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ DoubleALogisticsAcademyขึ้นณ วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม โดยศูนย์เรียนรู้นี้ จะประกอบไปด้วย ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พร้อมระบบเชื่อมต่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ระบบซอฟต์แวร์การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งระบบ และห้องปฏิบัติการโลจิสติกส์ ที่จำลองการจัดการคลังสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง รวมถึงห้องปฎิบัติการขายจริง (Point of Sales – POS) เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แบบบูรณาการ และกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากปฏิบัติการจริงรวมถึงเป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติด้านโลจิสติกส์
ปัจจุบันภาครัฐกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอลซึ่งยุทธศาสตร์ดังกล่าวนับเป็นการผลักดันการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่ผสานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)ด้านเทคโนโลยีทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟท์แวร์และเทคโนโลยีการสื่อสารยุคดิจิตอลอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งไปกว่านั้นประเทศไทยมีภูมิประเทศตั้งอยู่ตรงกลางและรอบล้อมไปด้วยประเทศสมาชิกต่างๆในสมาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มCLMV ได้แก่กัมพูชาลาวพม่าและเวียดนามทำให้ไทยได้เปรียบจากการมีลักษณะพื้นที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เชื่อมเป็นland link อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศรอบด้านมากกว่าประเทศในกลุ่มCLMV จึงเอื้อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ รวมถึงการเปิดAEC ส่งผลให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มประเทศระเบียงเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง(GreaterMekongSubregionCorridors) ของไทยพม่าลาวกัมพูชาเวียดนามและจีนเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมยึดโยงเข้าหากันเป็นอีกหนึ่งเส้นทางland link ยุทธศาสตร์สำคัญของการจัดการและบริหารระบบโลจิสติกส์ได้เป็นอย่างดี
นายโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์กล่าวเสริมว่า การปฏิรูปโลจิสติกส์ยังสร้างโอกาสมหาศาลให้กับคนรุ่นใหม่เป็นรายบุคคล ที่จะพัฒนาธุรกิจใหม่ในฐานะ Startupด้วยการนำนวัตกรรมมาพัฒนาระบบไอที ระบบแอพพลิเคชั่นเพื่อสนับสนุนรองรับระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งโอกาสได้เปิดกว้างขึ้นในการสร้างความมั่งคั่งของคนรุ่นใหม่ตัวอย่างเช่น Uber Taxiแอพพลิเคชั่นที่เป็นบิสซิเนส โมเดลด้านโลจิสติกส์ ประเภทหนึ่งของStartupโดยจัดเป็นประเภท Sharing EnduresResource ซึ่งเป็นการสนองความต้องการแก่ผู้บริโภคโดยนำนวัตกรรมเข้ามาเป็นเครื่องมือ เช่นเดียวกับ Uberที่สนองความต้องการ (needs) ของผู้ใช้แท็กซี่ที่มีนวัตกรรมเข้ามาช่วยปัจจุบันUberให้บริการใน 68 ประเทศ มากกว่า 400 เมือง มีคนขับในระบบ 1.2 ล้านคน และมีผู้ใช้บริการหลัก 10 ล้านคน โดยในประเทศไทยมีคนขับในเครือข่ายมากกว่า 35,000 คน
เช่นเดียวกันกับ Alibaba.com เว็บไซต์ขายส่งสัญชาติจีนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งเป็นศูนย์รวมโรงงานในประเทศจีน ซึ่งถือเป็นทางออกในการรองรับการค้าขายที่เหมาะสมที่สุด ช่องทางหนึ่ง และเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งสินค้าเหล่านั้นกระจายสู่ทั่วโลกในรูปแบบBusiness to Business หรือ B2B ดังนั้นยังมีอีกหลายบิซิเนส โมเดล ที่รอให้นักศึกษา หรือคนรุ่นใหม่เข้ามาค้นหาโอกาสและช่องทางในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนให้เกิดขึ้นในวงการธุรกิจไทย "
รศ.ดร.ฤาเดช เกิดวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า"มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีนโนยบายมุ่งพัฒนาคน อันเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ควรส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้เกิดเป็นความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษากับภาคธุรกิจเพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนที่มุ่งมั่นในการผลิตนักศึกษาให้สามารถรองรับกับความต้องการของภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญความท้าทายรอบด้าน และกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสมดังนั้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทางมหาวิทยาลัยเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องยิ่งไปกว่านั้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และห้องปฏิบัติการขายที่มหาวิทยาลัย ได้รับมอบจากดั๊บเบิ้ล เอ จะเป็นเครื่องมือที่ติดอาวุธให้กับนักศึกษาสาขาโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ในการยกระดับการเรียนการสอนพัฒนาหลักสูตรจากการศึกษาผ่านประสบการณ์จริงจากบุคลากรและกระบวนการดำเนินงานจริงของดั๊บเบิ้ล เอและผ่านการจำลองร้านค้าเครื่องเขียน และร้านถ่ายเอกสารของดั๊บเบิ้ล เอ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ การบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และเมื่อนักศึกษารุ่นนี้จบออกไปพวกเขาเหล่านี้จะกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบโลจิสติกส์ยุคใหม่ให้ก้าวหน้าทันสมัยรองรับความท้าทายที่ต้องเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงรอบด้านในปัจจุบัน"
กิตติพงศ์ ธารปราบ นักศึกษาชั้นปีที่ 2สาขาการจัดการโลจิสติกส์ อายุ 20 ปีกล่าวว่าการจัดตั้ง Double A Logistics Academyเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ มีคุณค่า ที่ทำให้พวกเขาเห็นภาพการเรียนรู้ระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์จากประสบการณ์จริงอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้นักศึกษาอีกหลายคนมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่าพวกเขาและเธอมีแรงบันดาลใจในการก้าวเข้ามาเรียนสาขาวิชานี้จากการที่เป็นคนชอบการเดินทาง รักการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง และมีความเห็นว่าการเรียนสาขาวิชานี้จะทำให้บริหารจัดการสินค้าและผลิตภัณฑ์อย่างเป็นระบบ สร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมีศักยภาพมาตรฐานในระดับสากลการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับการบริการลูกค้า และมูลค่าทางการค้าแต่ปัจจุบันกิจกรรมโลจิสติกส์ยังมีต้นทุนสูง ธุรกิจในประเทศไทยโดยรวมมีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์ คิดเป็น14.2%ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือประมาณ1,835พันล้านบาทการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างความสำเร็จทางธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
จากผลการสำรวจของธนาคารโลก (World Bank) ประเทศไทยมีสมรรถนะการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ (Logistics Performance Index (LPI) ต่ำกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้ โดยเมื่อปี 2557 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 5 และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 160 ประเทศในขณะที่การเปิดการค้าเสรีอาเซียนที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ AEC จะเป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจในระดับเวทีสากลจึงจำเป็นที่ประเทศไทยทุกภาคส่วน ต้องร่วมกันปรับตัว และทำให้ข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ไทยมีที่ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ มาทำให้เกิดประโยชน์ในการผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางด้านระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนแห่งอาเซียนสืบไป